04/05/24 - 12:01 pm


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ทนายพร

หน้า: 1 ... 28 29 [30] 31 32 ... 50
436
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: ทราบถามคดียาเค
« เมื่อ: มิถุนายน 15, 2019, 03:47:08 am »
ตำรวจแจ้งข้อหาถูกต้องตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ แล้วครับ

เคตามีน (ketamine) หรือที่รู้จักกันในหมู่ผู้ใช้ยาเสพติดว่า "ยาเค" ถือเป็นยาเสพติดประเภท ๒ นะครับ

ส่วนจะคุกประมาณกี่ปีนั้น ต้องดูว่าเรายอมรับสารภาพหรือไม่ หากรับ ปกติก็ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง
โดยโทษเกี่ยวกับยาเค หากเป็นจำหน่าย หรือครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๑๗ จะได้รับโทษจำคุกตั้งแต่ ๑ ปี – ๑๐ ปี
หรือปรับตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐ – ๒๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับครับ

ส่วนศาลจะลงโทษเท่าใดนั้น เป็นดุลพินิจของผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีครับ

ทนายพร.

437
โห..เป็นคำถามที่ทนายก็ไม่แม่นนะครับ เพราะไม่ถนัดเรื่องนี้ ต้องออกตัวก่อน และดูเหมือนจะซับซ้อนอยู่พอสมควร

เอาเป็นว่า การเล่นแชร์นั้น สามารถเล่นได้โดยไม่ผิดกฎหมาย แต่ต้องอยู่ภายใต้ พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ.๒๕๓๔
โดยหลักกฎหมายแยกเป็นประเด็นๆดังนี้
 ๑. ท้าวแชร์ตั้งได้ไม่เกิน ๓ วงพร้อมกัน หากเกินกว่านี้ โทษสูงสุด คุก ๖ เดือน ปรับ ๑ แสนบาท
 ๒. ท้าวแชร์มีลูกแชร์รวม ๓ วงได้ไม่เกิน ๓๐ คน หากฝ่าฝืน โทษสูงสุด คุก ๖ เดือน ปรับ ๑ แสนบาทเช่นกัน
 ๓. ท้าวแชร์มีวงเงินรวมทุกวงได้ไม่เกิน ๓ แสนบาท หากรวมแล้วเกินกว่า ๓ แสน โทษสูงสุด คุก ๖ เดือน ปรับ ๑ แสนบาทเช่นกัน
 ๔. ห้ามท้าวแชร์โพสเฟสชวนเล่นแชร์ไม่ได้ ถือเป็นการโฆษณาชี้ชวนให้ประชาชนทั่วไปร่วมวงแชร์ มีโทษปรับสูงสุด ๕๐,๐๐๐.- บาท
 ๕. หากมีการโกงแชร์ในทางอาญา รัฐเท่านั้นคือผู้เสียหาย เพราะเป็นความผิดต่อรัฐ หากเป็นทางแพ่ง กรณีที่ท้าวแชร์เบี้ยว หรือลูกแชร์เบี้ยว ผู้เสียหายต้องไปฟ้องศาลเอาเอง

ก็ประมาณนี้

ส่วนที่ถามว่า ผิดกฎหมายหรือไม่ นั้น เท่าที่พิจารณาจากข้อกฎหมาย ก็ไม่น่าจะผิดนะครับ  เพราะไม่เกิน ๓ วง , ไม่เกิน ๓ แสน แต่วิธีการเล่นดูจะแปลกๆอยู่ซักหน่อย เพราะปกติการเล่นแชร์สมาชิกวงแชร์ต้องส่งเงินเข้าวงเท่าๆกัน แล้วให้ลูกวงเสนอให้ดอกเบี้ยสูงสุด(หรือที่เรียกกันว่าเปียร์แชร์)ใครให้สูงสุดก็ได้ไป (เรียกว่าแชร์ตาย) และในรอบต่อไปก็ทำเช่นเดิมจนกว่าทุกคนจะได้เงินครบถ้วน เว้นแต่ท้าวแชร์มีสิทธิ์ได้รับเงินแชร์ก่อนโดยไม่เสียดอก

ถ้าพิจารณาจากที่อธิบาย มีข้อสงสัยอยู่ ๒ ประเด็นหลักๆคือ
๑.เมื่อมีสมาชิกวงแชร์แค่ ๘ คน ทำไมถึงต้องเก็บเงินจากแม่ค้ายาวนานถึง ๓๐ วัน
๒.ยอดเงินที่ส่งเข้าวงแชร์ไม่เท่ากัน อาจไม่ถือว่าเป็นการตั้งวงแชร์ แต่อาจจะเป็นการกู้ยืมเงินโดยใช้รูปแบบวงแชร์บังหน้า

เอาเป็นว่า หากส่งต้นเงินเข้าวงแชร์เท่าๆกัน ก็ถือว่าเป็นการเล่นแชร์ตามกฎหมาย แต่ถ้าไม่ใช่อันนี้ก็น่ากังวลอยู่ครับ

ทนายพร.



438
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: สอบถามคดียาเสพติด
« เมื่อ: มิถุนายน 15, 2019, 03:08:58 am »
เมื่อรับสารภาพ ปกติศาลจะลดโทษให้กึ่งหนึ่ง

ซึ่งกรณีนี้น่าจะถูกฟ้องในความผิดฐานครอบครองและครอบครองเพื่อจำหน่ายยาเสพติดประเภท ๑ (หากครอบครองเกิน ๑๐ หน่วยการใช้กฎหมายสันนิฐานว่าเป็นการจำหน่ายถึงแม้ว่าจะไม่ได้เงินล่อซื้อก็ตาม)
โดยโทษตาม พรบ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ม.๖๖ , ๖๗ กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทให้ลงโทษบทหนักสุดตามมาตรา ๖๖ โทษจำคุกตั้งแต่ ๔ ปี ถึงจำคุกตลอดชีวิต ซึ่งโทษที่ศาลจะลงเป็นเท่าใดนั้น เป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาจากพฤติการณ์ของแฟนคุณเป็นสำคัญครับ ถ้าคาดเดาก็น่าจะประมาณ ๔ - ๘ ปี โดยไม่รอลงอาญาครับ

ทนายพร.

439
ถามว่า นายจ้างจ่ายเงินค่าชดเชยไม่ครบ ต้องทำงัย...

ก็ตอบว่า มีทางเลือกอยู่สองทางคือ..

๑.ไปเขียนคำร้อง (คร.๗) ต่อพนักงานตรวจแรงงงานพื้นที่หรือเขตที่สถานประกอบการตั้งอยู่ เพื่อให้เจ้าพนักงานสั่งให้จ่ายให้ครับถ้วน หรือ

๒.ไปยืนฟ้องต่อศาลแรงงานในเขตอำนาจศาล เรียกค่าชดเชยและดอกเบี้ยพร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา ๙ ด้วยก็ได้ ซึ่งก่อนการสืบพยานก็จะต้องมีการไกล่เกลี่ยกันก่อน หากตกลงกันได้คดีก็จบ แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็สืบพยานและให้ศาลตัดสินกันต่อไปครับ

ไม่ยากครับ ลุยได้เลยครับ

ทนายพร.

440
เป็นคำถามที่ดีมากนะครับ และคิดว่าหลายคนที่ไม่ได้เรียนกฎหมายมาก็คงจะอยากรู้
 
เอาเป็นว่าอยากให้รู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการวางเงินต่อศาลและดอกเบี้ย ซึ่งในเรื่องนี้ได้บัญญัติไว้ในประมวลวิธิพิจารณาความแพ่ง พ.ศ.๒๔๗๗ (ทนายยังไม่เกิดเลย..ฮา) มาตรา ๑๓๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๔๙๙ โดยได้วางหลักไว้ว่าดังนี้
       "มาตรา ๑๓๖   ในกรณีที่จำเลยวางเงินต่อศาลโดยยอมรับผิด ถ้าโจทก์พอใจยอมรับเงินที่จำเลยวางโดยไม่ติดใจเรียกร้องมากกว่านั้น และคดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปอีก ให้ศาลพิพากษาคดีไปตามนั้น คำพิพากษานั้นเป็นที่สุด แต่ถ้าโจทก์ไม่พอใจในจำนวนเงินที่จำเลยวาง และยังติดใจที่จะดำเนินคดีเพื่อให้จำเลยต้องรับผิดในจำนวนเงินตามที่เรียกร้องต่อไปอีก จำเลยมีสิทธิถอนเงินที่วางไว้นั้นได้ โดยให้ถือเสมือนว่ามิได้มีการวางเงิน หรือจำเลยจะยอมให้โจทก์รับเงินนั้นไปก็ได้ ในกรณีหลังนี้ โจทก์จะรับเงินไปหรือไม่ก็ตาม จำเลยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่วาง แม้ว่าจำเลยมีความรับผิดตามกฎหมายจะต้องเสีย  ทั้งนี้ นับแต่วันที่จำเลยยอมให้โจทก์รับเงินไป
   ในกรณีที่จำเลยวางเงินต่อศาลโดยไม่ยอมรับผิด จำเลยจะรับเงินนั้นคืนไปก่อนที่มีคำพิพากษาว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดไม่ได้ การวางเงินเช่นว่านี้ ไม่เป็นเหตุระงับการเสียดอกเบี้ยหากจำเลยมีความรับผิดตามกฎหมายจะต้องเสีย"

หรือสรุปได้ว่า หากจำเลยนำเงินไปวางศาลเต็มจำนวนแล้ว โจทก์พอใจและยินยอมรับเงินนั้นไป คดีจบ จำเลยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย
หรือจำเลยนำเงินมาวางศาลเต็มจำนวน แต่จำเลยไม่ยอมรับผิดและต่อสู้คดีไป และจำเลยแถลงต่อศาลยินยอมให้โจทก์รับเงินที่วางศาลไปและโจทก์ก็ยินยอมรับเงินดังกล่าว กรณีนี้จำเลยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย
หรือ จำเลยนำเงินมาวางศาล และไม่ยอมรับผิด จำเลยจะขอรับเงินที่วางศาลคืน กรณีนี้ศาลจะไม่อนุญาตให้รับคืน หากผลสุดท้ายของคดีศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยเสียดอกเบี้ย กรณีอย่างนี้ ดอกเบี้ยเดินตลอดครับ

นั่นแสดงว่า ที่มีการถกเถี่ยงกันว่าได้ดอกเบี้ยหรือไม่ได้ดอกเบี้ยนั้นก็ไม่ผิดนัก ต้องดูเป็นกรณีไป

และอนุมานได้ว่า กรณีเป็นคำสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการ เมื่อนายจ้างไม่เห็นด้วยและอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลภายในกำหนดและต้องนำเงินไปวางต่อศาลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน และต่อสู้คดีไป ก็เป็นกรณีสุดท้ายที่ได้อธิบายไป

ดังนั้น ต้องกลับไปพิจารณาในคำสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการฯว่าสั่งให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยหรือไม่ ? หากไม่มีการสั่งเรื่องดอกเบี้ย หรือไม่ได้ขอไป กรณีอย่างนี้ศาลคงจะสั่งให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยให้ไม่ได้ เพราะศาลไม่สามารถพิพากษาเกินคำขอได้ ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๕๒ ที่บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ศาลแรงงานพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่า หรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เว้นแต่ในกรณีที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความจะพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอบังคับก็ได้"

ดีใจด้วยนะครับ และขอให้กลับไปดูคำสั่งและคำพิพากษาให้ดีอีกครั้งนะครับ

และกรณีที่ถามว่า บริษัทจะยื่นฏีกาต่อได้มั๊ย ก็ตอบว่า เป็นสิทธิ์ที่สามารถยื่นฏีกาได้แต่ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๔๙ แห่งประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง ครับ (ไปหาใน google ได้)

แต่เท่าที่ผ่านมา ศาลฏีกามักจะไม่รับพิจารณาครับ ซึ่งระยะเวลาก็อาจจะประมาณ ๖ เดือน ถึง ๑ ปีครับ

คงครบถ้วนสำหรับคำคอบนะครับ หรือถ้ายังสงสัยก็สอบถามเข้ามาใหม่นะครับ

ทนายพร.



441
อ่านแล้วก็ชื่นชมว่าผู้ถามก็ทำงานดี ทำงานเก่ง แต่อาจจะอยู่ผิดที่ผิดเวลาก็เป็นได้ เอาเป็นว่าถ้ามีโอกาสได้ทำงานที่ใหม่ก็ให้รักษาความขยันหมั่นเพียนเช่นนี้ต่อไปนะครับ ส่วนที่เราคิดว่าทำไม่ถูกต้องเช่นการมาสาย ลาโดยไม่แจ้ง ก็ให้เลี่ยงซะก็จะเกิดผลดีต่อตัวท่านเอง

เอาละ มาว่ากันที่คำถามเลย ที่ถามว่า จะฟ้องได้มั๊ย จะได้ค่าชดเชยมั๊ย?

ทนายก็ตอบว่า ฟ้องน่ะฟ้องได้ครับ ไม่ได้มีกฎหมายห้ามไว้ ซึ่งแน่นอนว่าบริษัทก็ต้องตั้งธงสู้และกล่าวหาว่าเราทำผิดวินัย ซึ่งกรณีที่เรายินยอมเปลี่ยนสภาพการจ้างจากลูกจ้างประจำมาเป็นพาสไทม์นั้น ต้องดูรายละเอียดของสัญญาดังกล่าวว่าตกลงเงื่อนไขกันอย่างไร หรือถ้าไม่ได้มีการทำเป็นหนังสือไว้ เมื่อบริษัทเลิกจ้างถึงแม้ว่าจะเป็นการบอกเลิกจ้างทางข้อความก็ถือว่าเป็นการเเจ้งเลิกจ้างโดยสมบูรณ์แล้ว คุณจึงมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ นั่นเองครับ

หากจะฟ้องก็ไปที่ศาลแรงงานให้ท่านนิติกรเขียนคำฟ้องให้ก็ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใดครับ

หรือถ้ายังสงสัยก็สอบถามเข้ามาได้ใหม่นะครับ

ทนายพร.

442
ถ้าให้ทนายตอบสั้นๆ ก็คือ "ไม่มี" ครับ....จบ..ฮา

ต้องเข้าใจก่อนว่าปกติอำนาจในการตัดสินใจในการเป็นลูกจ้างนั้นอยู่ที่เรา หรือเรียกว่า เราเป็นฝ่ายเลือกนายจ้าง ซึ่งหากเราไม่สมัครใจที่จะเป็นลูกจ้างของบริษัทนี้ บริษัทนี้ก็ไม่มีสิทธิที่จะเป็นนายจ้างเราได้...อันนี้คือทฤษฎี(Theory) แต่ข้อเท็จจริงคือ บริษัทย่อมมีอำนาจเหนือเราและเป็นฝ่ายคัดเลือกว่าจะเอาใครมาเป็นลูกจ้าง

ดังนั้น เรื่องนี้จึงเป็นอำนาจการต่อรองโดยแท้ หากเรามีฝีมือและเป็นที่ต้องการของนายจ้างก็ย่อมที่จะมีอำนาจที่จะต่อรองในเรื่องค่าจ้าง ตำแหน่ง หรือสวัสดิการใดๆก็แล้วแต่ แต่ในทางกลับกัน หากเรามีฝีมือไม่แตกต่างจากคนอื่น อำนาจต่อรองเราก็จะน้องลงหรือน้อยมาก ก็จะอยู่ภายในอำนาจการกดขี่จากนายจ้างในการแสวงหาผลประโยชน์จากแรงกายของเรานั่นเอง

ก็ให้กำลังใจนะครับ ขอให้ได้เป็นรายเดือนไวๆครับ

ทนายพร

443
เหมือนจะไม่ได้เขียนมาถามป่ะ ;D แต่มาเล่าให้ฟัง...แบบว่าอ่านที่เขียนมาแล้วไม่เห็นคำถามอ่ะครับ เลยไม่แน่ใจว่าอยากถามอ่ะป่าว.... ;D

แต่ก็พอจะอนุมานได้ว่า กรณีไม่อยากต่อสัญญาจะได้รับค่าชดเชยมั๊ยอะไรประมาณนี้ (หรือถ้าไม่ใช่ก็ถามมาใหม่นะครับ)

ก่อนอื่นต้องดูที่สัญญาก่อนว่า เป็นสัญญาที่กำหนดระยะเวลาจ้างไว้เป็นที่แน่นอน ชัดเจนหรือไม่ เพราะเป็นเงื่อนไขของการสิ้นสุดสัญญาจ้าง หากเป็นสัญญาจ้างที่แน่นอนเมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ หากเราไม่ประสงค์จะทำงานต่อไปก็แจ้งนายจ้างซะหน่อยว่า "เจ้านายครับ พรุ่งนี้ผมไม่มาทำงานแล้วนะครับเพราะสัญญาจ้างสิ้นสุดแล้ว รบกวนเจ้านายจ่ายเงินค่าชดเชยให้ผมภายในสามวันด้วยครับ" ประมาณนี้

แต่ถ้าเป็นสัญญาจ้างที่ไม่กำหนดระยะเวลาที่แน่นอน อย่าได้ทำอย่างคำแนะนำข้างบนนะครับ มิเช่นนั้น จะเป็นกรณีที่คุณขอยุติสัญญาจ้างเอง หรือเรียกง่ายๆว่าคุณลาออก เมื่อคุณเป็นฝ่ายลาออก ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ ครับ หรือถ้าคุณหายหน้าหายตาไปทำงานที่ใหม่เลย คุณก็อาจมีความผิดฐานละทิ้งหน้าที่เกินสามวัน...คุณก็จะถูกไล่ออกละทีนี้

ดังนั้น ขอให้อ่านหนังสือสัญญาจ้างว่าเป็นสัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาไว้แน่นอนหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคำถามนี้นะครับ

ไม่แน่ใจว่าคำตอบจะตรงกับที่อยากถามหรือเปล่าอ่ะนะครับ แต่ก็คงจะเป็นประโยชน์บ้างล่ะน่า....

ทนายพร.

444
ทนายอ่านแล้วก็ งงๆ นิดหน่อย แต่เท่าที่จับใจความสรุปได้ว่า ผู้ถามเคยเขียนบัตรตอกเวลาทำงานด้วยตนเองโดยไม่ถูกต้อง อะไรประมาณนี้ ต่อมาจึงถูกตรวจสอบจากหน่วยงานว่าเป็นการกระทำผิดวินัย แต่ผ่านมา ๒ ปีแล้วยังไม่ถูกเรียกไปสอบสวนหรือให้ไปชี้แจง แล้วให้ทนายแนะนำทางออกว่าจะทำอย่างไรดี แบบว่าสำนึกผิดแล้วอะไรประมาณนี้

อืมมม...ทนายก็คงจะแนะนำว่าให้คุณทำงานต่อไปตามปกติ จนกว่าจะถูกเรียกเข้าไปชี้แจง เมื่อถึงเวลานั้นก็ให้วิเคราะห์สถานการณ์ว่าควรจะเลือกแนวทางใดโดยพิจารณาว่าทางเลือกใดดีที่สุด แต่ถ้าคณะกรรมการยังไม่เรียกก็ขอให้คุณทำงานโดยใช้ความรู้ ความสามารถขอคุณทำงานให้องค์กรอย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องกังวลในเรื่องที่ผ่านมา ก็อาจจะเป็นการผ่อนหนักให้เป็นเบาได้และก็จะเป็นทางออกที่ดีทึ่สุดครับ

ให้กำลังใจนะครับ

ทนายพร.

445
อ่านคำถามเหมือนว่าทนายจะเคยตอบคำถามทำนองนี้ไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่ว่าหาไม่เจอ..555

เอาเป็นว่า ตอบใหม่ละกันตามคำถามและมั่นใจว่า คำตอบก็จะเหมือนเดิมทุกประการ

ดังนี้ครับ จากการที่อ่านเรื่องราวดูเหมือนว่าจะเป็นคนละเรื่องเดียวกัน กรณีทำงานอื่นควบคู่กับงานประจำ และมีปัญหาว่าบริษัทกล่าวอ้างว่าคุณสุรพล มีผลประโยชน์ซ้ำซ้อน ทั้งๆที่ได้แจ้งขออนุญาตผู้หลักผู้ใหญ่ไว้แล้ว แต่บริษัทก็จะเชิญให้ออกสิ้นเดือนนี้ (วันนี้คงให้ออกแล้วมั๊ง) แล้วถามว่า ควรทำอย่างไร?

ทนายก็ตอบว่า อย่างแรกที่คุณสุรพล ไม่ควรทำคือการเขียนใบลาออกนะครับ และก็ทำถูกแล้วที่ไม่ยอมเซ็นต์เอกสารใดๆ แต่จริงๆหากมีหนังสือเลิกจ้างก็เซ็นต์รับมาได้นะครับ แต่ต้องดูให้ดีว่า หนังสือเลิกจ้างนั้น ต้องไม่ระบุว่า "จะไม่เรียกร้องหรือฟ้องร้องบริษัทอีก" แต่ถ้ามีข้อความข้างต้นนี้ ก็ห้ามเซ็นต์นะครับ มิเช่นนั้นจะไม่สามารถฟ้องร้องได้ หรือฟ้องได้ก็ไม่ชนะคดีครับ

ดังนั้น หากบริษัทเลิกจ้างหรือถูกเชิญให้ออก ก็สามารถไปใช้สิทธิได้สองทาง คือ
๑.หากประสงค์จะเรียกร้องค่าชดเชย , สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ก็ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ซึ่งในช่องทางนี้จะใช้เวลาประมาณ ๖๐ วันครับ
๒. ไปใช้สิทธิทางศาล หากประสงค์จะเรียกค่าชดเชย , สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ก็ไปใช้สิทธิทางศาล ซึ่งระยะเวลาในศาลชั้นต้นก็ไม่น่าจะเกิน ๑ ปี ครับ

เลือกช่องทางเอาครับ

ทนายพร

446
เอาเป็นว่า ตอบตามที่ถามนะครับ

ถามว่า

1.สัญญาข้อบังคับการทำงานเมื่อพนักงานไม่ยอมเซ็นรับทราบข้อบังคับ แต่บริษัทได้จ่ายค่าจ้างเสมอมา  ข้อบังคับดังกล่าวมีผลไหม เมื่อพนักงานไม่ยอมเซ็น  และได้ลงโทษ นาง ก. ด้วยหนังสือตักเตือนว่าสมัยทำ HR ควบไม่ดูเอกสารดีๆ
อืมม...อย่างแรกต้องเข้าใจก่อนว่า ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กับ สัญญาจ้างแรงงาน มันคนละเรื่องเลยนะครับ เพียงแต่ว่า สัญญาจ้างแรงงานก็จะมีส่วนหนึ่งในสัญญาว่าลูกจ้างจะต้องปฎิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ดังนั้น ไม่ว่าจะเซ็นต์รับทราบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือไม่ก็ไม่ได้มีผลอะไร และถือปฎิบัติได้ ทั้งนี้ กฎหมายกำหนดให้บริษัทจะต้องติดประกาศข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้พนักงานทราบอยู่แล้ว และขอแนะนำเพิ่มเติมในส่วนของบริษัทนะครับว่า กรณีที่จะเปลี่ยนแปลงข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือสภาพการจ้างใดๆก็แล้วแต่ ก็ควรจะจัดอบรมหรือชี้แจงให้ความรู้กับพนักงาน ได้รับทราบ เพื่อจะปฎิบัติได้อย่างถูกต้องนั่นเองครับ
ส่วน นาง ก.ถูกลงโทษทางวินัยนั้น ทนายเห็นว่ามันคนละเรื่องเลยนะครับ เอาเป็นว่า ถ้านาง ก. เห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็ควรจะร้องทุกข์ไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหมวดการร้องทุกข์ ซึ่งแน่นอนว่ามีกำหนดไว้ในข้อบังคับฯอยู่แล้ว และหากยังไม่เป็นผล ก็สามารถฟ้องศาลเพื่อเพิกถอนใบเตื่อนได้ครับ

2.พนักงานที่ถูกให้ออกฟ้องประเด็นเรื่องไม่เเจ้งให้ออกล่วงหน้าและไม่จ่ายค่าชดเชย บริษัทแจ้งว่าเพราะไม่มีลายเซ็นข้อบังคับการทำงานสู้ไปก็แพ้ เลยยอมจ่ายค่าชดเชย
  ในประเด็นที่ 2 ในเมื่อบริษัทเป็นผู้เริ่มยกเลิกสัญญาด้วยวาจาก่อนเอง จะเกี่ยวกับลายเซ็นข้อบังคับการทำงานไหม

ข้อนี้ขอตอบว่า เรื่องนี้เป็นประเด็นข้อกฎหมายนะครับว่า กรณีที่บริษัทจะเลิกจ้างต้องแจ้งเป็นหนังสือโดยต้องระบุความผิดในหนังสือเลิกจ้างนั้นด้วย ตามมาตรา 119 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ดังนั้น การที่นายจ้างแจ้งเลิกจ้างด้วยวาจาโดยที่ไม่ได้แจ้งเลิกจ้างเป็นหนังสือและไม่ได้ระบุความผิด จึงจะยกความผิดเพื่อไม่จ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 ในภายหลังไม่ได้นั่นเอง ไม่เกี่ยวกับว่าลูกจ้างจะเซ็นต์หรือไม่เซ็นต์รับทราบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามข้อกฎหมายที่ได้อธิบายไว้ข้างต้นเเล้ว

หวังว่าจะเครียร์ในทุกคำถามนะครับ

ทนายพร.

447
ถามว่า นายจ้างจะเรียกค่าเสียหายจากการที่ออกโดยไม่แจ้งล่วงหน้าได้หรือไม่

ตอบว่า  เรียกได้ครับ

แต่ก็จะมีประเด็นอยู่ว่า ที่นายจ้างเรียกมานั้น มันเสียหายจริงหรือไม่ เท่าใหร่ ซึ่งภาระการพิสูจน์ ตกอยู่แก่ฝ่ายนายจ้างที่จะต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าบริษัทเสียหายไปตามที่เรียกร้องจริงหรือไม่ และหากศาลเห็นว่า ค่าเสียหายที่บริษัทเรียกร้องนั้นสูงเกินไป ศาลก็จะปรับลดลงตามความเสียหายที่แท้จริง หรือหากศาลพิจารณาแแล้วเห็นว่า บริษัทไม่มีหลักฐานหรือพยานมาสืบได้ว่าบริษัทเสียหายอย่างไร เท่าใหร่ ศาลก็ยกฟ้อง ก็มีเยอะแยะไปครับ คงต้องหาทนายไปช่วยแล้วละครับ เพราะคดีอย่างนี้ ความสำคัญอยู่ที่การซักค้านพยานโจทก์นะครับ

ขอให้โชคดีนะครับ

ทนายพร.

448
เอาเป็นว่า กระบวนการเรียกร้องสิทธิ์ เดินทางมาไกล้ปลายสุดแล้วครับ และทนายมีข้อแนะนำอย่างนี้ครับ

กรณีที่บริษัทไปฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานนั้น ปกติ คู่ความ คือ บริษัท จะเป็นโจทก์ ฟ้อง พนักงานตรวจแรงงาน เป็นจำเลย และเป็นเรื่องระหว่างคู่ความ เราจะเข้าไปในคดีได้ในฐานะ "พยาน" ดังนั้น ข้อแนะนำก็คือ ให้คุณยื่นคำร้องขอเป็น "จำเลยร่วม" กับพนักงานอัยการ เพื่อที่คุณจะสามารถเข้าไปในคดีได้ เพื่อไปรักษาสิทธิ์ในการต่อสู้ หรืออุทธรณ์ ฏีกาได้ครับ และในขั้นตอนนี้ขอให้รับนึดนึง มิเช่นนั้น คุณก็จะไม่รู้ความคืบหน้าของคดีครับ ส่วนจะให้การต่อสู้อย่างไรก็สามารถที่จะปรึกษาท่านอัยการ(ทนายจำเลย) ได้ หรือจะหาทนายที่มีความเชี่ยวชาญด้านแรงงานไปช่วยเหลือก็จะเป็นประโยชน์มากขึ้นนะครับ

ทั้งนี้ หากคุณคิดว่า บริษัทเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ก็สามารถ "ฟ้องแยัง" เรียกค่าเสียหายไปพร้อมกันด้วยก็ได้นะครับ

ส่วนประเด็นประกันสังคมนั้น แน่นอนว่า เมื่อบริษัทเลิกจ้างก็ต้องแจ้งการสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนว่าเลิกจ้าง จะไปแจ้งข้อมูลอื่นไม่ได้ เป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จได้ เว้นแต่การแจ้งของคุณเป็นรหัส R5  ซึ่งคือการเลิกจ้างโดยมีความผิด ก็ต้องฟ้องขอให้บริษัทแก้ไขให้เป็น R3 คือการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด ก็ได้เช่นกันครับ

ไม่ทราบว่าตอบครบถ้วนตามที่ถามหรือยัง หากยังมีข้อสงสัยก็โทรถามได้นะครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

449
อืม...เท่าที่อ่านเรื่องราว มีประเด็นข้อเท็จจริงที่ต้องพิสูจน์ให้เป็นที่ยุติก่อนว่า บริษัทอยุญาตให้ผู้ถามขายสินค้าอื่นที่มิใช่ของบริษัทได้หรือไม่ และมีเงื่อนใขอย่างไร

แต่อย่างไรก็ตาม กรณีที่ถูกเชิญให้ออก (โห..ใช้คำสวยจัง) นั้นต้องพิจารณาในหนังสือเลิกจ้างครับว่า ระบุความผิดว่าอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการขายสินค้าอื่น หรือกล่าวอ้างว่าคุณทำผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ซึ่งหากพิจารณาดูแล้วคุณไม่ได้ทำผิดตามที่บริษัทกล่าวอ้าง ก็ต้องไปใช้สิทธิเรียกร้องคืน โดยหากอยากได้แค่ค่าชดเชย หรือเงินสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า กรณีที่ไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าก่อนถูกเลิกจ้าง ก็ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ในพื้นที่ที่คุณทำงานอยู่ก็ได้ ซึ่งจะใช้เวลาไม่เกิน ๓ เดือนก็รู้ผลแล้วครับ

หรือจะไปใช้ช่องทางฟ้องต่อศาลแรงงาน เพื่อเรียกร้องค่าชดเชย , สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่างหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม กรณีที่คุณไม่ได้ทำผิดแล้วถูกเลิกจ้าง ก็ได้เช่นกันครับ ซึ่งถ้าฟ้องศาล เมื่อถึงวันนัด ศาลก็จะเรียกทั้งสองฝ่ายมาไกล่เกลี่ยกัน หากตกลงกันได้ คดีก็จบ หากตกลงไม่ได้ ก็สู้กันและต้องสืบพยานเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาต่อไปครับ

แต่ทนายอยากจะให้ลองไปพูดคุยกับนายจ้างเรื่องค่าเชยก่อน เพราะเข้าใจว่า คงเป็นธุรกิจที่ไม่มีคนไม่มากนัก ลองคุยกันดูก่อนครับ

พิจารณาและเลือกช่องทางเอาครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

450
จากที่ถามสรุปได้ว่า ทำงานมากว่า ๑๕ ปี ได้ปรับเงินขึ้นในเกรดดี (ไม่ไช่ D) มาโดยตลอด อยู่มาวันหนึ่ง เคมีไม่ตรงกับหัวหน้า ทำให้การประเมินผลการทำงานด้อยลงไป (ซึ่งจะถูกต้องเป็นจริงหรือไม่ อันนี้ต้องได้รับการพิสูจน์อีกครั้ง) จึงสร้างความคลางแคลงใจว่า การประเมินไม่น่าจะเป็นธรรม พอทักท้วงก็พาลหาเรื่องเลิกจ้าง แล้วถามว่า จะเรียกร้องอะไรได้บ้าง

ทนายก็ตอบว่า

อย่างเเรก หากถูกเรียกไป และเสนอให้เซ็นต์ใบลาออก อันนี้ขอสั่ง (ฮั่นแนะ..มีอำนาจสั่งด้วยหรา..ฮา) ห้ามเซ็นต์ใบลาออกโดยเด็ดขาด เว้นแต่คุณจะได้รับข้อเสนอที่คุณพอใจ เพราะถ้าคุณเซ็นต์ใบลาออก คุณจะเรียกร้องสิทธิต่างๆต่อไปไม่ได้นะครับ

และหากบริษัทอยากจะเลิกจ้างจริงๆ ก็ให้ทำหนังสือแจ้งมา หรือถ้าบริษัทบอกหนังสือก็ไม่ทำ ก็ให้ถามว่า "คุณเลิกจ้างเราแล้วใช่ใหม" ถ้าบริษัท ตอบว่า "ใช่ พรุ่งนี้ไม่ต้องมาทำงานอีกแล้วนะ" ก็ถือได้ว่า บริษัทได้แจ้งเลิกจ้างคุณแล้ว ทั้งนี้ ต้องดูด้วยนะครับว่า ผู้ที่ตอบคุณเป็นผู้มีอำนาจจริงๆ เช่น ผู้จัดการโรงงาน เป็นต้น

เมื่อได้หนังสือเลิกจ้างหรือถือว่าเลิกจ้างแล้ว ก็กลับบ้านครับ...นอนหายใจทิ้งซักสองสามวัน ถือว่าพักผ่อนก่อนไปสู้ต่อครับ

เมือ่พักผ่อนเป็นที่พอใจแล้วก็ถึงเวลาที่จะต้องตัดสินใจว่า จะสู้ทางใหน?

ทางแรก ไปร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน (คร.๗) เพื่อเรียกร้อง ค่าชดเชย , สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า , วันหยุดพักผ่อนประจำปีที่เหลือ , ค่าจ้างค้างจ่าย หรือเงินอื่นๆที่ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑  ซึ่งจะใช้เวลาไม่นาน ประมาณ ๖๐ ถึง ๙๐ วัน คำวินิจฉัยของพนักงานตรวจแรงงานก็ออกแล้วครับ

แต่ถ้าพิจารณาแล้ว มันยังไม่สะใจ มาเลิกจ้างโดยที่เราไม่ได้ทำความผิด ก็ต้องไปอีกทางครับ คือ ฟ้องศาลแรงงานครับ

ซึ่งกรณีฟ้องศาลก็สามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ตามมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.๒๕๒๒ ได้ครับ ซึ่งเรื่องค่าเสียหายนี้ กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะสามารถเรียกได้เท่าใด เป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดให้ แต่ก็มีแนวคำพิพากษาฏีกาได้วางแนวบรรทัดฐานไว้ว่า ให้คำนวณตามอายุงานของลูกจ้างว่าทำงานมาเท่าใด เช่น คุณทำงานมา ๑๕ ปี ศาลก็อาจจะกำหนดค่าเสียหายให้เท่ากับค่าจ้างอีก ๑๕ เดือน หรือในวงการเรียกว่า ค่าเสียหายปีละเดือนครับ

ทนายพร


หน้า: 1 ... 28 29 [30] 31 32 ... 50