04/05/24 - 03:11 am


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ทนายพร

หน้า: 1 ... 29 30 [31] 32 33 ... 50
451
ดีแล้วครับที่ยังไม่เซ็นต์

อย่างแรกเลยที่คุณต้องทำคือให้กำลังคุณพ่อนะครับ

และบอกให้ท่านอดทนเอาไว้ ไม่ว่ากรณีใดๆก็ห้ามเซ็นต์เด็ดขาด ถ้าหากอยาก "ไปต่อ" เว้นแต่ บริษัทมีข้อเสนอให้แต่อย่างน้อยที่สุดต้องไม่ต่ำกว่ากฎหมายแรงงานกำหนด

และในระหว่างนี้ ก็ต้องไม่ทำผิดกฎระเบียบข้อบังคับของบริษัทนะครับ มิเช่นนั้น จะ "เข้าทาง" ของบริษัทที่จะยกเป็นเหตุเลิกจ้างได้

หรือหากต้องการคำแนะนำเป็นการเร่งด่วนก็สามารถโทรสอบถามได้นะครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.

452
ถามมาก็ตอบไปครับ ;D

1.ไม่ทราบว่าหลังจากกระบวนการนี้ ใช้ระยะเวลานานมั้ยคะ?
ตอบ ปกติเจ้าพนักงานตรวจแรงงานก็สามารถขยายระยะเวลาออกคำสั่งได้อีก 30 วันครับ โดยพนักงานตรวจแรงงานต้องขอขยายเวลาต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายพร้อมด้วยเหตุผล และอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายอาจพิจารณาอนุญาตได้ตามที่เห็นสมควร แต่ต้องมีระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 124 ครับ

2.30วันแรกเป็นคดีแพ่ง และหลังจาก30วันเป็นคดีอาญาใช่มั้ยคะ
ตอบ โห..ดูจะโหดๆอยู่นะครับ..คืออย่างนี้ครับ ปกติคดีแรงงานเป็นคดีแพ่งครับ ส่วนจะกลายเป็นคดีอาญาได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามที่กฎหมายกำหนด เช่น กรณีของคุณผู้หญิง (คงจะเป็นผู้หญิงเเหละเน๊อะ เพราะลงท้ายว่าคะ..อิอิ) หากพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงิน แล้วนายจ้างไม่จ่าย เมื่อล่วงพ้นระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่่งที่ให้ยื่นต่อศาล (ภายใน 30 วัน) ก็ถือว่านายจ้างไม่ปฎิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจฯ มีโทษทางอาญาแล้วครับ ดังนั้น ที่เข้าใจว่า30วันแรกเป็นคดีแพ่ง และหลังจาก 30 วันเป็นคดีอาญา จึงไม่ถูกครับ

3.ถ้าบริษัทยังไม่จ่ายค่าชดเชย ทางสวัสดิการจะไปบังคับเค้ายังไงให้จ่ายคะ
ตอบ กฎหมายกำหนดขั้นตอนไว้ชัดเจนแล้วว่า หากนายจ้างไม่ปฎิบัติตามก็ให้ฟ้องต่อศาลแรงงานเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษา หรือลูกจ้างนำคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน ไปยื่นฟ้องต่อศาลเองก็ได้ เมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว ก็ให้ออกคำบังคับ และตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี ยึดทรัพย์ขายทอดตลาดนำเงินมาชำระให้กับลูกจ้างต่อไปครับ...

รออีกนิดคำสั่งคงออกแล้วล่ะครับ และหากไม่พอใจคำสั่ง(ไม่ว่าฝ่ายใด) ก็มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร

[/color][/size]

453
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: จ้างเลี้ยงเด็ก
« เมื่อ: มีนาคม 03, 2019, 03:24:24 pm »
อ่านแล้วก็น่าเห็นใจนะครับ

เอาเป็นว่า ทนายตอบตามที่ถามเลยนะครับ

กรณีที่อยากจะได้เงินที่สำรองจ่ายไปก่อนนี้ ทนายแนะนำว่าให้ทำ "หนังสือบอกกล่าวทวงถาม" อย่างเป็นทางการไป พร้อมหลักฐาน ส่งไปให้ผู้ปกครองของเด็กให้มาชำระภายในระยะเวลาตามสมควร

หากส่งไปแล้วยังไม่มีการชำระก็คงต้องพึ่งพาศาลแล้วละครับ เพียงแต่ว่าจะคุ้มหรือเปล่าก็เท่านั้น

ซึ่งในการฟ้องศาลเพื่อเรียกร้องเงินค่าจ้าง (กรณีอย่างนี้เรียกว่าสัญญาจ้างทำของ) ก็ไม่ยาก เสียค่าธรรมเนียมศาลไม่เกิน 1,000 บาทครับ

ก็ตัดสินใจดูครับ

จริงๆคนที่เอาไปฝากเลี้ยงก็เหลือเกินนะครับ น่าจะเห็นใจคนเลี้ยงบ้าง เอาเป็นว่าเป็นกำลังใจให้นะครับ คิดซะว่าทำบุญใหญ่ที่ได้อุปการคุณมนุษย์ด้วยกันครับ..สาธุๆ

ทนายพร.

454
หลักเกณฑ์การหักเงินสมทบประกันสังคมนั้น คำนวณจากฐาน "รายได้" ของลูกจ้างและนายจ้างในอัตราร้อยละ ๕ ทุกเดือน โดยกำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่ต้องหักและนำส่งประกันสังคมตามอัตราที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.๒๕๓๓

จากที่เล่ามา ลูกจ้างทำงานขับรถโดยมีเงินเดือนพื้นที่และ "ค่าเที่ยว" และถูกหักเงินส่งประกันสังคมในอัตราเต็มขั้นคือ ๗๕๐ บาท/เดือนนั้น

จะเป็นการหักที่ถูกต้องหรือไม่นั้น ต้องดูว่า "รายได้" อันประกอบด้วย เงินเดือนพื้นฐานรวมกับค่าเที่ยวและรายได้อื่นๆที่ลูกจ้างได้รับในแต่ละเดือนนั้น ลูกจ้างได้รับเดือนละเท่าใหร่ หากรวมแล้วเกินกว่า ๑๕,๐๐๐.- บาท ก็จะต้องถูกหัก ๗๕๐ บาท นั้นถูกต้องแล้ว

โดยเงินร้อยละ ๕ ที่หักไป จะไปจ่ายสิทธิประโยชน์ ๗ กรณี ประกอบด้วย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน ซึ่งใน ๔ กรณีแรกนายจ้าง+ลูกจ้าง+รัฐบาบ จะจ่ายสมทบเท่ากันในอัตราร้อยละ ๑.๕

ส่วนสงเคราะห์บุตร กับชราภาพ นั้น นายจ้าง+ลูกจ้าง จ่ายสมทบในอัตราร้อยละ ๓ ส่วนรัฐบาลจ่ายสมทบอีกร้อยละ ๑

กรณีว่างงาน นายจ้าง+ลูกจ้าง จ่ายสมทบในอัตราร้อยละ ๐.๕ ส่วนรัฐบาลจ่ายสมทบอีกร้อยละ ๐.๒

มันก็เป็นเช่นนี้แล

ทนายพร

455
อ่านเรื่องราวแล้ว คุณผู้ถามก็มีความรู้เรื่องกฎหมายแรงงานดีพอสมควรเลยนะครับ

เอาเป็นว่า เมื่อถามมา ทนายก็จะตอบให้นะครับ

ถามว่า "**หนูเลยอยากสอบถามท่านว่ากรณีของหนู ที่หนูเรียกร้องเงินชดเชยนั้นถูกต้องหรือไม่คะ ?" (โห..เล่าซะยาว..ถามแค่เนี๊ยะ)

ทนายก็ขอตอบว่า ที่หนูเรียกร้องเงินชดเชยนั้นถูกต้องแล้วครับ เป็นการเรียยร้องสิทธิ์ขั้นพื้นฐานขั้นต่ำตามกฎหมายแรงงานครับ

ให้กำลังใจ สู้ต่อไปครับ

ทนายพร.


456
ผู้ช่วยทนายขอมาช่วยตอบแทนทนายนะคะ

ตามกฎหมายแรงงานของไต้หวัน ได้กำหนดไว้ดังนี้ค่ะ

(1)   แรงงานต่างชาติที่อยู่ในไต้หวันโดยมีใบถิ่นที่อยู่อาศัย(ARC) นายจ้างจะต้องทำประกันสุขภาพให้แรงงานทุกคนที่เรียกว่า “เจี้ยนเป่า” โดยกฎหมายด้านสุขภาพกำหนดว่า

-   คนป่วยต้องเสียค่าใช้จ่ายที่เรียกว่าค่าลงทะเบียนเข้ารับการรักษาให้แก่สถานพยาบาล ครั้งละ 100-500 เหรียญไต้หวัน  และต้องเสียทุกครั้งที่ไปเข้ารับการรักษา

-   กรณีเป็นผู้ป่วยนอก ประกันจะจ่ายให้ 90 % อีก 10 % ลูกจ้างต้องจ่ายเอง

-   กรณีเป็นผู้ป่วยใน ประกันจะจ่ายให้ 90 % อีก 10 % ลูกจ้างต้องจ่ายเอง หากอยู่โรงพยาบาลคืนที่ 4 เป็นต้นไป  จะได้รับเงินช่วยเหลืออีกจำนวนหนึ่ง

-   กองทุนประกันสุขภาพไม่คุ้มครองค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าขนส่งผู้ป่วย ค่าพยาบาลพิเศษ ค่าให้เลือด (ยกเว้นกรณีฉุกเฉิน) ค่าลงทะเบียนเข้ารับการรักษา และค่าเอกสาร

(2)   หากลูกจ้างเจ็บป่วยหรือประสบอันตรายนอกงาน

-   กรณีต้องหยุดงานเพื่อรับการรักษาโดยไม่ได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิขอรับเงินทดแทนค่าจ้างตั้งแต่วันที่สี่ของการหยุดงานดังกล่าว ในอัตรา 50 %  ของอัตราค่าจ้างเฉลี่ย เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน

-   หากเป็นสมาชิกกองทุนฯ มาครบหนึ่งปีขึ้นไปจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่าจ้างในอัตราดังกล่าวเป็นระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปี

-   กรณีผลการรักษาสิ้นสุดและแพทย์ผู้รักษาได้วินิจฉัยและรับรองว่ามีการทุพพลภาพของอวัยวะ มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการทุพพลภาพ โดยจ่ายให้เป็นครั้งเดียวตามประเภทและอัตราที่สำนักงานประกันภัยแรงงานกลางกำหนด

ดังนั้นสิ่งที่ควรทำอันดับแรก คือ ให้รีบแจ้งสำนักงานแรงงานไทย อย่าพึ่งเดินทางกลับประเทศไทยเพราะอาจเสียสิทธิในการรักษาพยาบาล และการรับเงินทดแทนจากกองทุนประกันภัยแรงงาน  รวมถึงสิทธิภายใต้กฎหมายแรงงานไต้หวัน

สำนักงานแรงงาน  สาขาเมืองเกาสง 07-392-7620 E-mail : kaosong@mol.go.th

หรือ labour_kaohsiung@hotmail.com

หรือกด 1955 สายรับเรื่องร้องเรียนและให้คำปรึกษาแรงงาน

ไม่แน่ใจว่าคุณพ่ออยู่ที่เมืองอะไรนะคะ มันจะมีศูนย์ให้คำปรึกษาในเรื่องนี้โดยตรงในแต่ละเมืองเลยค่ะ

ศูนย์ฯ ไทเปซื่อ   เลขที่ 2 ชั้น 2 ซอย 101 ซินเซิงเป่ยลู่ ไทเปซื่อ   โทร. 02-25642564, 02-25643157 โทรสาร 02-25639774

ศูนย์ฯ ไทเปเซี่ยน   เลขที่ 6 ชั้น 2 จงเจิ้งลู่ ป่านเฉียวซื่อ ไทเปเซี่ยน   โทร. 02-89651014, 02-89651044 โทรสาร 02-89651058

ศูนย์ฯ จีหลงซื่อ   เลขที่ 1 ยี่อี้ลู่ จีหลงซื่อ   โทร. 02-24258624 โทรสาร 02-24226215

ศูนย์ฯ เถาหยวนเซี่ยน เลขที่ 1 ชั้น 8 เซี่ยนฝู่ลู่เถาหยวนซื่อ   โทร. 03-3344087, 03-3341728 โทรสาร 03-3341689

ศูนย์ฯ ซินจู๋ซื่อ   เลขที่ 69 กั๋วหัวลู่ ซินจู๋ซื่อ   โทร. 03-5319978 โทรสาร 03-5319975

ศูนย์ฯ ซินจู๋เซี่ยน   เลขที่ 10 ชั้น 3 กวงหมิงลิ่วลู่ จู๋ เป่ยซื่อ ซินจู๋เซี่ยน   โทร. 03-5220648 โทรสาร 03-5520771

ศูนย์ฯ เหมียวลี่เซี่ยน   194 จงเจิ้งลู่ เจี้ยนกงหลี่เหมียวลี่เซี่ยน   โทร. 03-7363260 โทรสาร 03-7363261

ศูนย์ฯ ไทจงซื่อ   เลขที่ 122/19 ชั้น 6/2 จงกั่วลู่เอ้อต้วน ไทจงซื่อ   โทร. 04-22580561, 04-22580765 โทรสาร. 04-27060567

ศูนย์ฯ ไทจงเซี่ยน   เลขที่ 36 หยางหมิงเจ ฟงหยวนซื่อ ไทจงเซี่ยน   โทร. 04-25240131 โทรสาร 04-25240438

ศูนย์ฯ อี๋หลานเซี่ยน   เลขที่ 451 ชั้นเหอผิงลู่อี๋หลานซื่อ   โทร. 03-9324400 โทรสาร 03-9367742

ศูนย์ฯ ฮวาเหลียนเซี่ยน   เลขที่ 131 ชั้น 1 กั๋วเหลียนอู่ลู่ ฮวาเหลียนซื่อ   โทร. 03-8342584 โทรสาร 03-8349341

ศูนย์ฯ หนานโถวเซี่ยน   เลขที่ 21 ชั้น 2 หนานกังซันลู่ หนานโถวซื่อ   โทร. 04-92261896 โทรสาร 04-92256027

ศูนย์ฯ จางฮั่วเซี่ยน   เลขที่ 100 ชั้น 8 จงซิงลู่ จางฮั่วซื่อ   โทร. 04-7297228 โทรสาร 04-7297229

ศูนย์ฯ หยุนหลินเซี่ยน   เลขที่ 515 หยุนหลินลู่เอ้ต้วน โต่วลิ่วซื่อ หยุนหลินเซี่ยน   โทร. 05-5338087, 05-5338086 โทรสาร 05-5331080

ศูนย์ฯ เจียอี้ซื่อ   เลขที่ 160 ชั้น 1 จงซันลู่ เจียอี้ซื่อ   โทร. 05-2162633 โทรสาร 05-2162635

ศูนย์ฯ เจียอี้เซี่ยน   เลขที่ 278 ชั้น 6 หมินฉวนลู่ เจียอี้ซื่อ   โทร. 05-2771114, 05-2784551 โทรสาร 05-2788236

ศูนย์ฯ ไถหนานซื่อ   เลขที่ 6 ชั้น 8 หย่งหัวลู่ ไถหนานซื่อ   โทร. 06-2951052, 06-3901230 โทรสาร 06-2951053

ศูนย์ฯ ไถหนานเซี่ยน   เลขที่ 36 ชั้น 7 หมินจื้อลู่ ซินอิ๋งซื่อ ไถหนานเซี่ยน   โทร. 06-6326546 โทรสาร 06-6373465

ศูนย์ฯ เกาสงซื่อ   เลขที่ 6 ชั้น 4 เจิ้นจงลู่ เขตเฉียนเจิ้น เกาสงซื่อ   โทร. 07-8117543 โทรสาร.07- 8117548

ศูนย์ฯ เกาสงเซี่ยน   เลขที่ 117 ชั้น 3 ต้าเป่ยลู่ เหนี่ยวซงเซียง เกาสงเซี่ยน   โทร. 07-7338842 โทรสาร 07-7331153

ศูนย์ฯ ผิงตงเซี่ยน   เลขที่ 527 จื้อหยิวลู่ ผิงตงซื่อ   โทร. 08-7341634 โทรสาร 08-7341644

ศูนย์ฯ ไถตงเซี่ยน   เลขที่ 276 ชั้น 1 จงซันลู่ ไถตงซื่อ   โทร. 08-9359740 โทรสาร 08-9341296

ศูนย์ฯ เผิงหูเซี่ยน   เลขที่ 70/18 ชั้น 3 อันซันหลี่ หม่ากงซื่อ   โทร. 0-9270907 โทรสาร 06-9268391

ต่อมาเมื่อกลับมาถึงประเทศไทยแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้

ปกติแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศ มักจะถูกให้สมัครเป็นสมาชิกกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานต่างประเทศ ของกระทรวงแรงงานโดยตรง ไม่แน่ใจว่าคุณพ่อได้สมัครหรือไม่ อย่างไร

แต่ถ้าไม่ทราบให้โทรเช็คที่ กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ 02-2456708-9  หรือสำนักงานแรงงานจังหวัดนั้นๆ ที่คุณพ่ออาศัยอยู่ ซึ่งกองทุนนี้กำหนดไว้ว่า กรณีค่ารักษาพยาบาลจะช่วยเหลือประมาณ 30,000 บาท และหากจะเดินทางกลับจะช่วยอีกประมาณ 15,000 บาท ค่ะ



457
อัยยะ...คุณเป็นเพื่อนที่น่ารักมากนะครับ แบบว่าเพื่อนเดือดร้อนคับอกคับใจจึงพยายามหาช่องทางชี้ทางสว่างให้

เอาเป็นว่า เมื่อถามมา ทนายก็ตอบไป

ถามว่า "มันคือการลาออก หรือ แค่ไม่ต่อสัญญา เพราะเพื่อนก็ต้องการไปทำงานที่ใหม่แล้วค่ะ แบบนี้จะถูกปรับไหมคะ?"

ก็ตอบว่า ไม่ใช่การลาออก แต่เป็นการแจ้งว่าจะไม่ต่อสัญญา ซึ่งจริงๆแล้ว ไม่จำเป็นต้องบอกก็ได้นะครับ เมื่อไม่อยากจะทำงานกับบริษัทแล้ว เมื่อถึงกำหนดตามสัญญา วันต่อมาก็ไม่ต้องไปทำงาน ง่ายๆอย่างนี้เลยครับ บริษัทก็จะมาเอาผิดไม่ได้ เพราะมันมีสัญญากำกับไว้อย่างชัดเจนแล้ว เว้นแต่ว่า ในสัญญาจะเป็นการจ้างงานแบบ "ไม่กำหนดระยะเวลาการจ้างที่แน่นอน" อย่างนี้ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อน แต่ถ้าเป็นตามข้อมูลที่ให้มานี้ ก็ไม่ต้องกังวลเลยครับ และก็ไปทำงานที่ใหม่ได้เลยครับ

ส่วนเพือนของคุณจะถูกปรับมั๊ย? ก็ตอบว่า ไม่ถูกปรับหรอกครับ จะปรับเรื่องอะไร เว้นแต่จะไปเอาทรัยพ์สินนายจ้างไปด้วย อันนี้ก็โดนแน่ๆ ครับ

ทนายพร

458
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: คดียาเสพติด
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2019, 03:38:35 pm »
สืบคืนได้จาก google เลยครับ

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522

459
อ่านแล้วไม่รู้ว่าจะตอบได้ทันหรือเปล่า ต้องขออภัยด้วยนะครับ ทนายงานแน่นมากในช่วงนี้ แต่ก็จะพยายามหาเวลามาตอบให้ทุกคำถามนะครับ

เอาเป็นว่า เมื่อมีคำสั่งย้าย มีทางเลือกอยู่ ๒ ทางคือ ๑ ยอมย้ายตามคำสั่ง ก็จะทำให้สถานภาพของความเป็นลูกจ้างยังคงอยู่ต่อไป และปรับชีวิตตามสถานที่ทำงานใหม่ และแน่นอนได้เพื่อนร่วมงานใหม่ๆ
หรือ ๒ ไม่ไปแล้วให้นายจ้างเลิกจ้างแล้วไปต่อสู้ในศาลว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณและทำให้การดำรงชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากเลือกทางนี้ แน่นอนว่า บริษัทกับเราก็เป็นคู่ต่อสู้กัน ซึ่งศาลจะเป็นคนตัดสินว่า ใครแพ้ใครชนะ

อย่างไรก็ตามทนายก็ขอเสนอว่าให้ลองคุยและทำความเข้าใจกันก่อนนะครับ เผื่อว่าอะไรๆ จะดีขึ้น (เว้นแต่ว่าคุยกันไม่ได้แล้ว) ในความเห็นของทนายนั้น ขอให้คิดเสมอว่า หากจะใช้ศาลเป็นที่พึ่งก็ขอให้เป็นทางเลือกสุดท้ายนะครับ เพราะเวลาเริ่มคดีในศาลมันอาจจะไม่เป็นไปตามที่เราคาดหวังก็ได้นะครับ

เป็นกำลังใจให้นะครับ

ทนายพร

460
ทนาย งง กับคำถามนิดหน่อยว่า ถูกจับยาเค หรือตรวจเจอสารเสพติด เพราะเป็นคนละประเด็นกัน

ถ้าเสพแล้วตรวจเจอศาล อันนี้โทษก็น้อยหน่อยเพราะตามกฎหมายจะถือว่าเป็นผู้ป่วย ศาลอาจส่งไปบำบัด

แต่ถ้าจับได้ยาเค อันนี้ก็จะได้รับโทษตามกฎหมาย ซึ่งมีโทษจำคุกล่ะครับ

ก็ประมาณนี้ครับ

ทนายพร

461
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: คดียาเสพติด
« เมื่อ: มกราคม 27, 2019, 02:50:46 am »
ก็คงไม่ต่ำกว่า ๔ ปีละครับ และหลังจากยื่นฟ้องแล้วก็คงไม่นานครับ หากทราบผลพิสูจน์หาสารบริสุทธิ อัยการก็คงจะยื่นฟ้องต่อศาลและกำหนดนัดพิจารณาคดีไม่น่าจะเกิน ๔๕ วันครับ

ทนายพร

462
เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกสังคมในปัจจุบันที่สื่อโซเชียลเข้ามามีบทบาทและเชื่อมการสื่อสารผูั้คนให้ไกล้ชิดกันมากขึ้น และแน่นอนว่าเมื่อมีโอกาสพูดคุยกันมากขึ้นความสนิทสนมก็ทับทวีท้ายที่สุดหากไม่สามารถยับยั้งชั่งใจก็จะเกิดปัญหาตามมาไม่มากก็น้อยละครับ

เอาเป็นว่าตอบตามที่ถามเลยนะครับ

แน่นอนว่า เมื่อจดทะเบียนสมรสกันแล้ว หากมีบุคคลอื่นเข้ามาแทรกกลางโดยที่ความเป็นสามี-ภรรยายังคงมีอยู่ตามกฎหมาย ผู้ที่มาแทรกกลางย่อมมีความผิดตามกฎหมาย

ดังนั้น สิทธิของผู้ถามคือ เรียกค่าเสียหายจากชายชู้ รวมทั้งมีสิทธิฟ้องอย่าภรรยาได้ ส่วนบุตรก็ต้องอยู่ที่ตกลงกันว่าจะให้ใครเป็นผู้ปกครอง ถ้าตกลงไม่ได้ก็คงต้องใข้บริการศาลเยาวชนและครอบครัว เพิ่อให้ศาลเป็นผู้ตัด ซึ่งก็จะมีวิธีการและขั้นตอนพิสูจน์ว่าบุตรอยากอยู่กับใคร และฝ่ายใดสามารถที่จะดูแลลุกได้ดีกว่ากัน

อย่างไรก็ตาม กรณีที่จะเอาผิดทั้งหญิงและชายชู้นั้น จะต้องมีหลักฐานที่ชัดเจนนะครับ เช่นรูปถ่าย พยานบุคคล เป็นต้น มิเช่นนั้นอาจจะไม่ชนะคดีก็ได้นะครับ

แล้วถ้าถามต่อว่า จะเรียกค่าเสียหายเท่าใหร่ ก็ต้องตอบว่า อันนี้ก็แล้วแต่จะเรียกร้องไปละครับ ก็ให้สมเหตุสมผลตามฐานาณุรูปละครับ

แล้วถามว่า ถ้าไม่จะทะเบียนสมรสกัน จะเรียกร้องสิทธิได้หรือไม่

ตอบได้เลยครับว่า ไม่ได้ เพราะถ้าหญิงและชายอยู่กินกันฉันสามีภรรยาแต่ไม่จดทะเบียนสมรสก็ไม่มีสถานะเป็นสามี-ภรรยากันตามกฎหมายครับ

เอาใจช่วยครับ

ทนายพร

463
เรื่องค้ำประกันนี่เป็นอะไรที่น่าปวดใจมากนะครับ หากเพื่อนมาขอให้ค้ำประกันให้ ถ้าไม่ค้ำก็ดูเหมือนเราจะเป็นคนไม่มีน้ำใจ อาจจะถึงขั้นเสียเพื่อนก็เป็นได้ แต่ถ้าจำใจต้องค้ำประกันก็ต้องลุ้นอีกว่า เจ้าเพื่อนจะผ่อนได้ตรงตามกำหนดหรือไม่ ถ้าเพื่อนหนีหนี้ ก็เจ็บใจล่ะครับ ดังคำที่ว่า เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง แต่เอากระดูกมาแขวนคอ ซึ่งทนายก็ตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกันกับผู้ถามนี่แหละครับ..ฮา

เข้าเรื่องเลย

อย่างแรกต้องกลับไปดูที่สัญญาค้ำประกันว่า เราค้ำในฐานะลูกหนี้ร่วมหรือไม่ และในสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเราได้ยินยอมให้หักเงินเดือนไว้ในสัญญาหรือไม่ หากพลิกคว่ำพลิกหงายแล้วปรากฎว่า เราไปยินยอมไว้ในสัญญา ถ้าเป็นเช่นนี้อาจทำได้แค่อย่างเดียวคือทำใจละครับ

แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะไม่ยินยอมไว้ สหกรณ์ฯก็อาจไปใช้สิทธิทางศาลในการฟ้องเราในฐานะคนค้ำประกันให้ร่วมชำระหนี้ได้

ซึี่งก็ไม่พ้นที่จะต้องร่วมชำระอยู่ดี หากเพื่อนตัวดีหนีหนี้ไป โดยทั่วไปวิธีการของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา(สหกรณ์ฯ) ก็จะไปบังคับคดีด้วยการอายัดเงินเดือน (หากมีเงินเดือนเกินกว่า ๒ หมื่นบาท) หรือเงินโบนัสและเงินได้อื่นๆ ได้อยู่ดีล่ะครับ

ขอแนะนำของทนายคือ ไปขอประนอมหนี้กับสหกรณ์ฯ โดยขอชำระขั้นต่ำเท่าที่เราสามารถจะชำระได้ ซึ่งกรณีอย่างนี้ สหกรณ์ฯคงไม่ใจไม้ใส้ระกำหรอกมั๊งครับ เพราะเงินเราก็ไม่ได้ใช้ แต่ต้องมารับชำระหนี้แทน

ส่วนจะไปฟ้องศาลเพื่อเอาผิดสหกรณ์นั้น ยากอยู่ครับ

เอาใจช่วยนะครับ

ทนายพร

464
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: ลูกจ้างถูกไล่ออก
« เมื่อ: มกราคม 27, 2019, 02:25:36 am »
ถามสั้นๆ แต่ได้ใจความ

เอาเป็นว่า กรณีลาป่วยนั้น กฎหมายให้ "สิทธิ" ของลูกจ้างที่สามารถหยุดงานเพื่อรักษาตัวได้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นสิทธิที่ได้รับการับรองโดยกฎหมายให้ลูกจ้างหยุดงานได้ หากลูกจ้างคนนั้นป่วยจริง

และการลาป่วยนั้น เมื่อเป็นสิทธิตามกฎหมายแล้วก็ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากนายจ้างแต่อย่างใด หรือให้เข้าใจง่ายๆว่า ถ้าลาป่วยก็ไม่ต้องขอลาหรือให้นายจ้างอนุมัตินั่นเอง

นอกจากนี้ ลูกจ้างยังมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันที่ลาป่วย แต่ปีหนึ่งไม่เกินสามสิบวัน ถ้าลาป่วยเกินกว่าสามสิบวัน วันทีเกินนายจ้างก็จะไม่จ่ายค่าจ้าง

ทีนี้มาที่คำถามว่า จะทำอะไรได้บ้าง ๒๐ วันแล้วยังไม่ได้รับเงินเดือน?

ง่ายๆครับ ถ้าจะเอาแค่ค่าจ้างก็ไปยื่นคำร้องที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในเขตพื้นที่ (เขียนคำร้อง คร.๗) ให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันที่ลาป่วยและค่าจ้างในส่วนที่เหลือรวมทั้งสิทธิอื่นๆด้วย

นอกจากนี้ ทนายยังเห็นว่า กรณีลาป่วยแค่ครึ่งวันแต่ถูกเลิกจ้าง ย่อมเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุผลอันสมควร จีงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม และมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยบวกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าด้วยครับ

ไปดำเนินการเรียกร้องสิทธิเลยครับ ไม่ยาก ไม่ยาก

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

465
ยาเคตามีน หรือเรียกกันในกลุ่มนักเที่ยวเรียกว่า "ยาเสียสาว" หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ยาเค" (เคตามีน ketamine) เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ในประเภท ๒ ตามพระราชบัญญํติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒

ซึ่งกณีของเพื่อนคุณที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหาว่าครอบคาองเพื่อจำหน่าย อาจจะเป็นข้อหาที่ไม่ถูกต้อง เพราะมีแค่ ๕ กรัม ไม่ถือว่าจำหน่ายตามความในมาตรา ๑๗ ซึ่งโทษที่จะลงกรณีครอบครองเพื่อเสพกับครอบครองเพื่อจำหน่าย โทษค่อนข้างจะต่างกันพอสมควรละครับ

โดยสรุปโทษคือ ผู้ใดผลิต ขาย นำเข้า หรือส่งออก ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๕ ปี – ๒๐ ปี และปรับตั้งแต่ ๑๐๐,๐๐๐ บาท – ๔๐๐,๐๐๐ บาท ส่วนโทษของผู้เสพ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๑ ปี – ๕ ปี และปรับตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐ บาท – ๑๐๐,๐๐๐ บาท

ดังนั้น ขอแนะนำคือ หากแน่ใจว่าค้นเจอกับตัวแค่ ๕ กรัม ก็สู้ภาคเสธครับ หมายถึงสู้ตามความเป็นจริงว่า ยอมรับว่ามียาเค จริง แต่มีจำนวน ๕ กรัม ซึ่งก็ต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ให้ได้นะครับว่าแค่ ๕ กรัม หรือไม่เกิน ๑๐๐ กรัม แค่นี้ก็น่าจะรอลงอาญาแล้วละครับ หากไม่เคยต้องโทษมาก่อน ส่วนจะโดนปรับเท่าใหร่นั้นอยู่ที่ดุลพินิจของศาลครับ

ซึ่งหากจะสู้จริงๆคงต้องมีทนายให้ความช่วยเหลือแล้วละครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

หน้า: 1 ... 29 30 [31] 32 33 ... 50