วันนี้มีคนโทรมาสอบถามว่า บุตรชายได้ไปขโมยรถจักรยานยนต์มาจากที่ผับแห่งหนึ่งในตอนกลางคืน และตำรวจตามจับได้พร้อมของกลาง และแจ้งข้อหาว่ากระทำความผิดฐานลักทรัพย์ บุตรชายได้ยอมรับผิดแล้ว ถามว่าจะถูกจำคุก หรือไม่ อย่างไร กี่ปี
ความผิดเรื่องลักทรัพย์นี้ หากผู้ต้องหาถูกฟ้องเป็นจำเลยและให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดจริง ศาลสามารถพิพากษาได้ทันทีโดยไม่ต้องมีการสืบพยานเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 176
(ถ้าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่คดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจำเลยรับสารภาพนั้นกฎหมายกำหนดอัตราโทษ อย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริง)
สำหรับบทลงโทษนั้น มีดังนี้ครับ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ระบุว่า ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท
มาตรา 335 ผู้ใด ลักทรัพย์
(1) ในเวลา กลางคืน
(2) ในที่ หรือ บริเวณ ที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือ ในที่ หรือ บริเวณ ที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัย แก่ รถไฟ หรือ ยานพาหนะอื่น ที่ประชาชนโดยสาร หรือ ภัยพิบัติอื่น ทำนองเดียวกัน หรือ อาศัยโอกาส ที่มีเหตุ เช่นว่านั้น หรือ อาศัยโอกาส ที่ประชาชน กำลังตื่นกลัว ภยันตรายใดๆ
(3) โดยทำอันตราย สิ่งกีดกั้น สำหรับคุ้มครอง บุคคล หรือ ทรัพย์ หรือ โดยผ่าน สิ่งเช่นว่านั้น เข้าไป ด้วยประการใดๆ
(4) โดยเข้า ทางช่องทาง ซึ่ง ได้ทำขึ้น โดยไม่ได้จำนง ให้เป็นทางคนเข้า หรือ เข้าทางช่องทาง ซึ่ง ผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(5) โดยแปลงตัว หรือ ปลอมตัว เป็นผู้อื่น มอมหน้า หรือ ทำด้วยประการอื่น เพื่อไม่ให้ เห็นหรือจำ หน้าได้
(6) โดยลวงว่า เป็นเจ้าพนักงาน
(7) โดยมี อาวุธ หรือ โดยร่วมกระทำความผิด ด้วยกันตั้งแต่ สองคน ขึ้นไป
(๘) ใน เคหสถาน สถานที่ราชการ หรือ สถานที่ ที่จัดไว้ เพื่อบริการสาธารณ ที่ตนได้เข้าไป โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือ ซ่อนตัว อยู่ในสถานที่นั้นๆ
(9) ในสถานที่บูชาสาธารณ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถ หรือ เรือสาธารณ สาธารณสถาน สำหรับขนถ่ายสินค้า หรือ ในยวดยานสาธารณ
(10) ที่ใช้ หรือ มีไว้ เพื่อสาธารณประโยชน์
(11) ที่เป็นของ นายจ้าง หรือ ที่อยู่ใน ความครอบครอง ของนายจ้าง
(12) ที่เป็นของ ผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็น ผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์ หรือ เครื่องมือ อันมีไว้ สำหรับประกอบกสิกรรม หรือ ได้มาจากการกสิกรรม นั้น
ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ หนึ่งปี ถึง ห้าปี และ ปรับตั้งแต่ สองพันบาท ถึง หนึ่งหมื่นบาท
ถ้า ความผิด ตามวรรคแรก เป็นการกระทำ ที่ประกอบด้วย ลักษณะดังที่บัญญัติไว้ ในอนุมาตราดังกล่าว ตั้งแต่ สองอนุมาตรา ขึ้นไป ผู้กระทำ ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ หนึ่งปี ถึง เจ็ดปี และ ปรับตั้งแต่ สองพันบาท ถึง หนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ถ้า ความผิด ตามวรรคแรก เป็นการกระทำต่อ ทรัพย์ ที่เป็น โค กระบือ เครื่องกล หรือ เครื่องจักร ที่ผู้มีอาชีพกสิกรรม มีไว้สำหรับ ประกอบกสิกรรม ผู้กระทำ ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ สามปี ถึง สิบปี และ ปรับตั้งแต่ หกพันบาท ถึง สองหมื่นบาท
ถ้า การกระทำความผิด ดังกล่าวในมาตรานี้ เป็นการกระทำ โดยความจำใจ หรือ ความยากจนเหลือทนทาน และ ทรัพย์นั้น มีราคาเล็กน้อย ศาลจะลงโทษ ผู้กระทำความผิด ดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 334 ก็ได้
มาตรา 357 ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใดซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด ถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก หรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ