03/05/24 - 23:47 pm


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ทนายพร

หน้า: 1 ... 30 31 [32] 33 34 ... 50
466
ที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ เช่น สค.๑ / นส.๓ บภท.๕ เป็นต้น ซึ่งหลักฐานดังกล่าวไม่ถือเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งผูัครอบครองที่ดังกล่าวมีสิทธิในที่ดินนั้นด้วยการครองครอง

จากคำถามที่ถามว่า ฝ่ายหญิงมีสิทธิในที่ดินนั้นมั๊ย?

ทนายก็ตอบว่า หากฝ่ายหญิงมีการครอบครองทำกินก็มีสิทธิในที่ดินนั้นตามกฎหมายครับ

แต่ถ้ามีคนอื่นหรือญาติของฝ่ายชายครอบครองทำกินอยู่ กรณีนี้ต้องไปใช้สิทธิทางศาลในการพิสูจน์ว่าใครมีสิทธิเหนือกว่ากัน ซึ่งฝ่ายหญิงอาจกล่าวอ้างเรื่องสินสมรส หรือสิทธิอื่นๆเช่นมรดก เพื่อให้ศาลพิจารณาและตัดสินครับ

ทนายพร

467
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: กรณีชาวต่างชาติ
« เมื่อ: มกราคม 04, 2019, 02:33:49 am »
ทนายสรุปเรื่องราวได้ว่า มีเพื่อนชาวต่างชาติซึ่งก็ไม่รู้ว่าชาติใหน มายืมเงิน โดยไม่น่าจะมีสัญญากู้ยืมเงินรวมทั้งการกำหนดชำระคืน จะทำอะไรได้บ้าง? ประมาณนี้

ซึ่งทนายก็ขอตอบว่า  กรณีที่มีการกู้ยืมกันเกินกว่า ๒ พันบาท ต้องทำหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้กู้ไว้ จึงจะสามารถฟ้องร้องเรียกเงินคืนได้

แต่อย่าพึ่งใจเสียว่า ไม่มีสัญญากู้ยืมแล้วจะไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินคืน เพราะอาจใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการทำธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิคส์ พ.ศ.๒๕๔๔ โดยสรุปหากมีการขอกู้ยืมเงินกันทางไลน์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางอื่นใดทางอีเล็คทรอนิคส์ ก็ใช้หลักฐานดังกล่าวนั้นฟ้องร้องต่อศาลได้

ซึ่งกรณีของคุณนั้น ก็ฟ้อง ณ มูลคดีเกิด โดยไม่ต้องสนใจว่าคนยืมจะเป็นคนต่างชาติ เพียงแต่จะยากตรงที่ต้องหาสถานที่อยู่ที่เป็นหลักแหล่งของเพื่อนคุณให้ได้อะครับ หากสามารถยืนยันสถานที่อยู่ได้ก็ไม่ยากครับ ส่วน

ส่วนจะบังคับให้เพื่อนคุณใช้หนี้หลักจากที่ศาลตัดสินแล้วได้หรือไม่นั้น อันนี้ก็ต้องดูว่าจะมีทรัยพ์หรือเงินเดือนหรือสิทธิเรียกร้องใดให้อายัดได้หรือไม่ ถ้าไม่มีฟ้องไปก็ไม่เกิดประโยชน์ครับ มีแต่จะเสียเงินเพิ่มจากค่าธรรมเนียมศาลและค่าทนายความอ่ะครับ

แต่ถ้าเพื่อต้องการเรียกร้องความเป็นธรรมก็ว่ากันอีกเรื่องครับ

ลองพิจารณากลั่นกรองความคุ้มค่านะครับ

ทนายพร

468
อย่างแรกต้องดูลักษณะงานของคุณก่อนว่างานที่ทำมีลักษณะอย่างไร เป็นโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกําหนดการสิ้นสุดหรือความสําเร็จของงานที่แน่นอน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น อย่างไรก็ตาม งานดังกล่าวข้างต้นต้องมีระยะเสร็จสิ้นไม่เกิน ๒ ปี (ตามมาตรา ๑๑๘ วรรคท้าย)

เมื่อได้ข้อมูลที่ชัดเจนแล้วจึงจะสามารถวินิจฉัยได้ว่าจะได้รับค่าชดเชยหรือไม่ เพียงใด

แต่เท่าที่ให้ข้อมูลมา ก็คงจะเกินระยะเวลา ๒ ปีแล้ว จึงเป็นที่ยุติว่าจะต้องได้รับค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘

 ดังนั้น ตามที่ถามมาว่า

1. ผมอยากขอคำปรึกษาว่า ผมมีสิทธ์ได้รับค่าชดเชยไหมครับ  และได้รับค่าชดเชยจะนับอายุงาน รวม หรือ เอาอายุงานตามสัญญาฉบับสุดท้าย (ฉบับที่6)

ตอบ มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยตามอายุงานรวมครับ

2. ถ้าผมมีสิทธ์ได้รับค่าชดเชย  แล้วบริษัทไม่จ่าย ผมจะทำอย่างไร

ตอบ มี ๒ ทางเลือก คือ ๑ ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน (คร.๗) เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานสอบสวนข้อเท็จจริงและมีคำสั่งให้นายจ้างจ่าย ซึ่งในขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ ๖๐ วัน แต่อย่างไรก็ตาม หากนายจ้างหรือลูกจ้างไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวก็สามารถฟ้องศาลเพื่อเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้

ทางที่ ๒ ไปฟ้องต่อศาล โดยจะให้นิติกร หรือจ้างทนายความร่างฟ้องให้ ก็ได้ โดยเมื่อฟ้องแล้วศาลจะทำการไกล่เกลี่ย หากตกลงกันได้คดีก็จบ แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ศาลก็จะสืบพยานและตัดสินตามรูปคดีครับ ซึ่งระยะเวลาประมาณ ๓ เดือน ถึง ๑ ปี แล้วแต่จำนวนคดีที่อยู่ในศาล (ต้องต่อคิวคดีอื่นๆครับ)

คงจะครบถ้วนตามที่ถามนะครับ หากยังสงสัยก็โทรสอบถามได้ครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร

469
อ่านแล้วสรุปได้ความว่า

ไปสมัครงานเป็นครูสอนว่ายน้ำ โดยมีข้อตกลงนั่นนี่โน้น กัน ต่อมาพอเป็นนายจ้าง-ลูกจ้าง กันแล้ว กลับไม่เป็นตามที่ตกลงกันไว้ จึงขอลาออก แต่นายจ้างไม่อนุมัติ แต่ได้เลิกจ้างแทน (อันนี้ทนายก็งงๆอยู่นะครับ เพราะโดยปกติ การแสดงเจตนาลาออก ก็เพียงทำหนังสือแจ้ง หรือจะเขียนด้วยลายมือบนกระดาษอะไรก็ได้ ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว และถือว่าสมบูรณ์ในตัวของมันเองแล้ว ไม่จำต้องได้รับอนุมัติ แต่การที่ลาออกก่อนระยะเวลาที่กำหนดหากเกิดความเสียหาย นายจ้างก็สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้เท่านั้นเอง)

แล้วถามว่า บริษัทเรียกค่าเสียหายมาห้าแสนบาท แพงไปป่ะ? ประมาณนี้

เอาเป็นว่า ทนายจะชี้แจงตามที่สั่งให้ทนายชี้แจงนะครับ (ฮา)

อย่างนี้ครับ...กรณีที่จะเรียกค่าเสียหายต่อกันและกันนั้น กฎหมายไม่ได้ห้ามว่าจะเรียกร้องกันเท่าใหร่ แต่เรียกไปแล้วจะได้หรือไม่นั้น ศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยตามพฤติการณ์เป็นกรณีๆไป โดยดูยอดที่เสียหายจริง มิใช่ยอดตามอำเภอใจที่เรียกร้องไปครับ ซึ่งภาระการพิสูจน์ของค่าเสียหายนั้นจะตกอยู่กับผู้กล่าวอ้าง นั่นหมายถึง หากบริษัทอ้างว่าเสียหาย ๕ แสน ก็ต้องอธิบายได้ว่า ๕ แสนนั้นคิดคำนวณจากอะไรบ้าง? มีหลักฐานมั๊ย? สมเหตุสมผลหรือไม่
และที่เราบอกว่า เฮ้ยจริงๆมันไม่ถึง ๕ แสนนะ มันแค่ ๒ แสนเอง เรียกเวอร์ไปป่ะ...อันนี้เราก็ต้องเตรียมข้อมูลให้ดีว่า ฐานคิดของเราคืออะไร มีหลักฐานอะไรสนับสนุนข้อกล่าวอ้างดังกล่าวข้างต้นบ้าง

ทนายก็คงจะชี้แจงได้ประมาณนี้ หวังว่าคงเข้าใจนะครับ...

ถ้ายังสงสัยอยู่ก็โทรหรือสอบถามเพิ่มเติมได้นะครับ ยินดีให้คำปรึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ถามคือทีมชาติไทย ทนายยินดีให้ความกระจ่างอย่างเต็มที่ เพราะคุณคือคนที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยครับ...ไทยแลนด์ สู้ๆๆๆๆๆ .....

ทนายพร.



470
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: ชดเชยเลิกจ้าง
« เมื่อ: ธันวาคม 22, 2018, 02:09:46 am »
ตอบได้คำเดียวเลยครับ ว่าไปฟ้องศาลเถอะครับ ไปให้นิติกรร่างฟ้องให้ก็ได้ครับ จะได้ไม่ต้องเสียค่าทนายความ

เพราะถือว่า นายจ้างเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา

ถ้าไม่จ่ายอีกก็ยึดทรัยพ์ นำออกขายทอดตลาด เอาเงินมาชำระหนี้ครับ

ทนายพร

471
กรณีมียาเสพติดให้โทษประเภท ๑ จะมีโทษตาม พรบ.ยาเสพติดฯ มาตรา ๖๖  วรรคสอง ที่บัญญัติว่า ถ้ายาเสพติดให้โทษตามวรรคหนึ่งมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ปริมาณที่กำหนดตามมาตรา ๑๕ วรรคสาม แต่ไม่เกินยี่สิบกรัม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท

ส่วนยาบ้า โทษที่จะลงนั้น ก็จะอยู่ที่ดุลพินิจของศาล แต่เท่าที่ผ่านมาก็ประมาณ ๑ - ๒ ปี  ส่วนขับเสพนี่โทษก็จะเพิ่มขึ้น

รวมๆแล้ว ก็หลายปีอยู่ครับ แต่จะให้ทนายฟันธงว่าจะติดกี่ปีนี่ตอบไม่ได้จริงๆครับ เพราะทนายไม่ใช่ศาล ก็คงจะบอกได้เป็นแนวๆเท่านั้น ซึ่งทั้งนี้ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยพิจารณาจากปริมาณสารบริสุทธิ์ของยา อายุ ประวัติ พฤติการณ์การกระทำผิด รวมทั้งการที่รับสารภาพหรือปฏิเสธ ก็เป็นส่วนประกอบในการใช้ดุลพินิจกำหนดอัตราโทษ แต่ไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด 

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร

472
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: สอบถามทีน่ะครับ
« เมื่อ: ธันวาคม 22, 2018, 01:53:42 am »
โห...เป็นคำถามที่ประสบพบเจอกันทุกคน สำหรับผู้ที่จะเช่าซื้อรถยนต์จากเต็นท์รถ หรือต้องจัดไฟแนนท์กับสถาบันการเงิน

เอาเป็นว่า บอกไว้ตรงนี้ว่า ถ้าเราไม่อยากจะทำประกันไม่ว่าจะเป็นประกันตัวรถกรณีผู้เช่าซื้อเสียชีวิต /ประกันชีวิต /และฯลฯ เราก็บอกเค้าไปตรงๆว่า ไม่ทำ เพราะไม่มีสตางค์ ค่างวดสูงผ่อนไม่ไหว หรืออะไรก็ว่าไป

แต่เท่าที่มีประสบการณ์ ถ้าไม่ทำประกันบ้าง ไฟแนนท์ก็จะเล่นตัวพอสมควร เช่น ส่งเรื่องช้า ยอดจัดน้อย เรียกค่างวดล่วงหน้า หรือ นั่นนี่โน้น ก็ว่ากันไป แต่ถ้าทำประกันด้วย ๓ วันรับรถอะไรประมาณนี้ครับ

แต่ถ้าทำแล้วจะไม่จ่าย อันนี้ คงจะยากแล้วล่ะครับ เพราะมันอยู่ในค่างวดที่ต้องผ่อนในทุกงวดแล้ว ถ้าอยากจะยกเลิกจริงๆ ขอแนะนำให้ติดต่อขอคำปรึกษาที่กรมการประกันภัยครับ

ทนายพร

473
ครอบครองยาเสพติดเพื่อเสพ ๖ เม็ด ศาล(น่าจะ) พิพากษาจำคุก ๒ ปี ปรับ ๑๐,๐๐๐.- บาท โทษจำคุกรอลงอาญา ๒ ปีบำเพ็ญสาธารณะประโยชนื ๔๘ ชม. ที่่ตอบมาทั้งหมดนี้ เป็นกรณีที่ไม่เคยต้องโทษมาก่อนนะครับ แต่ถ้าในระหว่างที่รอลงอาญาในคดีความผิดครั้งก่อน ศาลจะเพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลจะลงในความผิดครั้งหลัง ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายมาตรา ๙๗ แห่ง พรบ.ยาเสพติดนั้นเองครับ

ถ้าศาลตัดสินแล้วก็ต้องจ่ายค่าปรับเลยครับ ถ้าไม่จ่ายก็จะถูกกักขังแทนค่าปรับ ในอัตราวันละ ๕๐๐ บาท ก็คำนวณเอาครับว่ากี่วัน และไอ้ค่าปรับนี้ไม่มีระบบผ่อนชำระนะครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.


474
เป็นคำถามที่มีสองเรื่องซ้อนอยู่ในเรืองเดียวกัน
สรุปก็คือ
บริษัท ก. ได้ว่าจ้าง หจก.บี ให้ทำการติดตั้งเครื่องจักรภายในโรงงาน ก. โดยมีกำหนดส่งมอบงานไม่เกิน 31 ตุลาคม 61
โดยผู้ถามเป็นลูกจ้างของ หจก.บี

แล้วถามว่า

เมื่อสิ้นสุดสัญญาจะได้รับเงินค่าชดเชยตามมาตรา 118 หรือไม่? ประมาณนี้

ก็ต้องขอทำความเข้าใจก่อนว่า สัญญาระหว่างบริษัท ก. กับ หจก.บี นั้น เป็นสัญญาจ้างทำของ ซึ่งนิติสัมพันธ์มุ่งที่ผลสำเร็จของงาน ดังนั้น ในกรณีนี้ ผู้ถามจึงมีสถานะการเป็นลูกจ้างของ หจก.บี เท่านั้น มิได้มีสถานะการเป็นลูกจ้างของ บริษัท ก.แต่อย่างใด

เมื่อสัญญาจ้างระหว่าง บริษัท ก. กับ หจก.สิ้นสุดลง ก็ไม่กระทบต่อความเป็นนายจ้าง-ลูกจ้าง ระหว่างผู้ถามกับ หจก.บี ซึ่งเป็นนายจ้าง หรือเข้าใจง่ายๆก็คือ คุณยังเป็นลูกจ้างของ หจก.อยู่ต่อไป

แต่ถ้า หจก.บี บอกคุณไม่ต้องมาทำงานแล้ว เนื่องจากไม่มีงานให้ทำ อันนี้ก็ถือว่า หจก.บี ได้บอกเลิกจ้างคุณแล้ว เมื่อมีการเลิกจ้างโดยมีสาเหตุว่าไม่มีงานให้ทำจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควร แต่ทั้งนี้ ผู้ถามก็มีสิทธิ์ได้รับเงินค่าชดเชยตามอายุงานที่บัญญัติไว้ในตามมาตรา 118 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2518 ครับ

หาก หกจ.บี ไม่จ่ายเงินค่าชดเชยให้ ก็ให้ไปยื่นคำร้อง (คร.7) ต่อพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปทุมธานี เพื่อมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้ได้ครับ

คงจะเครียร์นะครับ สำหรับคำตอบ ถ้าสงสัยก็สอบถามมาได้อีกนะครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร



475
ถามมาเป็นข้อๆ ทนายก็จะตอบเป็นข้อๆตามที่ถามเลยนะครับ

ถามมาว่า

1. ถ้่าลูกค้าชำระเงินในต้นเดือนมกราคม บริษัทจะต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้ดิฉัน แม้ว่าใบลาออกจะมีผลในวันที 16 มกราคม ใช่ไหมคะ
2. หากว่าลูกค้ายังไม่ชำระเงินในเดือนมกราคมแต่เลื่อนไปเป็นกุมภาพันธ์ ดิฉันจะยังมีสิทธิ์ได้รรับเงินค่าคอมมิชชั่นก้อนนี้ไหมคะ (การทำงานส่วนของดิฉันเสร็จสิ้นตั้งแต่มีการออก invoice เรียกเก็บกับลูกค้า เหลือเพียงแค่รอการชำระเงิน)
3. ถ้าดิฉันแจ้งลาออกล่วงหน้าน้อยกว่า 30 วัน บริษัทมีสิทธิ์ที่จะใช้เหตุผลนี้ในการไม่จ่ายค่าคอมมิชชั่นให้ดิฉันได้ไหมคะ
4. ใบสั่งซื้อได้รับมาในปี 2561 ถ้าในปี 2562 บริษัทมีการเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายค่าคอมมิชชั่น จะมีผลย้อนไปถึงผลงานในปี 2561 ไหมคะ เนื่องจากบริษัทมีการเปลี่ยนเงื่อนไขแทบทุกปี

ทนายขอตอบว่า
ตามที่ถามในข้อ 1. ก็ต้องดูเงื่อนไขการจ่ายค่าคอมฯว่า มีข้อตกลงกันอย่างไร ถ้ามีในทำนองว่า ค่าคอมฯจะจ่ายให้กับพนักงานที่มีสถานะการเป็นลูกจ้างเท่านั้น อันนี้ก็อาจจะยากหน่อย หรือ ถ้าไม่มีการระบุในเรื่องนี้ไว้ อันนี้บริษัทก็ต้องจ่ายตามที่ได้ตกลงไว้ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นลุกจ้างนายจ้างกันแล้วก็ตาม
ตามที่ถามในข้อ 2. ก็ต้องเลื่อนไปรับตามรอบที่บริษัทได้รับเงินจากลูกค้าจริง ครับ
ตามที่ถามในข้อ 3. คงต้องกับไปดูตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือสัญญาจ้างกันว่าตอนรับเข้าทำงานตกลงกันไว้ว่าอย่างไร ข้อนี้ทนายคงฟันธงคำตอบให้ไม่ได้ คงต้องหาข้อมูลและหลักฐานเพิ่มเติมครับ
ตามที่ถามในข้อ 4. หากมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขภายหลังนั้น ในทางกฎหมายจะไม่มีผลบังคับ เว้นแต่เงื่นไขนั้นเป็นคุณกับลูกจ้าง ก็สามารถบังคับได้ ดังนั้น ก็ต้องจ่ายตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้ในปี 2561 ครับ

คงจะครบถ้วนนะครับ ถ้ายังมีข้อสงสัยก็ถามเข้ามาเพิ่มเติมได้ครับ (ทนายจะพยายามหาเวลาเข้ามาตอบทุกคำถาม)

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร

476
หลังจากทนายอ่านเรื่องราวแล้วก็น่าเห็นใจนะครับ

เอาเป็นว่า สำหรับท่านที่มีปัญหาด้านค่าใช้จ่าย ให้ทำหนังสือหรือจดหมายหรือโทรศัพท์อย่างเป็นทางการ ขอความช่วยเหลือไปยังคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) โดยตรงเท่านั้น

ซึ่งคสรท. เป็นองค์กรที่เกิดจากรวมตัวกันของสหภาพแรงงานทั้งในภาคเอกชนและภาครัฐวิสาหกิจ และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงาน ซึ่งคณะกรรมการฯจะมีการพิจารณาให้ความช่วยเหลือเป็นกรณีๆไป โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

โดยขอให้แจ้งไปยังคุณชาลี ลอยสูง รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)

สำนักงานประสานงาน 503/20 ถนนนิคมรถไฟ มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์/โทรสาร 02-251-3170

E-mail: tlsc2labour@gmail.com

หรือติตต่อเจ้าหน้าที่ (สุพิน) โทร. 086-3165157

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร

477
ทนายอ่านแล้วก็พยายามทำความเข้าใจกับคำถาม ซึ่งตามที่ถามมานี้ น่าจะมีสองประเด็นคือ เราไม่ต่อสัญญากับนายจ้าง กับ เป็นสัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลาเมื่อครบสัญญาแล้วไม่อยากต่อ ซึ่งถ้าพิจารณาจากคำถามก็น่าจะเป็นแบบหลังกระมัง...

ตอบแบบสรุปเลยนะครับ

ถ้าเป็นสัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลา เมื่อครบกำหนดก็ไม่ต้องทำอะไร ก็แจ้งด้วยวาจาว่าไม่ทำต่อแล้วนะ ก็แยกย้ายกันไป หรือถ้าอยากจะได้หนังสือรับรองการผ่านงานก็บอกให้นายจ้างออกหนังสือให้ เเค่นี้ก็โอเครแล้วครับ

แต่ถ้าเป็นสัญญาจ้างที่ไม่กำหนดระยะเวลาไว้ (หรือเรียกว่าสัญญาจ้างแบบไม่กำหนดระยะเวลาจ้าง) หากเราไม่อยากจะทำงานก็ทำหนังสือแจ้งนายจ้างไปว่า เราไม่อยากจะเป็นลูกจ้างอีกต่อไปแล้ว ซึ่งโดยทั่วไปเรียกว่า "ขอลาออก" เพียงเท่านี้ก็ถือว่านิติสัมพันธ์การเป็นนายจ้าง-ลูกจ้าง ได้สิ้นสุดลงแล้วครับ

ส่วนที่ถามเรื่องถ่ายโอนงาน ปกติกฎหมายไม่ได้กำหนดขั้นตอนไว้ว่าต้องทำกันอย่างไร เอาเป็นว่าเพื่อความสบายใจก็ให้ทำหลักฐานเป็นหนังสือซึ่งระบุรายละเอียดการส่งมอบงานแล้วให้ผู้รับมอบงานเซ็นต์ชื่อกำกับไว้ก็ได้ครับ

ทนายพร

478
ถามสั้นๆ แต่คงต้องอธิบายยาวอยู่นะครับ

MOU.ย่อมาจากคำว่า Memorandum of Understanding หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า บันทึกความเข้าใจ ซึ่งหมายถึง การเข้ามาทำงานของแรงงานต่างด้าวด้วยสัญญาระหว่างรัฐบาลไทยต่อรัฐบาลของแรงงานต่างด้าว

ทีนี้ พอเข้ามาทำงานในเมืองไทยแล้ว อยากจะเปลี่ยนตัวนายจ้างทำได้หรือเปล่า? ทนายก็ขอตอบว่า ทำได้ แต่ต้องเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้
๑.นายจ้างเลิกจ้างหรือเสียชีวิต 
๒.นายจ้างล้มละลาย
๓. นายจ้างกระทำทารุณกรรมหรือทำร้ายร่างกายลูกจ้าง
๔. นายจ้างไม่ปฎิบัติตามสัญญาจ้าง หรือ
๕.ลูกจ้างทำงานในสภาพแวดล้อมในการทำงานที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจหรือสุขอนามัย
หากไม่เข้าตามเงื่อนไขนี้ ลูกจ้างต้องกลับประเทศตนเองแล้วจึงกลับเข้ามาใหม่ตามช่องทางที่กำหนด

และตามกรณีที่ถามมาว่าจะเปลี่ยนนายจ้างได้มั๊ย? เพราะนายจ้างจ่ายเงินไม่ตรงเวลาทุกเดือน

กรณีนี้ก็อาจเข้าเงื่อนไขในข้อ ๔ โดยต้องหาหลักฐานเช่นหลักฐานการโอนเงิน ฯลฯ แล้วไปแจ้งต่อสำนักงานจัดหางานจังหวัด กรณีอยู่ต่างจังหวัด หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ที่แรงงานต่างด้าวทำงานอยู่ กรณีอยู่ในกรุงเทพ

แต่หากเป็นกรณีลูกจ้างลาออกจากนายจ้างเดิมก่อนครบกำหนดสัญญาจ้าง จะ ไม่เข้าเงื่อนไขข้างต้น ไม่สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ ต้องเดินทางกลับประเทศ โดยออกค่าใช้จ่ายการเดินทางเอง หากต้องการกลับเข้ามาทำงานใหม่ก็ต้องเริ่มดำเนินการขั้นตอนการจ้างงานแบบ MOU. ใหม่ทั้งหมด

ทนายพร.


479
อ่านเรื่องราวแล้วก็น่าเห็นใจอยู่ไม่น้อยนะครับ สำหรับผู้ค้ำประกัน แต่เท่าที่มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับสหกรณ์ในฐานะผู้ก่อตั้งและประธานสหกรณ์ฯ ผู้ค้ำกับผู้กู้ ก็จะจับมือกันกู้และค้ำประกันให้แก่กันและกัน ก็ประมาณนี้

เอาละ มาเครียร์ข้อสงสัยตามที่ถามมาเลยละกัน

ผู้ถาม(คงจะเป็นข้าราชการตำรวจ) ถามว่า

ประเด็นที่ 1 สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจ สามารถที่จะหักเงินเดือนของข้ากับพวกในกรณีที่ผู้กู้ไม่ชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์ได้เลยโดยไม่มีการฟ้องร้องได้หรือไม่?
ประเด็นที่ 2 การหักเงินเดือนดังกล่าวโดยค่ากับพวกก็ไม่ได้เซ็นในหนังสือยินยอมให้หักชำระเงินเดือนของพวกข้าพเจ้านั้นเป็นการกระทำละเมิดต่อพวกข้าพเจ้าหรือไม่และการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่?
ประเด็นที่ 3 การที่สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจหักเงินข้าพเจ้ากับพวกโดยมีที่มิได้มีการฟ้องร้องบังคับคดีข้าพเจ้ากับพวกสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้างเพื่อให้สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจคืนเงินจำนวนดัง?


ทนายก็ขอตอบว่า

ประเด็นที่ 1. ตอบว่า ต้องกลับไปดูในหนังสือสัญญาค้ำประกันว่า มีข้อความให้ยินยอมหักเงินเพื่อชำระหนี้แทนผู้กู้หรือไม่? และในการยินยอมให้หักเงินนั้น ต้องได้รับการยินยอมอีกครั้งก่อนหรือไม่? ซึ่งเรื่องนี้ ต้องเอาสัญญาค้ำประกันมานั่งดูตามตัวอักษรครับ ถ้ามีข้อความยินยอมและเราลงชื่อรับรองไว้ ก็เป็นไปตามที่ระบุไว้ในสัญญา แต่จะรับผิดเพียงจำนวนหนี้ที่ค้ำประกันเท่านั้นครับ

ประเด็นที่ 2 ตอบว่า ที่บอกว่าไม่ได้เซ็นต์ยินยอม คงจะหมายถึง หนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความกระมัง ซึ่งกรณีนี้อย่างแรกต้องกลับไปดูตามที่ตอบในข้อ 1. ถ้าไม่มีการยินยอมไว้ตามข้อ 1 การที่สหกรณ์ทำหนังสือสัญญายอมฯ มาให้เซ็นต์ และเมื่อไม่เซ็นต์ยอม ก็ไม่สามารถหักเงินเดือนได้ครับ ซึ่งถ้าหักเงินไปก็เป็นการละเมิดล่ะครับงานนี้ เมื่อเป็นการละเมิดก็เป็นการกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมายครับ ในทางกลับกัน หากเรายินยอมไว้ตามข้อ 1 แล้ว การที่สหกรณ์ทำหนังสือยินยอมฯมาให้เซ็นต์อีกครั้งหนึ่งก็เพื่อให้เกิดความรัดกุมและชัดเจนมากชึ้น และอย่าลืมว่า ในการค้ำประกันหนี้นั้น เป็นการค้ำประกันยอดหนี้ทั้งจำนวน มิได้แบ่งหนี้ออกตามส่วนตามจำนวนคนที่ค้ำ เมื่อสหกรณ์หารหนี้กับจำนวนคนค้ำประกันจึงได้ตัวเลขที่ชัดเจนมากขึ้น เพื่อจะได้รู้ยอดหนี้ของแต่ละคนที่ชัดเจน แต่ถ้าต้องฟ้องคดีกันจริงๆ ก็จะเป็นยอดหนี้รวมซึ่งผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกันในหนี้จำนวนดังกล่าว และอาจถูกยึดทรัพย์บังคับคดีได้ (ดีหน่อยว่าเป็นข้าราชการไม่อยู่ในบังคับอายัดเงินเดือน) หากใครมีทรัพย์ก็จะถูกยึดเพื่อขายทอดตลาดต่อไป ลองกลับไปพิจารณาในข้อแรกดูนะครับ หรือจะแาส่งสำเนาหนังสือสัญญาคำประกันมาให้ทนายดูในเบื้องต้นทางอีเมล์ก่อนก็ได้ (e-mail : pornnarai2516@gmail.com) จะได้วิเคราะห์ให้แบบฟันธงครับ

ประเด็นที่ 3 ตอบว่า ถ้าเป็นการหักเงินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย อย่างแรก ให้ทำหนังสือทวงถามไปถึงสหกรณ์ฯให้คืนเงินในทันที หรือถ้าปราณีก็ให้เวลาซักสามวันเจ็ดวัน(ฮา) หากไม่คืนก็ฟ้องศาลเพื่อให้คืนเงินพร้อมดอกเบี้ยครับ

ตอบครบทั้งสามประเด็นแล้วนะครับ หากสงสัยก็โทรสอบถามได้ครับ

ทนายพร

480
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: สอบถามเรื่องค้ำประกัน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2018, 03:36:27 am »
เข้าเรื่องตามที่ถามเลยครับ ซึ่งถามมาว่า
๑.หนี้สินของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่ดิฉันได้ค้ำประกัน ดิฉันจะต้องชำระแทนหรือไม่ ซึ่งดิฉันไม่ได้เป็นสมาชิกสหกรณ์ แต่ยังมีหนี้สินที่ยังต้องชำระอยู่?
ตอบ. ก็คงต้องชำระหนี้แทนล่ะครับงานนี้ เพราะในสัญญาค้ำประกันก็ระบุไว้ชัดเจนว่า หากผู้กู้ไม่ชำระหนี้ เราจะเป็นผู้ชำระหนี้แทน (ถ้าไม่เชื่อก็ไปเปิดสัญญาดูก็ได้ครับ555+) เพราะทนายก็เป็นผู้ก่อตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์มาจึงจะเข้าใจเรื่องนี้ดี ส่วนการจะเป็นสมาชิกอยู่หรือไม่นั้น ไม่ใช่ประเด็นและสหกรณ์ก็คงจะดูแค่เพียงว่า สหกรณ์ได้รับเงินกู้คืนครบถ้วนแล้วหรือยังเท่านั้น หากไม่ได้รับชำระหนี้ก็คงดำเนินการฟ้องร้องต่อไป เพราะถ้าไม่ทำตัวกรรมการก็มีความผิดตามข้อบังคับของสหกรณ์ละครับ เอาเป็นว่า ก็น่าเห็นใจสำหรับผู้ค้ำประกันล่ะครับ

๒.หากสหกรณ์ยืนยันให้หักหนี้ที่ได้ค้ำประกัน ดิฉันสามารถยื่นเรื่องได้ไหมว่า เงินได้รายเดือนของดิฉันไม่เพียงพอสำหรับชำระหนี้ตัวนี้ เงินเดือนเหลืออยู่ 6 พันนิดๆ ค่ะ
ตอบ ปกติในข้อบังคับของสหกรณ์จะมีเรื่องอำนาจของคณะกรรมการที่จะพิจารณาเรื่องต่างๆได้ รวมทั้งพิจารณาปรับโครงสร้างหนี้ได้ กรณีของผู้ถามนี้ ทนายแนะนำว่า ให้ติดต่อกรรมการสหกรณ์ หรือทำหนังสือถึงสหกรณ์ เพื่อขอปรับโครงสร้างโดยยื่นคำร้องตามแบบของสหกรณ์เพื่อขอชำระหนี้แทนผู้กู้และเป็นจำนวนเงินที่น้อยลง หรือจะรีไฟแนนท์/กู้เพิ่ม เพื่อนำเงินมาปิดหนี้เดิมของเพื่อนที่เราไปค้ำประกันไว้ ก็จะทำให้ค่างวดลดลง ซึ่งโดยปกติคณะกรรมการสหกรณ์ฯจะมีการประชุมกันเพื่อพิจารณาเรื่องต่างๆทุกเดือนอยู่แล้ว ดังนั้น ขอให้ผู้ถามทำหนังสือถึงสหกรณ์เพื่อขอชำระหนี้แทนให้น้อยลง ก็น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ และทนายก็เชื่อว่า เครสกรณีผู้ค้ำชำระหนี้แทนผู้กู้นี้ กรรมการจะเห็นใจเป็นพิเศษครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร

หน้า: 1 ... 30 31 [32] 33 34 ... 50