04/05/24 - 02:32 am


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ทนายพร

หน้า: 1 ... 33 34 [35] 36 37 ... 50
511
อ่านเรื่องราวแล้วก็จินตนาการต่อไปว่าการดำเนินธุรกิจต่อไปในภายหน้าคงจะมีปัญหาระหว่างหุ้นส่วนแน่นอน

เอาเป็นว่าทนายขอ(เจือก)แนะนำว่า หากจะหาทางปรองดองกันได้ ก็คงจะดีต่อใจและต่อธุรกิจไม่น้อยนะครับ แต่ถ้าผีไม่เอาเงาไม่เหยียบก็ว่าไปตามลิขิตฟ้าละครับงานนี้

ส่วนการตอบคำถาม คืออย่างนี้ครับ การที่จะถูกกล่าวหาว่าลักทรัพย์ นั้น อย่างแรกต้องดูที่ "เจตนา" ว่าการนำทรัพย์นั้นไปนั้น เพื่อตัวเองหรือเพื่อบริษัท เช่น ย้ายเครื่องจักรจากสำนักงานใหญ่ไปสำนักงานสาขา เพื่อผลิตสินค้าส่งลูกค้าให้ทัน กรณีอย่างนี้ก็ไม่เข้าองค์ประกอบลักทรัพย์นะครับ เพราะเป็นไปเพื่อกิจการของบริษัท ซึ่งในข้อกฎหมายเรื่องลักทรัพย์นั้น ได้บัญญัติว่า "(มาตรา 334) ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์" จะเห็นว่า การเอาทรัพย์ไปนั้น ทรัพย์นั้นต้องเป็นของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย และต้องมีเจตนาพิเศษ คือเอาไปโดยทุจริต ด้วยเหตุนี้ ทนายจึงไม่สามารถที่จะฟันธงไปได้ว่า มีความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ เพราะต้องดูเจตนาตามที่กล่าวไว้ตอนต้นละครับ

แต่ที่ตอบได้ในตอนนี้คือ คงไม่ถึงกับติดคุกติดตะรางละครับ เพราะโทษสุงสุดไม่เกินสามปี หากไม่เคยทำผิดมากก่อน ศาลก็คงจะรอลงอาญาละครับ

ส่วนคำถามที่ว่า "ทรัพย์บริษัทถือเป็นทรัพย์ที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมกันหรือไม่? ตอบได้เลยว่า เป็นทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันของหุ้นส่วนครับ

เอาเป็นว่า ถ้าการเอาทรัพย์ในไปเพื่อกิจการส่วนตัว ก็อาจจะเข้าองค์ประกอบฐานลักทรัพย์ หรือถ้าไม่ใช่ ก็ไม่ผิดครับ..

ส่วนฏีกา ผ่านตาอยู่ครับ ลองค้นๆดูครับ แต่ทนายไม่มีเวลาค้นให้อ่ะครับ โดยให้ค้นจากกูเกิลว่า "ลักทรัพย+ฏีกา.pdf" ก็เจอครับ


512
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: รับเหมาโดนโกง
« เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2018, 01:55:55 am »
ก่อนที่จะตอบคำถามต้องขอชื่นชมผู้ถามก่อนนะครับว่าเมื่อเห็นคนอื่นเดือดร้อนก็พยายามที่จะช่วยเหลือเหมือนกรณีที่ถามมานี้ ก็ไม่ใช่เรื่องของตนแต่เป็นของเพื่อน เอาเป็นว่า ยกนิ้วโป้งให้เลย...
เอาล่ะ...เข้าเรื่องเลย
ถามว่า จะทำอย่างไรได้บ้าง?

ก่อนอื่นตต้องแยกประเด็นของเรื่องนี้ออกเป็น 2 ประเด็นคือ เช็คเด้ง กับประเด็นที่สองคือ เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายและทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งผู้ถามต้องตัดสินใจเอานะครับว่าจะเลือกทางใดเพราะทางที่จะแนะนำมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนี้ครับ
ปรเด็นแรก เรื่องจ่ายเช็คเด้ง แน่นอนครับ กรณีนี้เป็นความผิดอาญา ซึ่งมีโทษจำคุก ก็ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน(ตำรวจ) หรือไปฟ้องต่อศาลได้ทั้งสองช่องทาง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องดำเนินการภายใน 3 เดือนนับแต่ครบกำหนดจ่ายเงินตามเช็คนะครับ มิเช่นนั้นคดีเป็นอันขาดอายุความ

ประเด็นที่สอง เรื่องการทำงานหรือเข้าเมืองผิดกฎหมาย อันนี้เรื่องใหญ่นะครับ เพราะประเทศไทยได้มีกฎหมายในเรื่องการทำงานของคนต่างด้าวเอาไว้ว่างานประเภทและชนิดใดบ้างที่อนุญาตให้ทำได้ (โปรดศึกษา พรบ.การทำงานของคนต่างด้าว และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง , พรบ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522) ซึงหากฝ่าฝืนโทษหนักอยู่นะครับ ซึ่งแน่นอนว่าหากคุณไปแจ้งความต่อตำรวจหรือไปฟ้องศาลก็จะต้องถูกสอบถามในเรื่องเหล่านี้ และท้ายที่สุดเพื่อนคุณก็อาจจะถูกจับดำเนินคดีได้ ซึ่งอาจจะเสียมากกว่าได้หรืออาจสร้างความยุ่งยากในภายหลัง

ดังนั้น ข้อแนะนำของทนายคือ ต้องวิเคราะห์ว่า ยอดเงินกับ ค่าปรับและโทษที่จะได้รับกรณีที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย ดูว่าอย่างใดจะได้ประโยชน์มากกว่ากัน หากเงินตามเช็คไม่มากนัก ก็ถือซะว่าทำบุญกฐินกองใหญ่ไปละกันครับ คงไม่คุ้มถ้าจะดำเนินการทางกฎหมายอ่ะครับ แต่ถ้ายอดเงินสูงก็ฟ้องแพ่งเรียกเงินค่าจ้างได้ครับ ตัดสินใจเอาครับ แต่ถ้าเพื่อนคุณเข้ามาถูกกฎหมายและปฎิบัติตามกฎหมายไทยอย่างครบถ้วนแล้ว ก็ลุยเลยครับ คนโกงพวกนี้ไม่ควรจะมีที่ยืนในสังคมครับ ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร

513
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: รบกวนสอบถามครับ
« เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2018, 01:45:03 am »
จากคำถามที่ว่า...พอจะมีช่องทางใดให้ผมฟ้องแล้วได้เงินไหมครับ เช่น ฟ้องเจ้าของโรงงานเลย อะไรแบบนี้ได้ไหม  คือเงินตั้งสองแสนกว่าๆ ซึ่งไม่ใช่น้อยๆเลยครับ?

อืมมมม....จากที่อ่านคำถามมาก็น่าเห็นใจนะครับ ที่อยู่ๆบริษัทที่ทำงานก็ล้มละลาย ไม่มีปัญญาใช้หนี้ให้กับเจ้าหนี้จึงถูกฟ้องล้มละลาย เมื่อล้มละลายแล้วกิจการต่างๆก็อยู่ในอำนาจการบริหารจัดการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งในระหว่างนี้ก็จะมีการประกาศในราชกิจกาณุเบกษาว่า บริษัทแห่งนี้ได้ล้มละลายแล้ว หากใครเป็นเจ้าหนี้ก็ให้ไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อขอเฉลี่ยทรัพย์ ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็จะทำการประชุมเจ้าหนี้ทุกราย เพื่อกำหนดมาตราการต่างๆทั้งการขายทรัพย์สินหรือการขอฟื้นฟูกิจการ และจากคำถามว่าจะทำอะไรได้มั๊ย? อืม อย่างแรกให้ทำใจ (ฮา) คืออย่างนี้ครับ กรณีจะไปฟ้องนั้นเลิกคิดไปได้เลย เพราะฟ้องไปก็ไม่ได้อะไร (ก็ล้มละลายไปแล้วนี่ ไม่เหลือทรัพย์อะไรแล้ว) แต่ให้พิจารณาว่า หนี้เงินค่าชดเชยดังกล่าวนี้ถือเป็นหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน ดังนั้น ต้องดูว่าเป็นหนี้ที่เกิดก่อนลูกหนี้(บริษัท) จะถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือไม่ หากเกิดก่อนก็ลองไปติดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อขอเข้าเฉลี่ยทรัพย์โดยแจ้งเหตุผลที่ไม่สามารถแจ้งได้ภายในกำหนด (แต่โอกาสก็น้อยมากนะครับ) หรือไม่ยังมีอีกช่องทางหนึ่งหากจำนวนคนงานไม่เยอะมากก็ลองรวมตัวกันไปคุยกับเจ้าของบริษัทดูเพื่อจะได้รับความเห็นใจหายืมเงินญาติๆเอามาจ่ายเงินให้ลูกจ้างบ้าง ซึ่งนอกจากที่แนะนำไปแล้วข้างต้น ทนายก็มองไม่เห็นหนทางที่จะทำให้ได้เงินละครับ...(หดหู่ๆ)

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร

514
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: ไม่ได้รับค่าจ้าง
« เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2018, 01:42:35 am »
ถามสั้นๆแต่ได้ใจความว่ากำลังจะถูกเบี้ยวค่าจ้าง ซึ่งเท่าที่อ่านน่าจะเป็นสัญญา “จ้างทำของ” ซึ่งถ้าหากมีการส่งมอบงานกันแล้ว ก็ทำเรื่องหรือทำหนังสือขอเบิกค่าจ้างได้เลยครับ หากยังไม่ได้รับคำตอบให้ติดต่อหัวหน้าส่วนราชการนั้น ถ้ายังไม่ได้ให้ติดต่อผู้ตรวจราชการหรือผู้บังคับบัญชาระดับสูงขึ้นไปอีก (สามารถหาได้ตามเว็บไซด์ของหน่วยงานนั้นๆ) ซึ่งถ้ายังไม่ได้อีกก็คงต้องพึ่งพาศาลให้พิพากษาละครับงานนี้ ผมว่างานนี้ไม่ยากครับ ขอเพียงให้เข้าถูกช่องทาง

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร

515
ถามมาเป็นข้อทนายก็ตอบไปเป็นข้อเหมือนกันนะครับ จะได้ไม่เอาเปรียบกัน..ฮา..
ถามว่า..

1. กรณีพนักงานใช้สิทธิ์บอกเลิกสัญญาจ้าง โดยสิ้นสุดในวันที่ 31 มีค.61 แล้ว
บริษัทแจ้งให้เรามาทำงานที่”ออฟฟิศเดิม” ในวันที่ 2 เมย.61 ต่อได้หรือไม่?
(เข้าใจว่าในเมื่อสิ้นสุดสัญญาไปแล้ว วันที่ 2 เมย. เราก็ไม่จำเป็นต้องมาทำงานแล้ว)
ตอบ เมื่อนิติสัมพันธ์ระหว่างความเป็นนายจ้าง-ลูกจ้างสิ้นสุดลงแล้ว ก็ไม่จำต้องไปทำงานอีก ที่คุณเข้าใจถูกต้องแล้วครับ

2. จากข้อที่ 1
หากเราไม่ประสงค์จะทำงานต่อแล้ว เรามีสิทธิ์ปฎิเสธ ไม่ทำงานต่อในวันที่ 2 เมย.61 ได้หรือไม่?
หากไม่ไป ไม่ทำงานต่อที่ตึกเดิม จะถือว่าขัดคำสั่ง ทำให้งานเสียหายได้หรือไม่?
ตอบ เป็นไปตามข้อ 1 เลยครับ แต่ทั้งนี้ต้องดูสัญญาให้ดีด้วยนะครับว่าเป็นการยุตินิติสัมพันธ์ความเป็นลูกจ้าง-นายจ้างกันอย่างแท้จริง เพื่อจะได้ไม่เป็นประเด็นในภายหลังครับ เอาเป็นว่าในการวินิจฉัยเบื้องต้นก็ไม่ถือว่าเป็นการขัดคำสั่งครับ

3. กรณีมีวันลาพักร้อนเหลือ เราสามารถลาตามสิทธิ์ทั้งหมดได้ ก่อนวันสิ้นสุดสัญญาที่บอกเลิก
แต่ส่งใบลาไปแล้ว "หัวหน้าไม่เซ็นอนุมัติให้ และไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่าจะจ่ายเป็นเงินค่าจ้างให้หรือไม่"
ตอบ เมื่อหัวหน้างานไม่อนุมัติ ก็ต้องไปทำงานปกติจนกว่าจะครบกำหนดตามหนังสือบอกเลิกสัญญาต่อกัน และกรณีที่มีวันหยุดพักผ่อนประจำปี(พักร้อน) เหลืออยู่เท่าใด กฎหมายคุ้มครองแรงงานมาตรา 67 กำหนดให้นายจ้างจ่ายเป็นเงินเท่ากับค่าจ้างคืนให้กับลูกจ้างในวันภายใน 7 วันนับแต่วันพ้นจากการเป็นลูกจ้างนะครับ

อัยยะ..ยังมีถามต่อว่า..กรณีนี้ เราสามารถหยุดในวันที่เราลาเอาไว้เลยได้หรือไม่ (เนื่องจากไม่มีการตอบใดๆ จากทางบริษัท)
หากหยุดไปแล้ว จะถือว่าเราขาดงานหรือไม่? (หยุดพักร้อน โดยยังไม่ได้รับการอนุมัติ)
หรือควรปฏิบัติอย่างไร?
ทนายก็ขอตอบว่า เมื่อหัวหน้างานยังไม่อนุมัติ ห้ามหยุดโดยเด็ดขาดนะครับ ให้ไปทำงานตามปกติ หรือให้มีการติดตามจากหัวหน้างานที่มีอำนาจสูงถัดขึ้นไปเพื่อขอความชัดเจนครับ มิเช่นนั้นแล้ว หากฝืนหยุดไปจะเป็นการขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่ได้นะครับ

4. ตามกฎหมายมีกำหนดระยะเวลาที่บริษัทจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับพนักงานที่บอกเลิกสัญญาหรือไม่?
ตอบ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ปกติการบอกเลิกสัญญาเป็นสิทธิของทั้งสองฝ่าย ซึ่งนายจ้างบอกเลิกสัญญาเรียกว่าเลิกจ้างและลูกจ้างบอกเลิกสัญญาเรียกว่าลาออก แต่กรณีที่ถามมานี้เข้าว่าน่าจะถามกรณีบริษัทย้ายสถานประกอบกิจการ จะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่ ซึ่งถ้าเป็นกรณีนี้ลูกจ้างก็มีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยตามมาตรา 120 ซึ่งเป็นไปตามอายุงานตามมาตรา 118 ครับ

5. จากข้อ 4. ถ้ากฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ชัดเจน ว่าต้องจ่ายภายในกี่วัน
ตอบ ปกติการจ่ายเงินตามกฎหมายแรงงานต้องจ่ายภายใน 7 วัน ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 9 หากเกินระยะเวลาดังกล่าวแล้วยังไม่จ่ายโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรก็จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ทุกระยะ 7 วันครับ

และถามต่อว่า...บริษัทกำหนดว่าจะจ่ายค่าชดเชยภายในเดือน เมย.61 ได้หรือไม่ (ภายใน 30วัน)
ตอบ ประเด็นนี้อยู่ที่การตกลงของลูกจ้างกับนายจ้างครับ ถ้าลูกจ้างไม่ยินยอมก็เป็นไปตามาตรา 9 ครับ

เครียร์นะครับ...ทนายพร

516
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: การจ่ายเงินชดเชย
« เมื่อ: มีนาคม 04, 2018, 03:23:59 am »
ขออภัยที่ตอบช้านะครับ เข้าใจว่าผู้ถามก็ร้อนใจอยู่พอสมควร
เอาเป็นว่า โทรมาบอกทนายก็ได้ครับว่า "หน่วยงานที่ผู้ถามสังกัดคือหน่วยงานใด" เป็นเอกชน, รัฐวิสาหกิจ,องค์กรไม่แสวงหากำไร,สถานศึกษา หรือ ฯลฯ เพราะแต่ละองค์กรก็จะมีกฎหมายเฉพาะหรือมีกฎหมายยกเว้นไว้ เพื่อทนายจะได้วิเคราะห์และตอบคำถามและชี้ช่องแนะนำได้อย่างตรงประเด็นครับ

ทนายพร

517
เมื่อถามมาให้ทนายตอบ เอาเป็นว่าทนายก็จะตอบตามที่ถามเลยนะครับ
ตามนี้....
1. ถ้าตามกฎหมายแล้ว ผมควรจะได้รับเงินค่าบอกกล่าวล่วงหน้าเท่าไหร่ และควรจะได้เงินชดเชยเท่าไหร่ครับ
ตอบ จะได้เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย ๒๔๐ วัน ตามมาตรา ๑๑๘ (๔) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ครับ

2. ถ้านายจ้างไม่จ่ายเงินชดเชยเป็นเงินก้อนทีเดียวทั้งหมด แต่กลับใช้วิธีผ่อนจ่ายจนครบตามตกลง ในเรื่องนี้มีกฏหมายรองรับมั้ยครับ
ตอบ โดยปกติ กฎหมายจะไม่ได้กำหนดให้มีการผ่อนจ่าย เว้นต่อทั้งสองฝ่ายจะตกลงกันเอง ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวที่ขอผ่อนจ่ายถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความประเภทหนึ่ง ซึ่งหากเป็นความสมัครใจของทั้งสองฝ่ายก็สามารถบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ครับ เอาเป็นสรุปว่า หากนายจ้างยื่นข้อเสนอว่าจะขอผ่อนจ่าย หากเราเห็นว่านายจ้างไปไม่ไหวจริงๆ ก็สามารถทำสัญญา(เป็นหนังสือ)ให้ไว้ต่อกันได้ครับ หรือหากเป็นเหลี่ยมของนายจ้างก็คงต้องถึงโรงถึงศาลละครับ หรือหากจะให้ไวก็ไปแจ้งต่อพนักงานตรวจรแรงงานให้มีคำสั่งต่อไปครับ

3. ในไลน์กลุ่มที่คุยกัน นายจ้างพิมพ์ว่า
"มีสมองไหมครับ"
"พี่ถามจริงๆ น้องมีปัญหาการเงินอะไรหรือเปล่า ถ้าจะใช้โอกาสนี้เพื่อสิ่งนั้น พี่ว่าน้องคิดใหม่นะครับ"
"พูดไม่คิด"

คำพูดเหล่านี้ถือเป็นการดูถูกเหยียดหยามหรือเปล่าครับ

ตอบ เท่าที่อ่านดู ยัง 50-50 นะครับ เพราะเท่าที่ค้นฏีกาเกี่ยวกับข้อความหม่ินประมาทนั้น ยังไม่พบข้อความนี้ว่ามีความผิด ยังงัยทนายยังไม่ฟันธงนะครับ เอาเป็นว่า คงต้องอาศัยคนกลางในการตัดสินนั่นก็คือผู้พิพากษาละครับงานนี้ ซึ่งก็อยู่ที่ดุลพินิจของผู้พิพากษาแต่ละคนด้วยอ่ะครับ

4.ผมมีสิทธิ์ที่จะชนะคดีมากน้อยเพียงใดครับ
ตอบ เป็นคำถามที่ทนายมักจะถูกถามเสมอ (ฮา) เอาเป็นว่า ถ้าเรื่องค่าชดเชย รูปคดีท่านสวยมากครับ แต่ถ้าเป็นคำถามข้อ ๓ ผมไม่ฟันธงครับ เอาเป็นว่า 50-50 ครับ

5.เรื่องขึ้นศาลเเรงงาน จะใช้เวลานานเท่าไหร่ และจะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างมั้ยครับ
ตอบ ปกติในศาลชั้นต้นประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี แต่ถ้าสู้กันสามศาล(อุทธรณ์ชำนัญพิเศษ/ฏีกา) ก็อาจจะมีถึง 3-6 ปี ครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร

518
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: การจ่ายเงินชดเชย
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2018, 01:52:05 am »
ทนายมีเวลาน้อย(อิอิ) เอาเป็นว่าตอบตามที่ถามเลยนะครับ

-ประเด็นแรกอยากทราบเรื่องระยะเวลาการจ่ายเงินชดเชย เนื่องจากที่องค์กรนี้มีเคสเดิมค้างจ่ายมา1ปีแล้ว กังวลว่าจะเป็นเหมือนกันค่ะ?
ตอบ. ปกติกฎหมายกำหนดให้จ่ายภายใน ๗ วัน หากเกินกว่า ๗ วันแล้วยังไม่จ่ายโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร นายจ้างก็จะต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ ๑๕ ทุกระยะ ๗ วันตามมาตรา ๙ ดังนั้น ไม่ต้องกังวลหากเกินระยะเวลาดังกล่าวคุณก็จะได้เงินเพิ่มอีกจำนวนมากเลยนะครับ

-อยากทราบข้อแตกต่างระหว่างการบอกเลิกจ้างกับสิ้นสุดสัญญาจ้าง จะได้เงินชดเชยเหมือนกันมั้ยคะ?
ตอบ เลิกจ้างก็การแสดงเจตนาขอยกเลิกนิติสัมพันธ์ความเป็นนายจ้างลูกจ้างโดยฝ่ายนายจ้าง ส่วนการสิ้นสุดสัญญาจ้างหมายถึงครบกำหนดระยะเวลามี่ตกลงกันแล้วไม่ทำสัญญาจ้างกันต่อไป แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองประเภทนี้ก็จะได้รับเงินค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ เหมือนกันครับ

-หลังจากได้รับเงินเดือนเดือนสุดท้ายแล้ว ซึ่งเป็นจำนวนที่เคยได้มาตลอด คือเบิกโอทีได้ 5000 บาท มีการโอนเงินเข้าบัญชีเรียบร้อยตั้งแต่ 31 ม.ค. วันนี้ทางบุคลากรแจ้งมาอีกว่าต้องคืนเงิน 1400 บาท เพราะเดือนสุดท้ายเราเบิกได้แค่ 3600 ก่อนหน้านี้เคยมีการคุยประเด็นเรื่องค่าจ้าง ซึ่งมีการพูดทางวาจาว่าทุกอย่างยังได้เหมือนเดิม แต่พอจะมีการเรียกเงินคืนกลับทำเป็นหนังสือออกมาว่าเราต้องคืนเงิน เหตุการณ์แบบนี้จะดำเนินการยังไงเพื่อเรียกร้องสิทธิ์ของเราได้บ้างคะ
ตอบ อืมมมมม.ไม่ค่อยเข้าใจคำถามนี้ครับ ว่าเบิกเงินค่าโอทีได้ ๕ พัน คืออะไร เพราะปกติถ้าทำโอทีเท่าใดก็จะได้เงินตามที่ได้ทำจริงโดยคำนวณจากฐานค่าจ้างคูณด้วยชั่วโมงที่ทำโอที แต่กรณีที่ถามนี้น่าจะเป็นโอทีเเบบเหมาๆหรือเปล่าครับ...ต้องขอคำอธิบายเพิ่มละครับ

ขอให้โชคดีครับ

 ทนายพร

519
อ่านเรื่องราวแล้วก็น่าเห็นใจนะครับ แต่เมื่อเรื่องมันเกิดแล้วก็ว่ากันตามที่ฟ้าลิขิตละครับ เอาละ เข้าเรื่องเอาเป็นว่าทนายจะตอบตามที่ถามเลยนะครับ
1 พนักงานสามารถเรึยกร้องอะไรได้ไหม เงินเดือนจ่ายช้ามาก

ตอบ ท่านสามารถไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานให้ม่ีคำสั่งได้กรณีที่จ่ายช้าเกินกว่า ๓ วัน เพื่อเรียกดอกเบี้ยผิดนัดครับ

2 ถูกบริษัท นาย A หลอกให้มา บริษัท นาย B สามารถเรียกร้องอะไรได้ไหม

ตอบ ทนายไม่แน่ใจว่าคำว่า "หลอกให้มา" นั้นหมายถึงเราไม่รู้หรือถูกกลลวงให้มา เพราะเข้าใจว่าอายุงานจะต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามก็มีกฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา ๑๓ แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ กำหนดว่า หากมีการโยกย้ายหรือเปลี่ยนตัวนายจ้างโดยลูกจ้างยังทำงานอยู่เหมือนเดิม สิทธิที่ลูกจ้างมีอยู่ต่อนายจ้างเดิมเช่นใดให้ลูกจ้างมีสิทธิเช่นว่านั้นต่อไป และให้นายจ้างใหม่รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่อันเกี่ยวกับลูกจ้างนั้นทุกประการ ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า คงเรียกร้องเรื่องค่าชดเชยตามอายุงาน หากนายจ้างเลิกจ้างละครับ

3 บริษัท นาย B ผ่อนจ่ายชดเชย สามารถไม่รับได้ไหม อยากได้เป็นก้อน คับ เพราะขนาดเงินเดือนยังไม่ได้ครบเลย

ตอบ ก็แจ้งไห้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งเลยครับ หากนายจ้างไม่ปฎิบัติตามคำสั่งก็ไปฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้มีคำพิพากษาและตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้ครบถ้วนต่อไปครับ

4 สมารถฟ้องสู้คดีกัย บริษัทนาย B ได้ไหมเรื่องอายุการทำงาน (ในใบรับรองเงินเดือน กับ บัตรพนักงาน บริษัท นับวันเริ่มงานต่อจากบริษัท เก่า เช่น รุบะวันเริ่มงาน 6/11/2008) สามารถเอาเป็นหลักฐานต่อสู้ไหมไหมคับ

ตอบ  จะตอบโดยไม่สอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมคงจะตอบได้ไม่เต็มปากว่าจะสู้ได้หรือไม่ได้ เอาเป็นว่าถ้ายึดถือกฎหมายตามมาตรา ๑๓ รูปคดีก็สวยอยู่นะครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร

520
1. ถ้าในข้อบังคับบริษัทระบุว่า มาสายหักเงินครั้งละ 20 บาท หากสายเกิน 1 ชั่วโมงจะหักเงินครึ่งวัน ขัดต่อกม.หรือไม่?

ตอบ ขัดต่อกฎหมายแน่นอนครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาย ๑ ชั่วโมงแต่หักเงินถึงครึ่งวัน มันเกินไปครับ ซึ่งท่านสามารถไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานให้สั่งคืนเงินให้ได้ครับ

2. ถ้าในข้อบังคับ ระบุว่า ลาป่วยได้ แต่ไม่ระบุว่าจะได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วัน สามารถระบุในข้อบังคับได้หรือไม่  หรือสิทธิลาที่กม.กำหนดว่าได้รับค่าจ้าง (ลาป่วย ลาทหาร ลาทำหมัน ลาคลอด) ต้องระบุในข้อบังคับให้ชัดเจนว่า ลูกจ้างลาได้กี่วันและได้ค่าจ้างระหว่างลาเท่าไหร่?

ตอบ ปกติกฎหมายกำหนดให้แต่ละบริษัทต้องกำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยอ้างอิงตามมาตรา ๑๐๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ๒๕๔๑ ซึ่งกำหนดว่าในข้อบังคับฯอย่างน้อยต้องประกอบด้วยข้อความใดบ้าง ซึ่งการลาและหลักเกณฑ์การลาก็ถูกกำหนดว่าต้องมีในข้อบังคับด้วยครับ

ทนายพร

521
กรณีที่จะได้สิทธิในวันหยุดพักผ่อนประจำปี หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "พักร้อน" กฎหมายกำหนดว่าจะต้องทำงานให้ครบรอบปีเสียก่อนจึงจะมีสิทธิหยุดได้จำนวน ๖ วันหรือตามที่ตกลงกัน ดังนั้น ในกรณีที่ผู้ถามได้ถามมานั้นซึ่งอายุงานไม่ถึงปี สิทธิในการหยุดยังไม่เกิดเลยครับ จึงไม่สามารถที่จะหยุดได้ เว้นแต่นายจ้างได้กำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้สามารถหยุดตามส่วนได้ครับ ซึ่งหากเป็นกรณีหลังนี้ ต้องนำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานมาให้ทนายดู เพื่อจักได้วิเคราะห์และตอบคำถามได้อย่างถูกต้องไม่คลาดเคลื่อนครับ

ทนายพร

522
ครอบครองยาเสพติดเพื่อเสพ ๖ เม็ด ศาล(น่าจะ) พิพากษาจำคุก ๒ ปี ปรับ ๑๐,๐๐๐.- บาท โทษจำคุกรอลงอาญา ๒ ปีบำเพ็ญสาธารณะประโยชนื ๔๘ ชม. ที่่ตอบมาทั้งหมดนี้ เป็นกรณีที่ไม่เคยต้องโทษมาก่อนนะครับ แต่ถ้าในระหว่างที่รอลงอาญาในคดีความผิดครั้งก่อน ศาลจะเพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลจะลงในความผิดครั้งหลัง ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายมาตรา ๙๗ แห่ง พรบ.ยาเสพติดนั้นเองครับ

ข้อกฎหมาย

มาตรา ๖๗  ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ หรือมีจำนวนหน่วยการใช้ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตามมาตรา ๑๕ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๙๗  ผู้ใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้ากระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้อีกในระหว่างที่ยังต้องรับโทษอยู่หรือภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ หากศาลจะพิพากษาลงโทษครั้งหลังถึงจำคุก ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้นั้นอีกกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลัง

ทนายพร

523
อ่านเรื่องราวของผู้ถามแล้วก็มีประเด็นน่าสนใจทีเดียวว่า เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่
อย่างนี้ครับ

การที่จะบอกว่าเป็นข้อสัญญาที่เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมนั้น ต้องดูองค์ประกอบหลายอย่าง ซึ่งสัญญาประเภทนี้จะเรียกกันโดยทั่วไปว่าสัญญาต่างตอบแทน และต้องผูกพันตนตามที่ได้สัญญาไว้ แต่ปัญหามักจะเกิดเนื่องจากคู่สัญญาอยากจะหลุดพ้นจาก "เงื่อนเวลา" ที่ได้ตกลงกันไว้ ก็มักจะเกิดปัญหา
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากเรื่องราวแล้ว ก็อาจจะเข้าข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมได้ เมื่อเทียบกับ"น้องคนหนึ่งในบริษัท" แต่ทั้งนี้การเที่ยบกันนั้น จะต้องเป็นตำแหน่ง,หน้าที่ ในระดับเดียวกับผู้ถามนะครับ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะนำมาเปรียบเทียบกันแบบร้อยเปอร์เซ็นต์คงไม่ได้ คงต้องมาพิจารณาตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้ และที่คุณผู้ถามได้คิดคำนวณตามสัดส่วนนั้นก็เป็นเหตุผลที่ฟังได้ครับ
ส่วนข้อต่อรองกับบริษัทนั้น ก็เอาที่ท่านได้คำนวนนี้แหละไปคุย ถ้าบริษัทไม่ยอมฟังและคุณเองก็ไม่อยากจะทำงานแล้วก็ ออกเลยครับ แล้วไปต่อสู้เอา เพราะคิดว่าบริษัทคงตั้งเรื่องฟ้องแน่ โดยยกมาตรา ๑๔ แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงาน เพื่อให้ศาลเป็นผู้วินิจฉัยให้ก็จะเป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร

524
เข้าเรื่องเลยนะครับ
ผู้ถามว่า
1.ถ้ามีการให้พนักงานรัฐวิสาหกิจทำล่วงเวลาเกิน 36 ช.ม.ต่อสัปดาห์ จะผิดกฎหมายหรือมีบทลงโทษตามกฎหมายหรือไม่ครับ
ตอบ แม้จะมีการทำงานล่วงเวลาเกินสัปดาห์ละ ๓๖ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ก็ยังไม่ถือว่าผิดกฎหมาย เพราะมิได้มีกฎหมายห้ามในเรื่องการกำหนดชั่วโมงทำงานล่วงเวลา เมื่อไม่มีการกระทำอันอ้างว่าผิดกฎหมายจึงไม่มีบทลงโทษด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การกำหนดชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาได้กำหนดไว้สำหรับบริษัทที่จะเข้าร่วมโครงการ"มาตรฐานแรงงานไทย" หรือ มรท.นั่นเองครับ

2.หากข้อบังคับหรือข้อกฎหมายอื่นใดที่ออกตาม พรบ.แรงงาน แต่ รัฐวิสาหกิจยังไม่มีการออกระเบียบกำหนด รัฐวิสาหกิจต้องปฏิบัติตามข้อบังคับหรือข้อกฎหมายที่ออกตาม พรบ.แรงงานนั้นหรือไม่ครับ
ตอบ รัฐวิสาหกิจจะมีกฎหมายเฉพาะของตนเอง เมื่อยังไม่มีกฎระเบียบกำหนด จะไม่นำกฎหมายของเอกชนมาบังคับใช้แทนได้ เนื่องจากในกฎหมายแต่ละฉบับก็จะมีการกำหนดให้ใช้กับใคร? และยกเว้นหน่วยงานใด ดังเช่น พรบ.คุ้มครองแรงงาน ก็จะมีบอกไว้ในมาตรา ๔ ซึ่งได้ยกเว้นไม่บังคับใช้กับรัฐวิสาหกิจตาม (๒) ครับ

ทนายพร

525
ตอบคุณหมอตามที่สงสัยเลยนะครับ...อย่างนี้ครับ
คุณหมอถามว่า "จะเรียกร้องค่าเสียหายที่รพ.ได้บอกยกเลิกสัญญาก่อนกำหนดได้หรือไม่ ถ้าได้จะได้กี่เดือนหรือได้ค่าตอบแทนที่ควรจะได้จริงถ้าทำงานครบสัญญาหนึ่งปี (สัญญาระบุว่าแพทย์ไม่ได้เป็นลูกจ้าง)ทาง รพ.มีเงื่อนไขจ่ายค่าตอบแทนขั้นต่ำให้ แต่ดิฉันทำงานได้เกินการันตี ซึ่ง รพ.ก็จ่ายส่วนเกินให้ ไม่ทราบว่าจำนวนเงินที่เรียกร้องค่าเสียหาย จะเป็นค่าตอบแทนขั้นต่ำ หรือรายได้ที่ทำได้จริง

ตอบ ก่อนอื่นต้องพิจารณาก่อนว่า สัญญาจ้างหมอในโรงพยาบาลเอกชนนั้น เป็น "สัญญาจ้างแรงงาน" หรือ "สัญญาจ้างทำของ" แต่แนวโน้มจะเป็นสัญญาจ้างแรงงานนั้นค่อนข้างสูงที่เดียว เนื่องจากหมอยังต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์ของโรงพยาบาลในการทำงาน รวมทั้งยังมีอำนาจบังคับบัญชาได้ในระดับหนึ่ง อย่างนี้จึงเข้าองค์ประกอบของสัญญาจ้างแรงงาน ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ถึงแม้ว่าจะระบุในสัญญาว่าเเพทย์ไม่ได้เป็นลูกจ้างก็ตาม เพราะประเด็นสัญญานี้จะเป็นปัญหาค่อนข้างมากในการคำนวณภาษีจ่าย เนื่องจากในการคำนวณภาษีสัญญาจ้างทั้สองประเภทคำนวณไม่เหมือนกันครับ

กลับมาพิจารณาจากข้อสงสัยที่คุณหมอได้ถามมา ว่าสามารถเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่ เพียงใด โดยมีข้อตกลงกันว่าจะจ้างกัน ๑ ปี อย่างนี้ เรียกว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงาน "แบบมีกำหนดระยะเวลา" เมื่อนายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างจึงต้องรับผิดในค่าเสียหายในส่วนที่ขาดไปเต็มตามจำนวนหรือให้เข้าใจง่ายๆก็คือต้องจ่ายให้ครบตามสัญญาแม้ไม่ได้ทำงานนั้นเอง

ส่วนประเด็นว่าจะคำนวณจากเงินการันตีหรือรายได้ที่รับจริงเป็นฐานในการคำนวนนั้น เห็นว่า เมื่อรายได้ที่ทำได้จริงเป็นรายได้อนาคตที่ไม่อาจคำนวณได้แน่นอน จึงต้องใช้ฐานรายได้การันตีในการคำนวน อย่างไรก็ตาม ก็มีแนวคำพิพากษาของผู้พิพากษาบางท่านได้ให้ความเห็นว่า ให้คิดคำนวนโดยใช้ฐาน "เฉลี่ย" ของรายได้ที่ได้รับมาเป็นฐานคำนวนครับ ซึ่งประเด็นนี้ยังไม่มีแนวคำพิพากษาของศาลฎีกาได้วางหลักไว้ครับ ก็คงต้องหาคำตอบจากคำพิพากษาต่อไปครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร

หน้า: 1 ... 33 34 [35] 36 37 ... 50