ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย => ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย => ข้อความที่เริ่มโดย: michaeltcsd ที่ กันยายน 02, 2024, 12:57:08 pm
-
นายปีเตอร์ นักบริหารหนุ่มไฟแรงแห่งเมืองกรุง เป็นผู้ถือกรรมสิทธิโนที่ดินแปลงหนึ่ง ขนาด 50 ตารางวา ตั้งอยู่ในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ต่อมาด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ทำให้นายปีเตอร์ถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลาย เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนายปีเตอร์ และได้มีคำพิพากษาให้ นายปีเตอร์ เป็นบุคคลล้มละลายเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2560 หลังจากนั้นอีก 3 ปี นายปีเตอร์ได้รับการปลดจากล้มละลาย (1 ตุลาคม 2563)
ในระหว่างการรวบรวมทรัพย์สิน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนโดยความปรากฏว่า เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2564 นายปีเตอร์ได้นำ ที่ดินของตนที่ตั้งอยู่ในเขตบางรัก ไปขายกับนายก้อนและนายก้อนนำที่ดินดังกล่าวไปขายต่อให้นางแก้ว พนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ขอให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนแล้วนำเอาที่ดินดังกล่าวเข้ามาอยู่ในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ แต่นางแก้วคัดค้าน โดยอ้างว่าตนรับโอนสิทธิ โดยเสียค่าตอบแทนและตนเองเป็นบุคคลภายนอกไม่ทราบถึงการ ลัมละลายของนายปีเตอร์ ย่อมได้รับความคุ้มครอง นอกจากนั้นการซื้อที่ดินดังกล่าวยังเกิดขึ้นหลังจากนายปีเตอร์ ได้รับการปลดจากล้มละลายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ไม่มีอำนาจร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนนิติกรรมขอให้ยกคำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ดังนี้ จากข้อเท็จจริงข้างต้น หากท่านเป็นผู้พิพากษาในศาลล้มละลายกลาง ท่านจะวินิจฉัยว่าสิทธิของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือนางแก้วในที่ดินที่ตั้งอยู่ในเขตบางรัก ใครจะเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินดีกว่ากัน เพราะเหตุใด จงอธิบาย
-
สำหรับคำถามนี้ เกี่ยวกับ พรบ.ล้มละลายฯ
เข้าใจว่าผู้ถามอยู่ระหว่างการศึกษา และเป็นคำถามในการสอบในองค์กรทดสอบความรู้แห่งหนึ่ง
ดังนั้น เพื่อให้ผู้ถามได้พัฒนาความรู้ ก็ให้กลับไปอ่าน พรบ.ล้มละลายฯ หลายๆรอบก็จะเข้าใจนะครับ ซึ่งคำถามนี้ไม่ยากเลยและมีอธิบายอยู่มาก หรือศึกษาคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๓๓๓/๓๗,๖๙๓๔/๔๓ ที่วางแนวเกี่ยวกับ ม.๑๑๕ และทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ เว้นแต่จะเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อน
ทนายพร.