ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย

ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย => ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย => ข้อความที่เริ่มโดย: ทนายพร ที่ มีนาคม 27, 2014, 07:10:05 pm

หัวข้อ: เงินอะไรบ้างที่ถือว่า"ไม่ใช่ค่าจ้าง"จึงไม่สามารถนำไปเป็นฐานเพื่อคำนวณค่าชดเชยได้
เริ่มหัวข้อโดย: ทนายพร ที่ มีนาคม 27, 2014, 07:10:05 pm
เงินต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง

1) เงินที่จ่ายเป็นสวัสดิการ หมายถึง นายจ้างจ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างในด้านต่างๆ เช่น ค่าอาหาร ค่าเครื่องแบบ ค่าพาหนะ ค่าเช่าที่พัก ค่าหอพัก  ค่ารักษาพยาบาล ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเล่าเรียนบุตร เงินฌาปนกิจศพ ค่าคลอดบุตร ค่าประกันอุบัติเหตุ เงินโบนัส ค่าภาษี ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าเช่ารถประจำตำแหน่ง เป็นต้น


2) เงินที่จ่ายจูงใจลูกจ้างให้ทำงานมากกว่ามาตรฐานปกติ เช่น ค่าทิปจากงานบริการ

หรือเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่ทำยอดขายได้ตามเป้า ที่กำหนด  เพื่อจูงใจให้ทำยอดขายเพิ่ม  ไม่ได้ตอบแทนการทำงานโดยตรง  ทั้งยังจ่ายเป็นรายเดือน  รายไตรมาส  หรือรายปี  มิใช่ตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน  มิใช่ค่าจ้าง  (คำพิพากษาที่ 2246 / 2548)

“เบี้ยเลี้ยง” ที่จ่ายให้เมื่อออกไปทำงานต่างจังหวัดเป็นครั้งคราว ไม่ใช่ค่าจ้าง (คำพิพากษาที่ 2335 / 2523)
     
         
3) เงินที่จ่ายจ่ายเพื่อให้ลูกจ้างออกจากงาน


4) เงินที่จ่ายจ่ายเพื่อทดแทนเงินหรือสิ่งที่ลูกจ้างจ่ายไป เช่น ค่าน้ำมันรถ ค่าทางด่วน ค่ารถประจำตำแหน่ง เป็นต้น 


เช่น ค่าน้ำมันรถเหมา จ่ายเพื่อชดเชยกับการที่ลูกจ้างนำรถยนต์ส่วนตัวมาใช้ในการทำงาน (คำพิพากษาที่ 4842 / 2548) ค่าพาหนะเหมา จ่ายให้แก่ลูกจ้างที่เดินทางไปทำงานนอกสถานที่  เป็นเงินช่วยเหลือค่าเดินทาง  (คำพิพากษาที่ 9016 – 9043 / 2549)

             
5) เงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานนอกเวลาหรือเกินเวลาในวันทำงาน


6) เงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานนอกเวลาหรือเกินเวลาในวันหยุด


7) ค่าจ้างที่ได้โดยไม่ต้องทำงานได้แก่                            

7.1) เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลา                 

7.2) ลูกจ้างไม่ได้ทำงานแต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย                       

7.3) ค่าจ้างในวันหยุด เช่น ลูกจ้างรายเดือนได้ค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ ลูกจ้างรายวัน รายชั่วโมง และลูกจ้างตามผลงานได้ค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณี  หรือวันหยุดพักผ่อนประจำปี  เป็นต้น   

 
8) ค่าจ้างในวันลา เช่น ลาป่วยปีละไม่เกิน 30 วันทำงาน ลาเพื่อคลอดบุตรไม่เกินครรภ์ละ 45 วัน เป็นต้น



สำหรับค่าใช้จ่ายต่อไปนี้ ต้องถือว่าเป็น "ค่าจ้าง"

(1) ลูกจ้างได้รับค่าน้ำมันรถ และค่าโทรศัพท์ทุกเดือนเป็นจำนวนแน่นอน ในลักษณะเหมาจ่าย  ไม่ต้องมีใบเสร็จ  มิใช่เป็นเงินสวัสดิการหรือเงินช่วยเหลือ  ได้รับเนื่องจากการทำงานตามปกติ เป็นค่าจ้าง (คำพิพากษาที่ 7316 / 2549)

(2) ค่าคอมมิชชั่น หรือค่าตอบแทนการขาย คำนวณจากยอดสินค้าที่จำหน่ายได้  เป็นค่าจ้างตามมาตรา 5   อายุความ 2 ปี (คำพิพากษาที่ 3759 / 2546 , 2863 / 2552) ค่าคอมมิชชั่นลูกจ้าง ได้รับเมื่อหาลูกค้ามาทำป้ายโฆษณาจากนายจ้างได้  เป็นค่าจ้างตามผลงาน (คำพิพากษาที่ 8758 / 2547)

(3) “เบี้ยเลี้ยง” จ่ายให้ทุกคนที่มาปฏิบัติงาน ฯ อัตราแน่นอนทุกเดือน ไม่ใช่จ่ายเมื่อออกไปทำงานนอกสถานที่ (คำพิพากษาที่ 1328 / 2527)


(4) “เงินเพิ่มพิเศษ” สำหรับการทำงานเป็นกะ  นายจ้างจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงาน (คำพิพากษาที่ 2770/2528)

(5) ค่าชั่วโมงบิน จ่ายให้แก่ลูกจ้างที่เป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินตามอัตราที่คำนวณจากเวลาที่ได้ปฏิบัติงาน จ่ายเป็นรายเดือน  แม้แต่ละเดือนจะได้รับในจำนวนไม่แน่นอน  ไม่เท่ากัน แต่ก็ถือว่าเป็นเงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน (คำพิพากษาที่ 1394/2549)

(6) เงินประจำตำแหน่ง เป็นค่าจ้างที่ต้องนำไปรวมคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า (คำพิพากษาที่ 5024 / 2548)


(7) ค่านายหน้าในการยึดรถเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง โดยคำนวณจากจำนวนรถที่ลูกจ้างยึดได้ในอัตราแน่นอนคันละ 10,000 บาท นอกเหนือจากค่าจ้างรายเดือนเดือนละ 9,500 บาท ที่กำหนดจ่ายให้ทุกวันที่ 25 ของเดือน จึงเป็นการจ่ายให้เป็นค่าตอบแทนในการทำงานคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงานถือเป็น ค่าจ้าง (คำพิพากษาที่ 7891/2553)

(8) ค่าครองชีพ จ่ายให้ลูกจ้างมีจำนวนแน่นอนและจ่ายให้เป็นประจำทุกเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือนโดยไม่คำนึงว่าลูกจ้างจะหยุดงานหรือไม่ (คำพิพากษาที่ 8938-8992/2552)

(9) "ค่าเที่ยว" ลูกจ้างทำงานขับรถบรรทุกสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ไปส่งสินค้าทั่วประเทศ ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนและค่าเที่ยวตามระยะทางใกล้ไกล คำนวณได้ตามระยะทางและจำนวนเที่ยวที่ได้โดยไม่ได้คำนึงถึงระยะเวลาในการขับรถ ค่าเที่ยวดังกล่าวจึงไม่ได้จ่ายเพื่อตอบแทนในส่วนเวลาที่ทำเกินเวลาทำงานปกติ แต่มีลักษณะเป็นการตอบแทนการเดินทางไปปฏิบัติงานในเวลาทำงานปกติ (คำพิพากษาที่ 3631-3667/2552)

(10) ค่าอาหารที่ได้รับเท่ากันทุกเดือน จ่ายเท่ากันเป็นประจำทุกเดือน (คำพิพากษาที่ 5738-5742/2548)