24/11/24 - 04:17 am


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ลักษมี

หน้า: [1]
1
วันนี้ 27 มี.ค. นายจ้างต้องการให้เซ็นรับเงินชดเชย 1 เดือน โดยมีเงื่อนไขไม่ให้ฟ้องร้องเอาผิดนายจ้าง ถ้าไม่เอา ก็ไม่ให้หนังสือเลิกจ้าง  และให้รอก่อน
ไม่ทราบว่าให้รออะไรทั้งที่วันนี้ทำงานวันสุดท้าย ก่อนบริษัทหยุด 1 เดือน  และถามเราว่าต้องการทำงานต่อไหม ซึ่งเราแจ้งว่าไม่แล้ว

-ถ้าเป็นในกรณีนี้ นายจ้างอ้างได้หรือไม่ว่า  ไม่ได้ให้ออก พนักงานต้องการออกเอง เพราะนายจ้างมีงานให้ทำแล้ว แต่พนักงานปฏิเสธ
-เรายังคงมีสิทธิเรียกร้องเงินชดเชย อยู่หรือไม่ค่ะ รวมทั้งค่าตกใจด้วย

2
บริษัทฯดำเนินกิจการ ขายเสื้อผ้าที่ห้างแพลตตินั่มแฟชั่นมอล  นายจ้างต้องการเลิกกิจการ ร้าน 2 สาขา (บริษัทฯมีหลาย สาขา ) อันเนื่องมาจากผลประกอบการลดลงไม่มีคนซื้อเสื้อผ้าโดยเฉพาะเดือน ก.พ. และเดือนมี.ค.63 ที่ผ่านมา  เพราะโรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 เจ้าของกิจการแจ้งว่าจะปิดทั้งสองร้าน สิ้นเดือน มี.ค. 63 และได้แจ้งว่าไม่มีร้านค้าให้ดูแลแล้ว

วันที่ 19 มี.ค. 63 นายจ้าง แจ้งให้หางานใหม่ทางไลน์  ต่อมา ได้มีการพูดคุยกันว่า งานส่วนอื่นๆที่โรงงานก็ไม่มีอะไรให้ทำ   และวันที่ 21 มี.ค. 63  ผู้ว่าฯกทม. มีคำสั่งปิดห้างสรรพสินค้า ทำให้ร้านค้าที่บริษัทฯตั้งใจว่าจะปิด ต้องปิดเร็วขึ้น   เรามีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการกระจายสินค้า เปิดบิล  เบิก-โอน-ย้ายระหว่างโรงงานและหน้าร้าน  หน้าที่ในการทำงานจึงหมดเร็วขึ้นถึงแม้ว่ายังต้องดูในส่วนของการขายออนไลน์อยู่   
ดิฉันทำงานมา 2 ปี 6 เดือน เศษ นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างวดสุดท้ายให้และไม่ให้เงินชดเชยและค่าตกใจ  ภายหลังต่อรอง ได้รับเงินชดเชย  1 เดือน  โดยนายจ้างอ้างว่ากิจการขาดทุน แต่เมื่อปีก่อนนายจ้าง เพิ่งเปิดกิจการโรงแรม ขนาดเล็ก และเมื่อเดือน ก.พ. 63 นายจ้างเพิ่งขยายร้านนวดสปา และขณะนี้กำลังดำเนินการก่อสร้างโกดังเก็บของใกล้บ้านนายจ้าง
นายจ้างต้องการให้เซ็นรับเงินโดยมีเงื่อนไขไม่ให้ฟ้องร้องเอาผิดนายจ้าง จึงจะเซ็นในหนังสือเลิกจ้างให้  ไม่อย่างนั้นจะไม่เซ็น ซึ่งวันที่ 27 ทำงานวันสุดท้าย ก่อนที่โรงงานจะเปิดอีกที วันที่ 4 พฤษภาคม 63

-   อยากทราบว่า หาก เรารับเงิน 1 เดือนพร้อมค่าจ้างวดสุดท้ายตามเงื่อนไขของนายจ้างมาแล้ว แต่นายจ้างไม่ได้จ่ายชดเชยถูกต้องตามกฎหมาย  เรายังสามารถ ฟ้องเอาผิดนายจ้างได้หรือไม่   ทั้งในส่วนของเงินชดเชยเลิกจ้างและค่าตกใจ
-   มีข้อควรระวังอะไรในหนังสือเลิกจ้างที่ต้องระวังเป็นพิเศษ
-   ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างในการ ดำเนินการฟ้องร้องเอาผิดนายจ้าง หากทำได้
[/size][/size]

หน้า: [1]