อ่านคำถามแล้วก็น่าเห็นใจ ในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ต่างได้รับผลประทบกันทั่วหน้า ซึ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบก่อนก็คือคนงานนี่แหละครับ มักจะเป็น "เบี้ย" ให้เล่นก่อนการลดต้นทุนตัวอื่น...ก็ว่ากันไปครับ..แต่จงเชื่อว่า ทุกวิกฤติย่อมมีโอกาสเสมอ โบราณว่าไว้
มาที่คำถาม ถามว่า..จะขอต่อรองจ่ายค่าชดเชยที่จะได้รับตามกฏหมายแค่ 50% จากที่จะได้รับ กรณีนี้พนักงานมีสิทธิ์ไม่รับการต่อรองนี้ได้หรือไม่คะ แล้วต้องทำอย่างไรบ้างคะ?
ตอบ อย่างแรก ไม่ควรไปต่อรองในเรื่องนี้ เพราะเป็นการต่อรองที่ต่ำกว่ากฎหมาย และค่าชดเชยเป็นสิทธิ์ขั้นพื้นฐานที่ลูกจ้าง "ต้อง" ได้รับ เอาเป็นว่าถ้าจะต่อรองก็ไปต่อรองเรื่องอื่นครับ ถ้านายจ้างเลิกจ้างแล้วไม่จ่ายค่าชดเชยให้ครบถ้วนตามอายุงาน ก็ให้ไปร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน หรือไปเขียน คร.๗ ให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จ่ายค่าชดเชย ดอกเบี้ย และเงินเพิ่มตามมาตรา ๙ คือ ร้อยละ ๑๕ ทุกระยะ ๗ วัน เช่น ถ้าค้างจ่ายเงินค่าชดเชย ๑ แสนบาท ร้อยละ ๑๕ ทุกระยะ ๗ วัน ลูกจ้างก็จะได้ ๑๕,๐๐๐.- ทุก ๗ วัน หากไม่จ่าย ๑ เดือน ก็ ๔ รอบ คิดเป็นเงินเพิ่มที่นายจ้างต้องจ่ายเป็นเงิน ๖๐,๐๐๐.- บาท เอามั๊ยล่ะ แล้วอย่างนี้นายจ้างจะกล้าเบี้ยวหรือ!
2. จะจ้างต่อ แต่จะจ่ายค่าจ้างตามงานที่ทำได้ หรือ ตามวันทำงานที่ได้ทำ
(เป็นพนักงานรายเดือน) กรณีนี้บริษัทสามารถทำได้หรือไม่คะ บริษัทต้องมีหนังสือยินยอมจากพนักงานก่อนหรือไม่คะ หากบริษัทจะทำเช่นนี้
หากพนักงานไม่ยอม สามารถทำอย่างไรได้บ้างคะ
ตอบ การเปลี่ยนสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณทำไม่ได้ กฎหมายห้าม เว้นแต่ลูกจ้างจะยินยอม ดังนั้น กรณีที่จะเปลี่ยนสถาพการจ้างแล้วไม่เป็นคุณต่อเราก็ควรจะตรึกตรองให้ถี่ถ้วนถึงข้อดีข้อเสีย หากเห็นว่าถูกเอาเปรียบจนเกินควรก็ไม่ต้องเซ็นยินยอม แต่ถ้าไม่มีทางเลือกก็ว่ากันไปตามสถานการณ์ แต่มีข้อแนะนำว่า ยังงัยซะก็อย่าไปหลงเซ็นใบลาออกนะครับ เดี๋ยวจะเสียสิทธิในการต่อสู้ไป
เอาน่าให้กำลังใจครับ
ทนายพร.[/color][/size][/size]
สวัสดีคะ ทนายพร
สุดท้ายแล้วถ้าตกลงค่าชดเชยกันไม่ได้
พนักงานตรวจแรงงานเข้ามาไกล่เกลี่ยแล้วพูดให้พนักงานยอมบริษัท
เราจะทำยังไงได้อีกบ้างคะ ถ้าพนักงานไม่ยอมต้องการค่าชดเชยตามที่กฏหมายกำหนด เพราะบริษัทเขายังดำเนินกิจการต่อ แสดงว่าเขาก็มีทุนและทรัพย์สินใช่มั้ยคะแบบนั้น
ขอบคุณคะ