6
« เมื่อ: เมษายน 15, 2020, 10:21:07 pm »
สวัสดีครับ ผมค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการที่บริษัทฯย้ายสถานที่ทำงาน จนกระทั่งมาพบในเว็บฯของคุณ ซึ่งเป็นเดือนมีนาคม 2016 จึงไม่แน่ใจว่ายังครอบคลุมใช้ได้หรือไม่ครับ เรื่องที่ผมจะถามนั้น คือว่าผมเริ่มทำงานมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2535 บริษัทของผมตั้งอยู่ที่ ถ.ราชปรารภ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี เป็นอาคารพาณิชย์ที่เช่าอยู่ ต่อมาในวันที่ 14 เมษายน พี่ที่เป็นรักษาการ ผจก.ทั่วไป ก็ส่งข้อความมาทางไลน์กลุ่มพนักงานฯว่า ผู้บริหารฯมีนโยบายที่จะย้ายไปทำงานในสถานที่ใหม่ โดยไปใช้ที่ทำงานเดียวกับอีกบริษัทฯหนึ่ง(ซึ่งเป็นบริษัทฯในเครือ) ซึ่งในอนาคตก็คงยุบรวมกัน สถานที่ใหม่นี้ตั้งอยู่ในซอยวัดภคินีนาถ ถ.ราชวิถี แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด โดยระบุให้คำตอบภายในวันที่ 17 เมษายน นี้ ทั้งๆที่ความจริงแล้วควรจะประกาศเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน เพื่อสอบถามความสมัครใจของพนักงานฯ อันที่จริงผู้บริหารฯก็มีน้ำใจครับ จากการประกาศให้หยุดทำงานตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม - 30 เมษายน เพราะเกรงว่าพนักงานจะได้รับเชื้อไวรัสฯ และยังจ่ายเงินเดือนให้ครึ่งหนึ่ง เรื่องนี้ยอมรับในน้ำใจของผู้บริหารฯเลยครับ แต่การที่ต้องย้ายไปสถานที่ทำงานใหม่ที่ไกลกว่าเดิมและเป็นเส้นทางที่มีจราจรแน่นขนัดในเวลาปกติ ผมจึงไม่พร้อมที่จะย้ายไปยังสถานที่ใหม่ บ้านพักผมอยู่ที่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ การเดินทางไปและกลับย่อมต้องใช้เวลามากขึ้นกว่าเดิม ค่าครองชีพก็ต้องเพิ่มขึ้น สภาพร่างกายและจิตใจที่ต้องเผชิญกับการจราจรที่ยาวนานขึ้น ย่อมเหนื่อยล้ากว่าเดิมและเสียสุขภาพจิตจากรถติด อย่างนี้ผมสามารถเรียกร้องสิ่งที่ควรจะได้ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่2) พ.ศ.2551 มาตรา 118 และมาตรา 120 ได้หรือไม่ครับ เราต้องรอผู้บริหารทำจดหมายเลิกจ้างเราก่อน ถึงจะได้เงินชดเชยหรือไม่ครับ? แล้วถ้าผู้บริหารฯไม่ทำจดหมายเลิกจ้างเรา เราสามารถบอกเลิกสัญญากับบริษัทฯและเรียกร้องเงินชดเชยตามมาตรา 118 และมาตรา 120 ใช่ไหมครับ? หากผู้บริหารฯระบุว่าจำต้องย้ายไปยังสถานที่ทำงานแห่งใหม่ เพราะว่าเป็นการลดต้นทุนที่ไม่ต้องเสียค่าเช่าอาคารพาณิชย์ และเพื่อรักษาบริษัทฯให้คงอยู่ต่อไปจากผลประกอบการที่ขาดทุนอันเนื่องมาจากถูกพนักงานเก่ามีการยักยอกฉ้อโกงเงินบริษัทฯ ทำให้บริษัทฯมีหนี้สิน เหตุผลนี้เขาสามารถนำมาอ้างเพื่อไม่จ่ายชดเชยแก่เราได้หรือไม่ครับ? ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ