22/11/24 - 18:22 pm


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - Dawut

หน้า: [1]
1
“ยืนยันว่า การทำงานล่วงเวลาต้องจ่ายเป็นเงินเท่านั้น จะแลกเปลี่ยนเป็นวันหยุดเพิ่มเติม หรือวันหยุดสะสมไม่ได้”
             ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้กำหนดกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา หรือ OT ในวันทำงาน ให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างเป็นเงินในอัตราไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงาน ที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

             และในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันหยุดให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดแก่ลูกจ้างในอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้ ทั้งนี้การทำงานล่วงเวลาไม่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นวันหยุดเพิ่มเติม หรือวันหยุดสะสมได้

               ให้รวบรวมหลักฐานต่างๆ ที่ระบุว่าเราทำงานล่วงเวลา ไปที่สำนักงานสวัสดิการคุ้มครองแรงในพื้นที่ไปเขียนคำร้อง (คร๗) เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งบังคับให้นายจ้างจ่าย ซึ่งมีอายุความ ๒ ปีนะครับ

สู้ๆๆ ครับ

2
ข้อเท็จจริง  นายจ้างย้ายไปต่างเมืองระยะทาง30 โล ไป-กลับ 60 ก็ยังโอเคตามไป ไม่เพิ่มค่าเดินทางด้วย ทำมาอีกพักย้ายไปไกลขึ้นอีกหลายสิบโล ทุกครั้งที่ย้ายไม่มีการแจ้งล่วงหน้าซักครั้ง อย่างงี้ผมมีสิทธิ์เรียกร้องอะไรได้บ้างมั้ยครับ

ตอบว่า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้บัญญัติว่า "(วรรคหนึ่ง)นายจ้างซึ่งประสงค์จะย้ายสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งแห่งใดไปตั้ง ณ สถานที่ใหม่หรือย้ายไปยังสถานที่อื่นของนายจ้าง ให้นายจ้างปิดประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า โดยให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่ที่ลูกจ้างสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน ติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ และประกาศนั้นอย่างน้อยต้องมีข้อความชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ว่าลูกจ้างคนใดจะต้องถูกย้ายไปสถานที่ใดและเมื่อใด

(วรรค ๒) ในกรณีที่นายจ้างไม่ปิดประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างที่ไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(วรรค ๓) หากลูกจ้างคนใดเห็นว่าการย้ายสถานประกอบกิจการดังกล่าวมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัวของลูกจ้างคนนั้น และไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่ ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ปิดประกาศ หรือนับแต่วันที่ย้ายสถานประกอบกิจการในกรณีที่นายจ้างมิได้ปิดประกาศตามวรรคหนึ่ง และให้ถือว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงในวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา ๑๑๘...

จะเห็นได้ว่า กฎหมายได้รับรองไว้ว่าหากการย้ายสถานประกอบการนั้น "มีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัวของลูกจ้าง" เช่น  เสียเวลาเดินทางมากกว่าเดิมมาก หรือใช้เวลาเดินทางจากเดิม ๓๐ นาทีถึงบริษัท เปลี่ยนเป็น ๑ ชั่วโมง อย่างนี้ถือว่ามีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตแล้ว

อย่างงี้ผมมีสิทธิ์เรียกร้องอะไรได้บ้างมั้ยครับ??

ก็ต้องดูว่ากรณีของเราเข้าหลักเกณ์ไหน (วรรค๑)หรือ (วรรค๒)และมีสิทธฺิเรียกร้องค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ ครับ

สู้ๆๆครับ

3
ขอตอบแทนทนาย ครับ ท่านคงงานเยอะ
สวัสดีค่ะทนายพร ขอคำปรึกษาหน่อยนะคะ พอดีดิฉันได้เข้าไปทำงานในบริษัทแห่งหนึ่ง โดยไม่มีการเซนต์สัญญาจ้างงาน แต่มีการนัดวันที่มาเริ่มงานผ่านทางไลน์ หลังจากดิฉันทำงานที่บริษัทนี้ไปได้ 3 สัปดาห์ มีบริษัทใหม่ติดต่อให้ไปเริ่มงาน ดิฉันจึงได้เขียนใบลาออกเป็นลายลักษณ์อักษร แจ้งลาออกล่วงหน้า 1 สัปดาห์ ซึ่งมีผลในการลาออกสิ้นเดือน โดยได้นำใบลาออกยื่นให้ทางบริษัทในช่วงบ่าย ทางบริษัทได้รับทราบแล้ว แต่หลังจากนั้นวันเดียวกันในช่วงเย็น ทางบริษัทได้มาแจ้งอีกครั้งว่าให้ดิฉันออกได้เลย โดยจะจ่ายเงินเดือนตามวันที่มาทำทั้งหมดในสิ้นเดือน แต่ทางดิฉันได้ชี้แจงไปว่าจะออกสิ้นเดือน ตามที่ระบุไปในวันลาออก แต่ทางบริษัทไม่ยอม จะให้ออกในวันที่แจ้งทันที โดยให้เหตุผลว่า "อยู่ในช่วงทดลองงาน สามารถเลิกจ้างพนักงานตอนไหนก็ได้" ดิฉันจึงสงสัยว่าบริษัททำแบบนี้ผิดไหมคะ? และเงินเดือนที่จะต้องได้รับ ดิฉันต้องได้รับเท่ากับวันที่ทำงานตามที่บริษัทแจ้ง หรือที่ระบุไปในใบลาออกคะ ขอบคุณค่ะ


มาตรา ๑๗[๑๒]  สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินสามเดือน  ทั้งนี้ ให้ถือว่าสัญญาจ้างทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาด้วย
การบอกเลิกสัญญาจ้างตามวรรคสอง นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้างให้ตามจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าวและให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีได้
การบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรานี้ไม่ใช้บังคับแก่การเลิกจ้างตามมาตรา ๑๑๙ แห่งพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา ๕๘๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๗/๑[๑๓]  ในกรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างทราบตามมาตรา ๑๗ วรรคสอง ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับนับแต่วันที่ให้ลูกจ้างออกจากงานจนถึงวันที่การเลิกสัญญาจ้างมีผลตามมาตรา ๑๗ วรรคสอง โดยให้จ่ายในวันที่ให้ลูกจ้างออกจากงาน

จากข้อเท็จจริง ประมาณการได้ว่า เขียนใบลาออกวันที่ 23 มีผลออกสิ้นเดือน
ตอบ ค้าจ้างนั้นนายจ้างต้องจ่ายตั้งแต่วันที่ตัดรอบค่าจ้างจนถึงวันทำงานวันสุดท้าย

เงินอีกส่วนที่ลูกจ้างจะได้รับคือ ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า เพราะสัญญาจ้างทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ต้องมีการบอกกล่าวก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไป วันที่ถูกเลิกจ้างวันที่ 24-30 = 7 วัน และอีก 1งวด คือเดือนถัดไปกรณีเดือนนั้น 30 วัน เท่ากับ 37 วัน ที่นายจ้างต้องจ่ายค่าบอกกล่าว

ให้ไปร้องเรียนกับพนักงานตรวจเเรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่ทีทำงานอยู่ (เขียน คล ๗) ครับ
สู้ๆๆครับ


4
 
ขอตอบแทนทนาย ครับ ท่านคงงานยุ้ง

เรื่องราวคือ หัวหน้าเรียกประชุม และแจ้งในที่ประชุมว่าเรามีประเด็น ที่เป็นความผิดร้ายเเรงมาก  และจะเรียกคุยส่วนตัว  จากนั้นหลังประชุม ได้คุยกันเรื่องประเด็นสรุปคืออยากให้เราลาออกโดนจริงๆไม่มีความผิดอะไร  แต่ด้วยเขาเองอยากจะรับคนไหม่ ซึ่งเป็นคนของเขาเข้ามาทำงานแทน จึงใช้อำนาจในการบังคับ ให้เขียนใบลาออกและหว่านรอบทุกทาง  ซึ่งขณะคุยกัน ได้แอบบันทึกเสียง ซึ่งในนั้น มีพูดว่าหนูไม่ได้ผิดทำไมต้องเขียนใบลาออก และทางหัวหน้าเเจ้งมาว่าพี่อีกคนจะไห้ออก ไม่มีเหตุผลที่จะตอบได้  และก้บังคับ ว่าเราต้องเขียนนะ เอาไปไห้เขาดู เดะเขาจะ เกบไว้เเละเเจ้งว่าเราอยุ่ในการควบคุมเขา  ซึ่งจริงๆเราก้อยุ่ภายในบังคับบัญชาเขาอยู่แแล้ว  พอตอนเยน หลังเลิกงานก้ไลน์มาตามมใบลาออก รวมทั้งโทรมาและก้พิมมาเชิงว่าจะไม่ยุ่ง ไม่ช่วย ซึ่งเรามองว่าไม่ใช่เลย  ต่อไปเขาก้จะคงบีบ และกลั่นแกล้งเราเพิ่มมากขึ้น ตอนนี้เราต้องทำไงดีคะ อึดอัดใจมาก ในการทำงานร่วม แต่ถ้าเขาจะไห้ออกยอมชดเชยตามกฎหมายยังดีกว่าอีก เครียดมากคะ

มาตรา ๑๖ ห้ามมิให้นายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ตรวจงานกระทำการล่วงเกิน คุกคาม หรือก่อความเดือดร้อนรำคาญทางเพศต่อลูกจ้าง

จากข้อเท็จจริง คือบังคับให้เขียนใบลาออกว่างั้น

ตอบแบบ ให้สบายใจ เช้าทำงานเย็นกลับบ้านไม่ต้องไปสน ไม่อย่ากออกก็ไม่ต้องเขียน มันเป็นกลยุทธนายจ้างไม่อย่ากจ่ายค่าชดเชย หรือนอกจากเสียว่า มีปืนมาจอหัว มีนักเลงหัวไม้มายืนคุมถึงขนาดนั้น เขียนไปเลยเสร็จแล้วให้ไปร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจบรรยายเหตุการณ์ให้หมดขอบันทึกประจำวันมา และไปร้องเรียนกับพนักงานตรวจเเรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่ทีทำงานอยู่ (เขียน คล ๗) และบอกความเดือดร้อนของเรา

สู้ๆๆนะ



5
ขอตอบแทนทนาย ครับ ท่านคงงานเยอะ

เรื่องมีอยู่ว่า ช่วงที่โควิดระบาด ตัวเองโดนบริษัทเลิกจ้างค่ะ ตามกฎหมายบริษัทต้องจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้าง เเต่ด้วยความที่ตัวเราเห็นใจนายจ้างเนื่องจากนายจ้างอ้างว่าไม่มีเงินก้อนจ่าย บริษัทจึงยื่นขอเสนอขอผ่อนชำระ ซึ่งเรายอมตกลงทำสัญญาผ่อนชำระเป็นงวด ซึ่งในสัญญาให้ผ่อนชำระเป็นเวลา 7 งวดค่ะ ซึ่งเดือนธันวาจะเป็นเดือนสุดท้ายที่ที่นายจ้างต้องจ่ายให้ครบ(เอกสารที่ให้เซ็นไม่มีลายเซ็นนายจ้างแต่ทางเราได้ถ่ายรูปไว้แต่ในเอกสารได้ระบุว่าถ้าทางบริษัทผิดนัดชำระงวดใดงวดหนึ่งต้องจ่ายเงินที่เหลือทั้งหมด) เเต่ปัจจุบันทางบริษัททำหนังสือแจ้งเพื่อทราบขอผ่อนชำระต่ออีกยาวไปถึงสิ้น64 ซึ่งเป็นการผิดสัญญาที่เราตกลงกันไว้ โดยอ้างว่าสภาวะเศรษกิฐไม่

ตอบตามตัวบทกฎหมายเลยครับ
      มาตรา ๕๔  ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินผลประโยชน์อื่นเนื่องในการจ้าง บรรดาที่จ่ายเป็นเงินต้องจ่ายเงินตราไทย เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างให้จ่ายเป็นตั๋วเงินหรือเงินตราต่างประเทศ

มาตรา ๕๕  ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุดและเงินผลประโยชน์อื่นเนื่องในการจ้างให้แก่ลูกจ้าง ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง ถ้าจะจ่าย ณ สถานที่อื่นหรือด้วยวิธีอื่นต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

จากข้อเท็จจริง:ในสัญญาให้ผ่อนชำระเป็นเวลา ๗ งวดค่ะซึ่งเดือนธันวาคมเป็นเดือนสุดท้าย

อันนี้เข้าใจเราได้ผลกระทบแน่ ต้องกินต้องใช้ อดทนมา จนถึงเดือนธันวาคม ฉะนั้นถ้าเดือดร้อนจริง หนังสือฉบับใหม่ก็ไม่ต้องเซ็นแล้วแจ้งนายจ้างว่าเราเดือดร้อนจริง อย่าผ่อนชำระอีกเลย
ถ้ายืนยันจะผ่อน ก็ให้ไปร้องเรียนกับพนักงานตรวจเเรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่ทีทำงานอยู่ (เขียน คล ๗) และบอกความเดือดร้อนของเรา
แต่ก็ต้องทำใจนายจ้างอาจจะเพ็งเล็งน่อย แต่ก็ต้องสู้ครับเพื่อปากท้อง


6
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: ขอความช่วยเหลือคะ
« เมื่อ: ธันวาคม 19, 2020, 04:12:27 pm »

อ่านแล้วก็ต้องขอ ข้อเท็จจริงเพิ่ม เพื่อตอบให้เข้าใจในทุกประเด็น
ติดต่อหน่วยงานนี้ได้เลยครับ ไม่มีค่าใช้จ่ายๆใดๆครับ


คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เพื่อให้คำแนะนำ คำปรึกษา ช่วยเหลือ ติดตาม การละเมิดสิทธิแรงงานทางกฎหมาย
โทร 02-251-1317 อีเมลล์ tlsc2labour@gmail.com

7
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: กฏหมายแรงงาน
« เมื่อ: ธันวาคม 19, 2020, 03:58:43 pm »
ขอตอบแทน ทนาย ครับ

ข้อเท็จจริงจากการเล่ามาว่า
ตอนนี้สถานการณ์ของบริษัทกำลังแย่ ผลประการณ์ไม่สู้ดี มีแนวโน้มอาจจะปิดกิจการลง แต่นายจ้างมีความคิดจะหลีกเลี่ยงการจ่ายเงินชดเชยลูกจ้าง โดยใช้วิธีเรียกลูกจ้างทีละคนเพื่อไปพูดคุยให้ย้ายไปทำงานที่สาขาอื่น

ปัจจุบันบริษัท มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพ และสาขาที่ประจวบ และมีโรงงานที่เชียงใหม่(ไม่ได้เป็นสาขา แต่เราจ้างที่นั่นผลิต โดยลูกจ้างเราอยู่ในฐานะinspectorคอยตรวจสอบระบบ)

ตามที่ ข้อ 1,2,3ก็ตอบไปพร้อมกันเลย


ตอบว่า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้บัญญัติว่า "(วรรคหนึ่ง)นายจ้างซึ่งประสงค์จะย้ายสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งแห่งใดไปตั้ง ณ สถานที่ใหม่หรือย้ายไปยังสถานที่อื่นของนายจ้าง ให้นายจ้างปิดประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า โดยให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่ที่ลูกจ้างสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน ติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ และประกาศนั้นอย่างน้อยต้องมีข้อความชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ว่าลูกจ้างคนใดจะต้องถูกย้ายไปสถานที่ใดและเมื่อใด

(วรรค ๒) ในกรณีที่นายจ้างไม่ปิดประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างที่ไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(วรรค ๓) หากลูกจ้างคนใดเห็นว่าการย้ายสถานประกอบกิจการดังกล่าวมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัวของลูกจ้างคนนั้น และไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่ ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ปิดประกาศ หรือนับแต่วันที่ย้ายสถานประกอบกิจการในกรณีที่นายจ้างมิได้ปิดประกาศตามวรรคหนึ่ง และให้ถือว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงในวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา ๑๑๘..."

จะเห็นได้ว่า กฎหมายได้รับรองไว้ว่าหากการย้ายสถานประกอบการนั้น "มีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัวของลูกจ้าง" เช่น ไม่มีเวลาไปส่งลูกไปโรงเรียน เสียเวลาเดินทางมากกว่าเดิมมาก หรือใช้เวลาเดินทางจากเดิม ๓๐ นาทีถึงบริษัท เปลี่ยนเป็น ๒ ชั่วโมง อย่างนี้ถือว่ามีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตแล้ว ก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามอายุงานครับ
สู้ๆๆครับ

หน้า: [1]