24/11/24 - 08:50 am


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - mikami

หน้า: [1]
1
ขอขอบคุณทนายพรมาก ๆ ครับ
ได้รับคำตอบที่ชัดเจนและตามต้องการเรียบร้อยแล้วครับ และขอขอบคุณคำแนะนำอย่างตรงไปตรงมาด้วยครับ
สุดท้ายภรรยาได้รับการจ้างงานต่อครับสบายใจแล้วครับ ขอบคุณอีกครั้งนึงครับ  :)

2
สวัสดีครับผมรบกวนสอบถามกรณีนี้หน่อยครับ

ก่อนอื่นต้องขอบอกว่าภรรยาผมทำงานกับบริษัทหนึ่งมีอายุงานเกิน 3 ปีแต่ไม่เกิน 6 ปี และกำลังตั้งครรภ์อายุครรภ์ประมาณ 4 เดือนเศษ

ซึ่งต่อมาบริษัทนั้นได้ทำการซื้อกิจการของอีกบริษัทหนึ่งมาและมีแผนควบรวมกิจการทั้ง 2 เข้าด้วยกันพร้อมทั้งปรับโครงสร้างบริษัทใหม่ทั้งหมด
ในเดือนที่ผ่านมาจึงมีการให้พนักงานทุกคนในบริษัทยินยอมและยอมรับการควบรวมบริษัท เพื่อให้ย้ายสถานะการเป็นพนักงานไปเป็นลูกจ้างของบริษัทใหม่ที่จะเกิดขึ้น(จากการควบรวม) ซึ่งในส่วนนี้ภรรยาได้ยินยอมเรียบร้อยแล้วโดยเงื่อนไขว่าจะทำงานโดยได้สวัสดิการและเงินเดือนไม่น้อยกว่าเดิม

ขั้นตอนต่อไปคือบริษัทจะคัดเลือกปลดพนักงานออกบางส่วนโดยพิจารณาจากความสามารถในการทำงาน โดยพนักงานบางคนได้ทำงานตำแหน่งเดิม บางคนต้องเปลี่ยนตำแหน่งหรือที่ทำงานใหม่ และบางคนต้องถูกให้ออกจากงาน โดยบริษัทอ้างว่าผู้ที่ถูกให้ออกจากงานจะได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่ากฎหมายกำหนด

ผมอยากทราบว่า...

1. ถ้าหากภรรยาผมถูกขอให้ออกจากงานจะเป็นการขัดต่อกฎหมายพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงานมาตรา 43 หรือไม่ และทำได้ไหม เนื่องจากเหตุผลการให้ออกไม่ใช่เพราะตั้งครรภ์
2. ถ้าบริษัทยืนยันจะให้ภรรยาผมออกจากงาน ถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่
3. หากมีการเลิกจากงานขึ้นจริง ๆ ภรรยาผมจะสามารถเรียกร้องเงินตามนี้เป็นไปตามสมควรหรือไม่ (ต้องการทราบเอาไว้ก่อนว่าควรจะได้ขั้นต่ำเท่าไร เนื่องจากหากบริษัทเลิกจ้างจะมีการให้ลูกจ้างทำสัญญาการเลิกจ้างโดยยอมรับเงินชดเชยตามยอดที่บริษัทกำหนดเอาไว้ในทันที หากไม่เซ็นลูกจ้างจะไม่ได้รับเงินชดเชยใด ๆ ต้องไปฟ้องร้องกับกรมแรงงานเอาเอง)
- 3.1 ค่าชดเชยจากการให้ออกจากงาน อายุงานไม่เกิน 6 ปี = 6 เดือน
- 3.2 ค่าชดเชยจากการให้ออกจากงานโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน
- 3.3 ค่าเสียหายจากเงินเดือนระหว่างลาคลอดบุตร 1.5 เดือน
- 3.4 ค่าเสียหายจากการสูญเสียรายได้จากการตกงาน (1)ระหว่างตั้งครรภ์ที่เหลือ 5 เดือน (2)ระหว่างพักฟื้นจากการตั้งครรภ์ 3 เดือน (3)ระหว่างหางานใหม่ 3 เดือน (4)ระหว่างยังหางานใหม่ไม่ได้ 3 เดือน รวม14 เดือน
- 3.5 ค่าเสียหายจากโบนัสที่สัญญาเอาไว้กับลูกจ้างทุกคนว่าจะจ่ายให้ 2.5 เดือนในสิ้นปี 2563 นี้
- 3.6 ค่าเสียหายจากโบนัสของปีหน้าที่ควรจะได้ 3 เดือน (ดูจากค่าเฉลี่ยโบนัสที่เคยได้มาในอดีต) เนื่องจากหากไม่ถูกไล่ออก ภรรยาอย่างน้อยจะต้องอยู่กับบริษัทนี้นานจนถึงได้รับโบนัสเพราะดูจากระยะเวลา 5 เดือนที่ตั้งครรภ์ บวกกับ 3 เดือนที่มีสิทธิลาคลอด
- 3.7 ค่าเสียหายจากการสูญเสียเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่บริษัทจะต้องสมทบให้พนักงานสูงสุด 15% ต่อเดือน (ตามอายุงานภรรยาคือถ้าออกจากงานจะได้รับเงินสมทบเต็ม 100%) คำนวน 6.5 เดือนตามอายุเงินเดือนต่ำสุดที่ควรได้หากไม่ถูกให้ออกจากงาน เป็นเงินประมาณ 1 เดือน
- 3.8 ค่าเสียหายจากสวัสดิการอื่น ๆ เช่นประกันสุขภาพลูก, สวัสดิการค่าใช้จ่ายพิเศษที่จะได้รับระหว่างการเป็นหนักงาน
4. ค่าเสียหายจากการให้ออกจากงานโดยไม่เป็นธรรม สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากการทำให้เสียชื่อเสียงและทำลายขวัญกำลังใจลูกจ้างได้ด้วยหรือครับ เห็นบางกรณีก็มีพูดถึงค่าเสียหายส่วนนี้ ไม่แน่ใจว่าศาลจะพิจารณาเป็นมูลค่าเงินได้ด้วยหรอครับ
5. ถ้าบริษัทไม่ได้ให้ภรรยาผมออกจากงาน แต่มอบหมายให้ทำงานตำแหน่งอื่น หรือปรับขึ้นตำแหน่งโดยภรรยาผมไม่ได้รับการปรับค่าจ้างขึ้นหรือปรับขึ้นไม่สมเหตุสมผล และบังคับให้ทำการเซ็นสัญญาเปลี่ยนตำแหน่งงาน และ/หรือ เงินเดือนในทันที ภรรยาผมสามารถเลือกที่จะปฏิเสธการเซ็นสัญญานั้นได้ใช่ไหมครับ ผมแนะนำให้ภรรยาผมไม่ต้องเซ็นย้ายตำแหน่ง แต่ให้ยอมเข้าไปทำงานในตำแหน่งใหม่ไปก่อนด้วยความจำยอมเพื่อไม่ให้ขาดงานหรือละเว้นการทำงาน แล้วค่อยไปฟ้องกรมแรงงานเรื่องการบังคับเปลี่ยนงานโดยไม่ชอบธรรม ไม่ทราบว่าการแนะนำแบบนี้ถูกต้องหรือไม่อย่างไรครับ

ขอบคุณครับ

หน้า: [1]