1
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: ขอสอบถามการได้รับเงินชดเชยเมื่อทำงานจนถึงอายุ60ปี
« เมื่อ: ธันวาคม 05, 2021, 12:40:15 pm »
การเกษียณอายุ
ในกรณีที่มิได้มีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุไว้ หรือตกลงให้เกษียณอายุไว้เกินกว่า 60 ปี ให้ลูกจ้างที่มีอายุครบ 60 ปีขึ้นไป มีสิทธิแสดงเจตนาเกษียณอายุได้ โดยแสดงเจตนาต่อนายจ้าง และให้มีผลเมื่อครบ 30 วัน นับแต่วันแสดงเจตนา และให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างที่เกษียณอายุนั้น ตาม ม. 118 วรรคหนึ่ง ( พรบ.คุ้มครองแรงานฯ ม.118/1 วรรคสอง)....ในทางปฏิบัติการแสดงเจตนาเกษียณอายุ ควรทำเป็นหนังสือ 2 ฉบับ เนื้อความเดียวกัน ส่งให้นายจ้าง หรือผู้มีอำนาจ รับไว้ และผู้รับลงลายมือชื่อกำกับ ทั้งสองฉบับ ลูกจ้างก็เก็บหลักฐานคู่ฉบับไว้ เพื่อป้องกันการโต้แย้งว่า ไม่ได้มีการแสดงเจตนาฯ เกษียณอายุ...
ตามข้อเท็จจริงที่บอก เรื่องเพื่อนร่วมงาน เมื่อไปแสดงเจตนาลาออก น่าจะไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชย ดังนั้นก็อย่าเผอเรอ ไปเขียนใบลาออกเสียเอง จะหมดสิทธิ รับเงินชดเชย ต้องแสดงเจตนาขอเกษียณอายุเท่านั้น...
คุณทำงานเมื่อ ปี 2535 อายุงาน คง 29 ปี จึงต้องได้เงินชดเชย 400 วัน...การจ่ายเงินชดเชย เป็นหน้ที่ตามกฎหมายที่นายจ้างต้องจ่าย และลูกจ้างมีสิทธิได้รับ แม้ผลประกอบการขาดทุน นายจ้างต้องจ่ายเสมอ...มีปัญหา ฟ้องศาลแรง...ไม่มีค่าใช้จ่าย...
ในกรณีที่มิได้มีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุไว้ หรือตกลงให้เกษียณอายุไว้เกินกว่า 60 ปี ให้ลูกจ้างที่มีอายุครบ 60 ปีขึ้นไป มีสิทธิแสดงเจตนาเกษียณอายุได้ โดยแสดงเจตนาต่อนายจ้าง และให้มีผลเมื่อครบ 30 วัน นับแต่วันแสดงเจตนา และให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างที่เกษียณอายุนั้น ตาม ม. 118 วรรคหนึ่ง ( พรบ.คุ้มครองแรงานฯ ม.118/1 วรรคสอง)....ในทางปฏิบัติการแสดงเจตนาเกษียณอายุ ควรทำเป็นหนังสือ 2 ฉบับ เนื้อความเดียวกัน ส่งให้นายจ้าง หรือผู้มีอำนาจ รับไว้ และผู้รับลงลายมือชื่อกำกับ ทั้งสองฉบับ ลูกจ้างก็เก็บหลักฐานคู่ฉบับไว้ เพื่อป้องกันการโต้แย้งว่า ไม่ได้มีการแสดงเจตนาฯ เกษียณอายุ...
ตามข้อเท็จจริงที่บอก เรื่องเพื่อนร่วมงาน เมื่อไปแสดงเจตนาลาออก น่าจะไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชย ดังนั้นก็อย่าเผอเรอ ไปเขียนใบลาออกเสียเอง จะหมดสิทธิ รับเงินชดเชย ต้องแสดงเจตนาขอเกษียณอายุเท่านั้น...
คุณทำงานเมื่อ ปี 2535 อายุงาน คง 29 ปี จึงต้องได้เงินชดเชย 400 วัน...การจ่ายเงินชดเชย เป็นหน้ที่ตามกฎหมายที่นายจ้างต้องจ่าย และลูกจ้างมีสิทธิได้รับ แม้ผลประกอบการขาดทุน นายจ้างต้องจ่ายเสมอ...มีปัญหา ฟ้องศาลแรง...ไม่มีค่าใช้จ่าย...