24/11/24 - 01:38 am


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - naive

หน้า: [1]
2
1. ถ้าการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยขณะลูกหนี้ผิดนัด (แต่พ้นวิสัยเพราะความผิดบุคคลภายนอก) เมื่อลูกหนี้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ไปแล้วตามมาตรา 217 ลูกหนี้จะรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ในการเรียกค่าสินไหมทดแทนคืนจากผู้ทำละเมิดตามม.227 ได้หรือเปล่าคะ
(อ่านในหนังสือ เจอแต่ตัวอย่างกรณีสัญญาประกันภัย)

2. แล้วถ้าเจ้าหนี้ได้รับค่าสินไหมจากลูกหนี้(บนฐานเรื่องการผิดนัด)แล้ว เจ้าหนี้จะไปเรียกร้องค่าสินไหมจากผู้ทำละเมิดอีกในฐานะที่ตนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิได้ไหมคะ แล้วจะเรียกได้เท่าไหร่(เต็มจำนวนไหมคะ)
(จะเหมือนกรณีที่ผู้เสียหายได้รับเงินจากบริษัทประกัน หรือเงินสวัสดิการอื่นๆ แล้วยังมีสิทธิเรียกค่าสินไหมจากผู้ทำละเมิดหรือเปล่าคะ)

เช่น ก. ซื้อรถยนต์จาก ข. กำหนดส่งมอบพรุ่งนี้ ปรากฎว่า ข. ไม่ยอมส่งมอบรถยนต์ตามเวลาที่ตกลงกัน (ข. ผิดนัด) ขณะผิดนัด นาย ค.บุคคลภายนอก ขับรถมาชนรถยนต์ของนาย ก. เสียหาย เช่นนี้ ใครจะเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนคะ(ก. เจ้าของรถยนต์ หรือ ข)


3. กรณีม.228 หากทรัพย์เพียงบุบสลาย (มิได้ถึงขนาดทำให้การชำระหนี้พ้นวิสัย) แต่ผู้ทำละเมิดได้ให้ของแทนแก่ลูกหนี้ เจ้าหนี้จะเรียกให้ส่งมอบของนั้นได้ไหม / หรือเจ้าหนี้จะเรียกค่าสินไหมจากผู้ทำละเมิดตามมาตรานี้ได้ไหมคะ

ขอถามเรื่องอื่นด้วยนะคะ
4. กรณีที่มีเจ้าหนี้สามัญหลายคนเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ แต่ลูกหนี้มีทรัพย์สินไม่พอ จะต้องเฉลี่ยทรัพย์สินของลูกหนี้ให้เจ้าหนี้ทุกคนเท่าๆกัน หรือเฉลี่ยให้ตามสัดส่วนที่ลูกหนี้เป็นหนี้อยู่คะ

ขอบคุณล่วงหน้าค่าา  :)

3
ถ้าการฟ้องบังคับให้ชำระหนี้ตามสัญญาขาดอายุความแล้ว และอีกฝ่ายยกอายุความขึ้นกล่าวอ้าง เราจะกำหนดเวลาพอสมควรให้อีกฝ่ายชำระหนี้ เพื่อบอกเลิกสัญญาหากอีกฝ่ายยังคงไม่ชำระหนี้ตาม ม.387 ได้ไหม

แล้วถ้าอีกฝ่ายไม่คืนเงิน จะฟ้องบังคับให้กลับสู่ฐานเดิมได้ไหมคะ
และการฟ้องเรียกทรัพย์คืนนี้มีอายุความไหม

เช่น ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน กำหนดโอนวันพรุ่งนี้ แต่ผู้ขายผิดสัญญาไม่มาจดทะเบียน และยังมิได้ส่งมอบการครอบครองที่ดิน ผ่านไป 12 ปี (ขาดอายุความแล้ว) ผู้จะซื้อไปฟ้องศาล ผู้จะขายยกอายุความขึ้นกล่าวอ้าง ศาลยกฟ้อง ทีนี้หลังจากศาลยกฟ้องแล้วเราจะบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 387 ได้หรือเปล่าคะ แล้วถ้าเราไปฟ้องอีกครั้งเพื่อเรียกเงินคืน จะถือว่าขาดอายุความไปแล้ว ทำให้ศาลจะยกฟ้องอีกไหม


หน้า: [1]