1
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: ทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต
« เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2015, 05:08:57 pm »
ขอบคุณมากค่ะสำหรับข้อมูล
มาดูจากข้อมูลที่อันทนายให้มา พบว่าบนหน้าหนังสือเดินทางที่มีสแตมป์มีเขียนว่า รอลงอาญา 2 ปี เป็นบุคคลต้องห้าม มาตรา 12(3) พรบเข้าเมือง 2522 อันนี้พอจะบอกอะไรได้ไหมคะ
ยังไงจะลองโทรไปสอบถามดูค่ะ ขอบคุณมากค่ะ!
มาดูจากข้อมูลที่อันทนายให้มา พบว่าบนหน้าหนังสือเดินทางที่มีสแตมป์มีเขียนว่า รอลงอาญา 2 ปี เป็นบุคคลต้องห้าม มาตรา 12(3) พรบเข้าเมือง 2522 อันนี้พอจะบอกอะไรได้ไหมคะ
ยังไงจะลองโทรไปสอบถามดูค่ะ ขอบคุณมากค่ะ!
ต้องขออภัยด้วยที่เข้าใจไม่ถูกต้องในกรณีดังกล่าวนี้ สำหรับกรณีของชาวต่างประเทศที่เคยเดินทางเข้ามาประเทศไทยโดยใช้ passport ไม่ถูกต้อง และถูกจับเนื่องจากการทำงานนั้น
เมื่อมาพิจารณาที่คุณสมบัติโดยทั่วไปของผู้ที่จะยื่นขอวีซ่าเข้าไทยได้มีดังนี้
(1) ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางที่ถูกต้องสมบูรณ์ และมีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน
(2) มีหลักฐานแสดงว่าจะเดินทางออกจากประเทศไทยหลังจากสิ้นสุดการพำนักในไทย เช่น ตั๋วเครื่องบิน และมีวีซ่าหรือหลักฐานว่าสามารถเดินทางกลับประเทศที่มีถิ่นพำนัก หรือเดินทางต่อไปยังประเทศอื่นได้ (ในกรณีขอเดินทางผ่าน)
(3) ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามเข้าราชอาณาจักร ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เช่น เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาของศาลไทยหรือคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุขหรือความปลอดภัยของประชาชน หรือเป็นบุคคลซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐบาลต่างประเทศได้ออกหมายจับ มีเงินค่าใช้จ่ายเพียงพอในขณะพำนักในไทยตามระเบียบกำหนดคืออย่างน้อยคนละ 20,000 บาท เป็นต้น
ดังนั้นเมื่อมาพิจารณาในกรณีนี้จึงพบว่า สามารถยื่นขอวีซ่าเข้าประเทศไทยได้อยู่ ทั้งนี้ยกเว้นใน 49 ประเทศที่ไม่ต้องขอวีซ่าเพื่อการท่องเที่ยว และสามารถพำนักอยู่ในไทยได้ไม่เกิน 30 วัน
อย่างไรก็ตามในกรณีไม่ต้องขอวีซ่านี้ ก็ยังจะพบปัญหาในทางปฏิบัติสำหรับการห้ามคนต่างด้าวเข้าประเทศ 2 ประการ อยู่ดี คือ การห้ามเข้าโดยอาศัยข้อกฎหมาย และการห้ามเข้าโดยการใช้ดุลพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง
1. การห้ามเข้าโดยกฎหมาย คือ การห้ามเข้าโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 12 ตามที่กล่าวแล้วข้างต้น
ในกรณีนี้ถ้าหากคนต่างด้าวผู้นั้นไม่พอใจคำสั่งก็อาจอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ ทั้งนี้ต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 48 ชั่วโมงนับแต่ได้รับทราบคำสั่ง โดยยื่นแบบ ตม.11 และต้องเสียค่าธรรมเนียม 1,900 บาท แล้วในเวลาต่อมาถ้ารัฐมนตรีไม่สั่งการภายใน 7 วัน กฎหมายให้ถือว่าไม่เป็นคนต้องห้ามเข้าประเทศ แต่ว่าระหว่างที่รอฟังคำสั่งอยู่นี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองอาจจะให้ไปอยู่ในที่ที่เห็นสมควร หรือจะให้ประกันตัว หรือจะกักตัวไว้เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้
สำหรับข้อจำกัดที่ห้ามอุทธรณ์ก็คือ ถ้าไม่มีหนังสือเดินทาง หรือไม่มีวีซ่าและก็เป็นสัญชาติที่ไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีวีซ่าด้วย กับผู้ที่รัฐมนตรีมีคำสั่งห้ามเข้าไว้แล้วจะไม่มีสิทธิอุทธรณ์
2. การห้ามเข้าโดยดุลพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งจะดูรายชื่อจากบัญชีเฝ้าดู (Watch List) ที่มีข้อมูลอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
ดังนั้นเสนอแนะให้ทางเจ้าตัวหรือผู้เกี่ยวข้องกับเจ้าตัว เช่น ครอบครัว สอบถามกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ โทร. 02-141-9889 จะได้ข้อมูลที่ชัดเจนมากกว่า เพราะจะสามารถระบุชื่อเจ้าตัวและเช็คกับฐานข้อมูลได้โดยตรง