08/06/23 - 01:57 am


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ทนายพร

หน้า: [1] 2 3 ... 50
1
ถามมาเกี่ยวกับยาเค และยาเสียสาว

เอาเป็นว่า ทนายตอบตามที่ถามเลยนะครับ

ถามมาว่า...
อยากสอบทนาย (คงหมายถึงสอบถามทนาย ;))
1.น้องจะมีโทษเยอะไหมครับ
ตอบ โทษเกี่ยวกับยาเค นี้ หากถูกฟ้องข้อหาเสพ มีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี และมีโทษปรับด้วย
หากเป็นกรณีครอบครอง ต้องระวางโทษจำคุก ๑-๕ ปี และมีโทษปรับด้วยเช่นกัน
แต่ถ้าเป็นผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๕-๒๐ ปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนถึงสองล้านบาท

2.มีสิทธิ์รอลงอาญาไหม
ตอบ ปริมาณไม่เยอะ หากรับสารภาพ สำนึกผิด กระทำครั้งแรก และอยู่ในวัยเรียน ศาลมักให้โอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดี ครับ

3.น้องชายพร้อมญาติ ได้นำหลักฐานในการสั่งซื้อในแชท (ในช่วงเวลาก่อนโดนจับ) และสลีปการโอนเงิน
 ไปให้สำนวนเพิ่ม ตรงนี้ประโยชน์ในชั้นศาลไหมครับ
ตอบ - มีประโยชน์มากทีเดียวครับ หรือที่นักกฎหมายเรียกว่า ขอ ๑๐๐/๒ นั่นแหละ ถือเป็นเหตุในการลดอัตราโทษครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

2
กระทู้ซ้ำ ตอบไปแล้วครับ
ทนายพร.

3
ศาลตัดสินและคดีสิ้นสุดแล้ว เหลือเพียงสภาพบังคับเท่านั้น

ดังนั้น ให้เขียนคำแถลงขอชำระเงินในส่วนที่เหลือแล้วนำไปยื่นต่อศาล โดยในคำแถลงนั้น ขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกอายัดบัญชีของเราไปด้วย เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นครับ ซึ่งขบวนการขั้นตอนนี้ใช้เวลาไม่นานครับ และศาลจะมีหนังสือส่งไปยังธนาคารเพื่อปลดการอายัดบัญชีเราต่อไป

ทนายพร.

4
ถามมาเป็นข้อๆ ทนายก็ตอบเป็นข้อๆเหมือนกัน ;D

ถามมาว่า
1.ดิฉันทำตำแหน่ง HR PAYROLL ทำเงินเดือนพนักงาน หากลาออกทันทีจะไม่มีคนทำเงินเดือน  นายจ้างสามารถอ้างข้อนี้เพื่อเรียกค่าเสียหายได้ไหมคะ
ตอบ - อ้างได้ครับ หากถึงเวลาทำเงินเดือนแล้วไม่มีคนทำแทน หากนายจ้างต้องไปหาบุคคลอื่นมาทำแทนเรา ค่าเสียหายในส่วนนี้นายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายกับเราได้ครับ
2.มูลค่าความเสียหาย หากทำเงินเดือนไม่ทัน ออกไม่ตามกำหนด นายจ้างจะเรียกเท่าจำนวนเงินเดือนพนักงานบริษัทได้ไหมคะ (ประมาณหลักล้าน)
ตอบ - อันนี้คงเรียกค่าเสียหายตามจำนวนเงินเดือนไม่ได้ครับ แต่จะเรียกค่าเสียหายตามข้อ ๑ ได้เท่านั้น

3.หากต้องชดใช้จริง กรณีเงินจำนวนมากลูกจ้างสามารถผ่อนชำระได้ไหมคะ
ตอบ - การประนีประนอมยอมความเป็นหนทางที่สร้างความสงบสุขได้ดี แม้แต่การทำสงครามก็ยุติด้วยการเจรจาทั้งนั้น ดังนั้น หากถูกฟ้องและต้องจ่ายค่าเสียหายก็สามารถไกล่เกลี่ยขอผ่อนชำระได้ครับ(ค่าเสียหายจะเป็นดุลพินิจของศาลในการกำหนดจำนวนเงินของค่าเสียหายจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบ หรือหากโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเสียหายอย่างไร เสียหายเท่าใด เกี่ยวข้องกับลูกจ้างอย่างไร ศาลก็ไม่ให้นะครับ)

รบกวนหน่อยนะคะ ร้อนใจมากๆค่ะ จะให้ไปทำงานต่อก็ไม่ไหวเครียดมากๆ พอจะไปเริ่มงานใหม่ก็กลัวโดนฟ้อง

ไม่แน่ใจว่าจะตอบทันพอคลายความเครียดทันมั๊ย...

แต่ก็ให้กำลังใจนะครับ

ทนายพร.

5
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: โทษปรับ
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2023, 10:26:22 pm »
ทนายขยี้ตาอ่านหลายรอบว่ากำลังจะคิดว่าผู้ถามต้องการคำตอบอย่างไร..

เอางี้ ต้องแยกก่อนระหว่าง "เงินประกันตัว" กับ "ค่าปรับ" ซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกัน

ถึงแม้ว่าจะเอาเงินประกันตัวมาจ่ายเป็นค่าปรับก็ตาม....

การประกันตัว คือการเอาตัวเองออกมาจากห้องขังในระหว่างการต่อสู้คดี หรือในระหว่างที่ศาลยังไม่ตัดสิน

ส่วนค่าปรับ คือมาตรการการลงโทษประเภทหนึ่ง ซึ่งในทางอาญา กำหนดโทษไว้ ๕ สถาน คือ ๑. ประหารชีวิต ๒. จำคุก ๓. กักขัง ๔.ปรับ และ ๕ ริบทรัพย์สิน

ซึ่งโทษที่ศาลลงนั้น คือโทษจำคุกและมีโทษปรับด้วย

แต่หากไม่อยากเสียค่าปรับ ก็ต้องจำคุกแทนค่าปรับ ซึ่งกำหนดอัตราไว้วันละ ๕๐๐ บาทต่อวัน ก็ไปคำนวณเอา

แต่ว่า คุณได้จ่ายเงินไปแล้ว หากอยากจะได้คืนก็ต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลคืนค่าปรับและขอจำคุกแทนค่าปรับแทน ส่วนศาลจะพิจารณาอย่างไรก็เป็นดุลพินิจของศาลนะครับ...แต่ทนายคิดว่าศาลคงไม่ให้หรอก

และทนายก็พึงจะเคยเจอว่าอยากจะเข้าไปอยู่ในคุกแทนที่จะอยู่แบบอิสระ...แต่ก็เข้าใจครับว่า เงินตั้ง ๒ หมื่น สำหรับคนที่ไม่มีแล้วก็ถือว่ามากมายมหาศาลทีเดียว หากเอา ๒ หมื่น หารด้วย ๕๐๐ ก็จะต้องจำคุกรวม ๔๐ วัน แต่ถ้าอยู่ข้างนอกไม่แน่ว่า ๔๐ วันนี้จะหาเงินได้ถึง ๒ หมื่นหรือไม่ ก็น่าคิดครับ...นานาจิตตัง

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.

6
หากที่เล่ามาเป็นเรื่องจริงก็น่าเห็นใจครับ
เอาเป็นว่าทนายจะตอบข้อสงสัยนะครับ

ถามมาว่า ครบกำหนดตามที่ปรากฎในใบสีชมภู หรือใบรายงานตัวแล้ว ต้องทำงัยต่อ...
โดยปกติแล้ว เมื่อมีการกระทำที่กฎหมายถือว่าเป็นความผิดอาญา ตำรวจหรือเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองก็มีหน้าที่จับตัวผู้กระทำผิดส่งให้แก่พนักงานสอบสวนเพื่อสอบสวนทำสำนวนส่งให้อัยการเพื่อยื่นฟ้อง ปัญหาว่า ระยะเวลาที่จะยื่นฟ้องนั้นจะเพียงพอต่อการแสวงหาพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนหรือไม่ กฎหมายจึงให้อำนาจพนักงานสอบสวนในการ "ฝัดฟ้องหรือฝากขัง" ได้ โดยในระหว่างนี้หากประกันตัวก็จะได้รับการปล่อยตัว หากไม่ได้ประกันตัวก็จะต้องถูกขังในระหว่างทำสำนวนส่งอัยการเพื่อยื่นฟ้องครับ

ถามต่อไปว่า ตำรวจจะฝัดฟ้องได้กี่ครั้ง ครั้งละกี่วัน?
ซึ่งถ้าเป็นคดีศาลแขวง พนักงานสอบสวนจะต้องยื่นฟ้องภายใน ๔๘ ชั่วโมง หากฟ้องไม่ทันจะต้องฝากขังฝัดฟ้องได้ไม่เกิน ๕ ครั้งๆละไม่เกิน ๖ วัน
หากเป็นศาลจังหวัด จะพิจารณาโทษจากการกระทำความผิดเป็นหลัก หากความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกสูงไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขังได้เพียงครั้งเดียว ไม่เกิน ๗ วัน
กรณีที่ความผิดอาญาอัตราโทษจำคุก สูงเกินกว่า ๖ เดือน ไม่ถึง ๑๐ ปี หรือปรับเกิน ๕๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขังหลายครั้งติดกัน แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกิน ๑๒ วัน และรวมกันไม่เกิน ๔๘ วัน
กรณีความผิดอาญาอัตราโทษสูงตั้งแต่ ๑๐ ปี  ขึ้นไปจะมีโทษปรับหรือไม่ ศาลมีอำนาจสั่งขัง หลายครั้งติดกัน ครั้งละไม่เกิน ๑๒ วัน แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน  ๘๔ วัน

หากครบกำหนดแล้วพนักงานอัยการยังไม่ฟ้องจะทำงัย...หลุดคดีเลยมั๊ย?....ยังก่อน ทำผิดก็ต้องรับโทษครับ

กฎหมายบอกว่า หากครบกำหนดฝากขังฝัดฟ้องแล้วยังไม่นำตัวผู้ต้องหามาฟ้องต่อศาล อำนาจในการควบคุมตัวของพนักงานสอบสวนก็จะหมดไป ศาลก็จะต้องปล่อยตัวเรา เมื่อทำสำนวนเสร็จ อัยการก็จะนัดหมายเราไปศาลและยื่นฟ้องต่อศาลดำเนินการขั้นตอนต่อไปครับ

ดังนั้น ในกรณีนี้ ให้สอบถาม ที่งานประชาสัมพันธ์ ตรงที่เราไปรายงานตัวนั่นแหละว่า เราจะต้องมารายงานตัวต่อหรือไม่ หรือเพียงแค่ ๓ ครั้ง (แต่ทนายดูแล้วไม่มีเงื่อนไขใหนเข้า ๓ ครั้งเลยนะ) โดยเอาใบสีชมพูไปสอบถามก็จะได้สบายใจนะครับ

ส่วนคดีความนั้น คงต้องหาทนายมาช่วยเหลือแล้วล่ะครับ

ทั้งนี้ สภาทนายความมีทนายอาสาอยู่ประจำทุกศาลเพื่อช่วยเหลือประชาชนในคดีอาญา

หรือถ้ามีเงินพอที่จะจ้างทนายความได้ก็ให้รีบเลยครับ จะได้มีเวลาประชุมวางแผนในการต่อสู้คดีต่อไปครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.

7
บางคำถามก็เป็นคำตอบอยู่ในตัวแล้ว อย่างไรก็ตาม ถามมาก็ตอบไปตามสไตล์ทนายพรล่ะครับ

ถามมาว่า...

1.ถ้าจ้างออกสิ่งที่เราควรจะได้รับมีอะไรบ้างคะ
ตอบ ค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ โดยคำนวณตามอายุงานครับ

2.ในกรณีนี้ค่าตกใจ ควรได้กี่เดือนคะ ( อ่านมาว่าถ้าปรับโครงสร้างบริษัท ต้องได้ค่าตกใจ 2 เดือน จริงหรือไม่คะ )
ตอบ ค่าตกใจ หรือเรียกในทางกฎหมายว่า ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามาตรา ๑๗ โดยต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือก่อนจะถึงกำหนดการจ่ายค่าจ้างเพื่อให้มีผลการเลิกจ้างในคราวถัดไป ดังนั้น จะตอบว่าได้กี่เดือน จะต้องดูก่อนว่าได้บอกกล่าวเลิกจ้างเราเมื่อใด? จ่ายค่าจ้างเป็นเดือนหรือเป็นวิค หรือจ่ายเป็นรายวัน เพื่อพิจารณาว่านายจ้างได้บอกและจ่ายค่าตกใจได้ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ส่วนที่วงเล็บมาว่าค่าตกใจกรณีปรับโครงสร้างได้ ๒ เดือนนั้น ไม่จริงนะครับ)

3.ถ้าบริษัทให้ออกวันที่ 4 มกราคม เงินเดือนในเดือน มกรา เราต้องได้เต็มจำนวนหรือไม่คะ
ตอบ แหมๆๆๆ....จะเอาเต็มเดือนเลยรึ (หยอกๆ) ค่าจ้างตามกฎหมายแล้วจะจ่ายให้เฉพาะวันที่มาทำงาน ดังนั้น เมื่อออกวันที่ ๔ ก็จะได้แค่วันที่ ๔ นะครับ

4.ค่าชดเชยที่ได้ 3 เดือนใช่มั๊ยคะ
ตอบ ไม่ถูกครับ ที่ถูกคือ ๙๐ วันครับ ...อ้าวทนาย..มันต่างกันตรงใหน? ก็ตอบว่า ต่างกันตรงวันกับเดือนนี่แหละครับ เมื่อกฎหมายกำหนดเป็นวันก็ต้องเปลี่ยนค่าจ้างรายเดือนมาเป็นรายวันก่อน โดยใช้ ๓๐ มาหารก็จะได้ค่าจ้างรายวันแล้วก็คูณด้วย ๙๐ จะเห็นว่า จำนวนเงินไม่เท่ากันนะครับ คำนวณ ๙๐ วันจะน้อยกว่าเป็นจุดทศนิยม สรุปคือ คิดง่ายๆก็ ๓ เดือนนั่นแหละ ง่ายดี ;D

5.ถ้าบริษัทจ้างออกจะเสียประวัติจริงหรือไม่คะ
ตอบ เสียประวัติอะไร? คุณทำอะไรผิดหรือ? ถ้าไม่ได้ทำผิดอย่าได้กลัวไปครับ เป็นคำขู่ของนายจ้างที่เป็นลูกไม้ทั่วๆไป หากไม่ได้ทำผิดก็ให้บริษัทเลิกจ้างไปเลยครับ เว้นแต่มีความผิดก็ว่ากันไปอย่างนะครับ และแน่นอนว่าหากถูกเลิกจ้างด้วยเหตุปรับโครงสร้างองค์กร หากเหตุผลยังไม่ชัดเจนว่าเหตุใดจึงต้องปรับโครงสร้าง กิจการไม่ได้ขาดทุนและเป็นการเลือกปฎิบัติ อาจเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พรบ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ มีสิทธิ์เรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้อีก และมีสิทธิได้รับเงินว่างงานร้อยละ ๕๐ จากประกันสังคมอีกด้วยครับ

6.หลักฐานพวกคลิปอัดเสียงที่คุยกับ HR หรือการต่อรองเจรจาที่เค้าบังคับให้เราเขียนใบลาออกเอง สามารถนำไปใช้ในชั้นศาลได้หรือไม่คะ ( เพราะไม่บริษัทไม่ส่ง E-mail หรือ ทำหลักฐานไว้ค่ะ เป็นการแจ้งปากเปล่า เลยต้องอัดคลิปเสียงไว้เพื่อป้องกันตัวเอง )
ตอบ เก็บเอาไว้ก่อนครับ เดี๋ยวถึงชั้นศาลค่อยว่ากันครับ

7.ถ้ามีประวัติการทำงานในวันหยุดหรือลาพักร้อน สามารถฟ้องเรียกค่าแรงย้อนหลังได้หรือไม่คะ
ตอบ ทั้งได้และไม่ได้ครับ  ที่บอกว่าได้ คือกรณีที่บริษัทมีคำสั่งให้เราไปทำงานในวันหยุด กรณีนี้ได้แน่นอนครับ  ส่วนกรณีไม่ได้ คือกรณีที่บริษัทไม่ได้สั่งให้เราไปทำ แต่เราขยันไปทำเอง กรณีเช่นนี้จะไม่ได้นะครับ

คงครบถ้วนนะครับ

ทนายพร
[/color][/size][/size]

8
ครับ

ถามมาได้เลยครับ

ทนายพร.

9
อัยยะ
ถามมาสั้นเกิ๊น...

ทนายก็ตอบว่า....ครับ...คำประกันสหกรณ์ฯ...จบ ;D ;)

ถามมาใหม่ครับ เอาให้ได้ใจความ อธิบายมาด้วยว่าจะถามเรื่องอะไร อยากจะรู้เรื่องอะไร ทนายจะได้ตอบได้อ่ะครับ

ทนายพร.


10
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: คดีครอบครองยาบ้า20
« เมื่อ: มกราคม 12, 2023, 11:49:08 am »
ก่อนหน้านี้ ศาลได้วางหลักไว้ว่า หากครอบครองเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้ว ถือว่ามีความผิดฐานมีไว้ในครอบครองและครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยห้ามพิสูจน์

แต่ปัจจุบันศาลได้วางหลักใหม่โดยสามารถให้จำเลยสามารถพิสูจน์ได้ว่ามิได้มีไว้เพื่อจำหน่าย แต่มีไว้เพื่อเสพ และศาลก็จะใช้ดุลพินิจในการพิจารณากำหนดโทษ

ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะแถลงศาลจากคำให้การจำเลยประกอบการรับสารภาพว่า เนื่องจากตำรวจกวดขันจับกุมอย่างเข้มข้น เป็นการยากที่จะไปซื้อหามาเสพ จึงได้ซื้อเป็นปริมาณมากเพื่อจะได้ไม่ไปซื้อบ่อยครั้ง เช่นนี้ ศาลก็จะใช้ดุลพินิจว่าครอบครองเพื่อเสพก็เป็นได้ครับ

แอะๆๆ...ไม่ได้ชี้ช้องให้ทำความผิดนะครับ เอาประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟัง ;)

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

11
เป็นคำถามที่ดีและน่าสนใจมากครับ

บางคนอ่านแล้วก็อยากรู้คำตอบว่าทนายจะตอบว่าอย่างไร

ก่อนอื่น ต้องไปดูนิยามของ "การพนัน" หมายความว่าอย่างไร? หมายถึงอะไร?

เปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ บัญญัติว่า “ การพนัน หมายถึง การเล่นเอาเงิน หรือสิ่งอื่นโดยอาศัยความฉลาด ความชำนาญ เล่ห์เหลี่ยม ไหวพริบและฝีมือรวมทั้งโชคด้วย ”....ยังไม่สาแก่ใจ เปิด พรบ.การพนัน พ.ศ.๒๔๗๕ ได้นิยามว่า..

“การเล่น” ให้หมายความรวมตลอดถึงการทายและการทำนายด้วย ”  อย่างไรก็ตาม ใน พรบ.การพนันไม่ได้มีการกำหนดนิยามที่ชัดเจนจึงต้องยึดถือนิยามตามพจนานุกรมฯ  แต่ก็สามารถอธิบายจากบทมาตราต่างๆได้ว่า

การพนัน หมายถึง การเล่นเอาเงินที่มีลักษณะได้หรือเสียเงินหรือทรัพย์สินกันในตัว

ดังนั้น โดยสรุป หากไม่มีการได้เสีย โดยจะเป็นเงินหรือประโยชน์อื่นใดก็ไม่เข้าข่ายเล่นการพนันล่ะครับ แต่ถ้ามีการได้เสีย มีผลประโยชน์ เช่นนี้ ไม่รอดครับ ให้พิจารณาจากพฤติกรรมหรือผลของการเล่นล่ะครับ

ส่วนที่ถามว่ามีไพ่สำหรับเล่นเกมส์ด้วยนั้น ทนายก็ยังนึกไม่ออกว่าเป็นเกมส์อะไร แล้วทำไมจะต้องเป็นไพ่ด้วย ปรับเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้หรือไม่

แหมๆ อย่าถึงขนาดต้องบันทึกภาพเลยครับ  เเเอบๆเล่น อย่าส่งเสียงดัง ก็น่าจะดีกว่านะครับ...หยอกๆ

ทนายพร.

12
กฎหมายอาญาได้วางหลักไว้ว่าจะกำหนดเพิ่มโทษหนึ่งในสามแก่จำเลยที่กระทำผิดซ้ำภายใน ๕ ปี นับแต่วันพ้นโทษ

จากคำถาม หากนับเวลาแล้ว เกินกว่า ๕ ปีแล้ว ถือว่าพ้นหลักดังกล่าวแล้ว

ส่วนที่ถามว่าจะติดกี่ปี หรือจะโดนส่งไปบำบัดนั้น อยู่ที่วิธีการต่อสู้คดีครับ หากทำจริงและรับสารภาพ ก็จะได้รับการลดหย่อนโทษหรืออาจจะถูกส่งไปบำบัด อย่างไรก็ตามเป็นดุลพินิจของศาลที่จะลงโทษตามพฤติการณ์แห่งคดีนะครับ ทั้งนี้ หากเป็นเพียงผู้เสพโทษก็น้อยหน่อย แต่ถ้าเป็นผู้ค้าหรือมีไว้เพื่อการค้า ศาลมักจะไม่ปราณีนะครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

13
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: ค้ำประกันสหกรณ์
« เมื่อ: ธันวาคม 12, 2022, 10:32:48 am »
อย่างแรก ก็ต้องบอกว่ายินดีด้วยที่มีคำว่า "อดีตเมียน้อย" นั่นแสดงว่า เมียน้อยไม่มีแล้วนะซิ...หยอกๆๆ

ส่วนที่ถามเกี่ยวกับการค้ำประกันนั้น คงไม่เกี่ยวว่ามีความสัมพันธ์ กับผู้กู็อย่างไร เมื่อสามีเราไปสมัครใจค้ำประกัน ก็ต้องยึดถือตามสัญญาค้ำประกันนั้น เมื่อผู้กู้ไม่ชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันซึ่งสมัครใจเอาตนเข้าค้ำประกันหนี้ดังกล่าว ก็ต้องชดใช้แทนผู้กู้ล่ะครับ

ส่วนการหักเงินเดือนสามี ก็คิดว่า ในช่วงการทำสัญญากู้เงินหรือสัญญาค้ำประกัน สามีของเราได้ไปทำหนังสือหรือให้ความยินยอมในการหักเงินให้ไว้ต่อสหกรณ์ จึงถูกหักเงินไปนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ผู้ค้ำประกันยังมีทางแก้คือ เมื่อได้ชำระหนี้แทนผู้กู้ไปแล้ว จะได้สิทธิ์ที่กฎหมายเรียกว่า "รับช่วงสิทธิ์" โดยนำหลักฐานการชำระหนี้ สัญญาค้ำประกัน ไปฟ้องผู้กู้ หรืออดีตเมียน้อย เพื่อ "ไล่เบี้ย" เรียกเงินที่ชำระพร้อมดอกเบี้ยคืนทั้งหมดได้ครับ ซึ่งคดีอย่างนี้ก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไรครับ

ทนายพร.

14
ถ้าถามว่าจะถูกจำคุกมั๊ย และถ้าจำคุกจะถูกจำคุกกี่ปี ทนายคงจะตอบให้ไม่ได้ เพราะเป็นดุลพินิจของท่านผู้พิพากษา

ทั้งนี้ในการพิจารณาท่านจะดูว่า จำเลยมีพฤติกรรม "หลาบจำ" หรือไม่ หรือมีเหตุอื่นใดควรจะปราณีหรือไม่อย่างไร ซึ่งหากพิจารณาแล้วยังไม่ละเลิกเสพยา ก็อาจจะสั่งจำคุกโดยไม่รอลงอาญาก็เป็นได้นะครับ

ทนายพร.

15
เป็นคำถามที่ดีเลยครับ เพราะบางคนไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร

เอาเป็นว่า ใครที่คิดว่าตนเองมีประวัติหรือไม่ ก็สามารถตรวจสอบและดำเนินการได้เช่นกัน

โดยกรณีที่คดีถึงที่สุดไม่ว่าจะเป็นกรณีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง หรือเป็นกรณีใดก็แล้วแต่ หรือกรณีที่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องหรือจำหน่ายคดีในคดีอาญา

หรือเอาง่ายๆ ว่า ใครเคยถูก "พิมพ์ลายนิ้วมือ" ที่สถานนีตำรวจ ล้วนต้องถูกส่งเข้าไปที่ "กองทะเบียนประวัติอาญากร" สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อบันทึกประวัติไว้

ดังนั้น หากต้องการตรวจสอบ ก็สามารถตรวจสอบได้ โดยติดต่อที่กองประวัติฯ หรือจะดำเนินการทางออนไลน์ก็ได้นะครับ
ส่วนผู้ที่ต้องการ "ลบประวัติ" ก็สามารถดำเนินการได้เช่นกัน โดยต้องนำหลักฐานประกอบด้วย เช่นหากคดีถึงที่สุดก็ไปขอหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดเพื่อประกอบการดำเนินการลบประวัติด้วยนะครับ

หรือหากมีข้อสงสัยก็สอบถามได้ที่ กองทะเบียนประวัติอาชญากร อาคาร 7 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ หรือโทร ๑๓๔๗ ได้ในวันและเวลาราชการครับ

ส่วนคำถามว่า โดยคดีใบกระท่อม จะรับราชการได้มั๊ย ก็ถ้าไม่ถูกจำคุก ก็เข้าข้อยกเว้น สามารถรับราชการได้ เว้นแต่หน่วยงานดังกล่าวจะตั้งระเบียบไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น ในชั้นนี้ให้รีบไปดำเนินการลบประวัติก่อนเลยครับ

ทนายพร.

หน้า: [1] 2 3 ... 50