29/04/24 - 03:44 am


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - kamjam

หน้า: [1]
1
หากข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่เล่ามา โดยเฉพาะการเขียนใบลาออก คำตอบของทนายแทบจะไม่มีผลต่อการไปต่อเลยครับ

ซึ่งก็จำเป็นต้องตอบตรงๆ เพื่อจะได้ไม่เป็นการสร้างความหวังในอากาศครับ...

เอาเป็นว่า หากข้อเท็จจริงมีว่า เราถูกกดดันหรือบังคับให้ลาออก เช่น เรียกเข้าไปในห้องโดยมีฝ่ายบริหารและฯลฯ นั่งอยู่หลายคน พร้อมทั้งจัดเตรียมหนังสือเลิกจ้างไว้ให้เรา กรณีเช่นนี้ก็จะอาจจะถือว่าเป็นการลาออกโดยไม่สมัครใจได้ ตามแนวคำพิพากษาศาลฏีกาที่ ๔๒๔๐/๒๕๖๓ หรือคำพิพากษาศาลฏีกาที่ ๔๖๙/๒๕๖๒ ลองไปหาอ่านดูนะครับ
หากพิจารณาแล้วเห็นว่าไกล้เคียงกับแนวฏีกาดังกล่าว ที่บันทึกเสียงไว้ก็เป็นหลักฐานหนึ่งที่ต้องนำไปประกอบคดี แต่ศาลก็จะรับฟังพยานหลักฐานประเภทนี้ด้วยความระมัดระวัง เพราะเทคโนโลยี่สมัยนี้มันสามารถตัดต่อได้นั่นเองครับ

แต่ถ้าไม่ใช่การบังคับให้ลาออก แล้วเราเป็นผู้ยกมือจับปากกามาเขียนด้วยตนเอง กรณีเช่นนี้ ก็จะถือว่าเราสมัครใจลาออกเอง สิทธิ์ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานก็สิ้นสุดไปด้วยครับ

ลองไปตรวจสอบและพิจารณาดูครับ

ให้กำลังใจครับ
ทนายพร.


สวัสดีครับทนายพร
ในกรณี บริษัท ย้ายที่ทำงานไปอีกที่1 ซึ่งไกลจากที่เดิมประมาณ 4เท่า
แล้วบริษัทจะให้พนักงานบางแผนกย้ายไปทำงานที่ใหม่ด้วย
โดยออกประกาศระบุชื่อพนักงานว่ามีใครแผนกไหนต้องย้ายไปบ้าง
กรณีนี้ พนักงานไม่สะดวกไป นายจ้างไม่อยากเลิกจ้างคือเลี่ยงวลีโดยการโดนนายจ้างเรียกไปคุยบอกว่าถ้าไม่ไป ก็จะไม่มีสิทธิ์อะไรเลย ขึ้นเงินเดือน ค่าโทรศัพท์โบนัส เพราะคุณไม่ยืดหยุ่น ไม่มีความท้าทาย หรืออื่นๆ
เหตุผลที่พนักงานไม่ไปเพราะ ที่ทำงานเดิม ระยะทางไปกลับ11กิโลเมตร เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว ระยะเวลาเดินทางขาไปราวๆ20-30นาที ค่าน้ำมันประมาณ1500-2000บาทต่อเดือน คำนวณจากค่าน้ำมันที่เคยเติมตอนลิตรล่ะ25บาท-35บาท
ที่ทำงานใหม่ ระยะทางไปกลับ 36กิโลเมตร ระยะเวลาเดินทางขาไปราวๆ 1-1.30ชม. คาดการค่าน้ำมันราวๆ4500-6000บาทต่อเดือน
ซึ่งเพิ่มค่าใช้จ่ายค่าน่ำมันเพิ่มขึ้น
กรณีแบบนี้พนักงานมีสิทธิ์ไปฟ้องกรมแรงงานได้ไหมครับ  หรือพอมีคำแนะนำไหมครับ

หน้า: [1]