26/04/24 - 06:41 am


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ทนายพร

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 50
16
บางคำถามก็เป็นคำตอบอยู่ในตัวแล้ว อย่างไรก็ตาม ถามมาก็ตอบไปตามสไตล์ทนายพรล่ะครับ

ถามมาว่า...

1.ถ้าจ้างออกสิ่งที่เราควรจะได้รับมีอะไรบ้างคะ
ตอบ ค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ โดยคำนวณตามอายุงานครับ

2.ในกรณีนี้ค่าตกใจ ควรได้กี่เดือนคะ ( อ่านมาว่าถ้าปรับโครงสร้างบริษัท ต้องได้ค่าตกใจ 2 เดือน จริงหรือไม่คะ )
ตอบ ค่าตกใจ หรือเรียกในทางกฎหมายว่า ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามาตรา ๑๗ โดยต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือก่อนจะถึงกำหนดการจ่ายค่าจ้างเพื่อให้มีผลการเลิกจ้างในคราวถัดไป ดังนั้น จะตอบว่าได้กี่เดือน จะต้องดูก่อนว่าได้บอกกล่าวเลิกจ้างเราเมื่อใด? จ่ายค่าจ้างเป็นเดือนหรือเป็นวิค หรือจ่ายเป็นรายวัน เพื่อพิจารณาว่านายจ้างได้บอกและจ่ายค่าตกใจได้ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ส่วนที่วงเล็บมาว่าค่าตกใจกรณีปรับโครงสร้างได้ ๒ เดือนนั้น ไม่จริงนะครับ)

3.ถ้าบริษัทให้ออกวันที่ 4 มกราคม เงินเดือนในเดือน มกรา เราต้องได้เต็มจำนวนหรือไม่คะ
ตอบ แหมๆๆๆ....จะเอาเต็มเดือนเลยรึ (หยอกๆ) ค่าจ้างตามกฎหมายแล้วจะจ่ายให้เฉพาะวันที่มาทำงาน ดังนั้น เมื่อออกวันที่ ๔ ก็จะได้แค่วันที่ ๔ นะครับ

4.ค่าชดเชยที่ได้ 3 เดือนใช่มั๊ยคะ
ตอบ ไม่ถูกครับ ที่ถูกคือ ๙๐ วันครับ ...อ้าวทนาย..มันต่างกันตรงใหน? ก็ตอบว่า ต่างกันตรงวันกับเดือนนี่แหละครับ เมื่อกฎหมายกำหนดเป็นวันก็ต้องเปลี่ยนค่าจ้างรายเดือนมาเป็นรายวันก่อน โดยใช้ ๓๐ มาหารก็จะได้ค่าจ้างรายวันแล้วก็คูณด้วย ๙๐ จะเห็นว่า จำนวนเงินไม่เท่ากันนะครับ คำนวณ ๙๐ วันจะน้อยกว่าเป็นจุดทศนิยม สรุปคือ คิดง่ายๆก็ ๓ เดือนนั่นแหละ ง่ายดี ;D

5.ถ้าบริษัทจ้างออกจะเสียประวัติจริงหรือไม่คะ
ตอบ เสียประวัติอะไร? คุณทำอะไรผิดหรือ? ถ้าไม่ได้ทำผิดอย่าได้กลัวไปครับ เป็นคำขู่ของนายจ้างที่เป็นลูกไม้ทั่วๆไป หากไม่ได้ทำผิดก็ให้บริษัทเลิกจ้างไปเลยครับ เว้นแต่มีความผิดก็ว่ากันไปอย่างนะครับ และแน่นอนว่าหากถูกเลิกจ้างด้วยเหตุปรับโครงสร้างองค์กร หากเหตุผลยังไม่ชัดเจนว่าเหตุใดจึงต้องปรับโครงสร้าง กิจการไม่ได้ขาดทุนและเป็นการเลือกปฎิบัติ อาจเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พรบ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ มีสิทธิ์เรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้อีก และมีสิทธิได้รับเงินว่างงานร้อยละ ๕๐ จากประกันสังคมอีกด้วยครับ

6.หลักฐานพวกคลิปอัดเสียงที่คุยกับ HR หรือการต่อรองเจรจาที่เค้าบังคับให้เราเขียนใบลาออกเอง สามารถนำไปใช้ในชั้นศาลได้หรือไม่คะ ( เพราะไม่บริษัทไม่ส่ง E-mail หรือ ทำหลักฐานไว้ค่ะ เป็นการแจ้งปากเปล่า เลยต้องอัดคลิปเสียงไว้เพื่อป้องกันตัวเอง )
ตอบ เก็บเอาไว้ก่อนครับ เดี๋ยวถึงชั้นศาลค่อยว่ากันครับ

7.ถ้ามีประวัติการทำงานในวันหยุดหรือลาพักร้อน สามารถฟ้องเรียกค่าแรงย้อนหลังได้หรือไม่คะ
ตอบ ทั้งได้และไม่ได้ครับ  ที่บอกว่าได้ คือกรณีที่บริษัทมีคำสั่งให้เราไปทำงานในวันหยุด กรณีนี้ได้แน่นอนครับ  ส่วนกรณีไม่ได้ คือกรณีที่บริษัทไม่ได้สั่งให้เราไปทำ แต่เราขยันไปทำเอง กรณีเช่นนี้จะไม่ได้นะครับ

คงครบถ้วนนะครับ

ทนายพร
[/color][/size][/size]

17
ครับ

ถามมาได้เลยครับ

ทนายพร.

18
อัยยะ
ถามมาสั้นเกิ๊น...

ทนายก็ตอบว่า....ครับ...คำประกันสหกรณ์ฯ...จบ ;D ;)

ถามมาใหม่ครับ เอาให้ได้ใจความ อธิบายมาด้วยว่าจะถามเรื่องอะไร อยากจะรู้เรื่องอะไร ทนายจะได้ตอบได้อ่ะครับ

ทนายพร.


19
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: คดีครอบครองยาบ้า20
« เมื่อ: มกราคม 12, 2023, 11:49:08 am »
ก่อนหน้านี้ ศาลได้วางหลักไว้ว่า หากครอบครองเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้ว ถือว่ามีความผิดฐานมีไว้ในครอบครองและครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยห้ามพิสูจน์

แต่ปัจจุบันศาลได้วางหลักใหม่โดยสามารถให้จำเลยสามารถพิสูจน์ได้ว่ามิได้มีไว้เพื่อจำหน่าย แต่มีไว้เพื่อเสพ และศาลก็จะใช้ดุลพินิจในการพิจารณากำหนดโทษ

ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะแถลงศาลจากคำให้การจำเลยประกอบการรับสารภาพว่า เนื่องจากตำรวจกวดขันจับกุมอย่างเข้มข้น เป็นการยากที่จะไปซื้อหามาเสพ จึงได้ซื้อเป็นปริมาณมากเพื่อจะได้ไม่ไปซื้อบ่อยครั้ง เช่นนี้ ศาลก็จะใช้ดุลพินิจว่าครอบครองเพื่อเสพก็เป็นได้ครับ

แอะๆๆ...ไม่ได้ชี้ช้องให้ทำความผิดนะครับ เอาประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟัง ;)

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

20
เป็นคำถามที่ดีและน่าสนใจมากครับ

บางคนอ่านแล้วก็อยากรู้คำตอบว่าทนายจะตอบว่าอย่างไร

ก่อนอื่น ต้องไปดูนิยามของ "การพนัน" หมายความว่าอย่างไร? หมายถึงอะไร?

เปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ บัญญัติว่า “ การพนัน หมายถึง การเล่นเอาเงิน หรือสิ่งอื่นโดยอาศัยความฉลาด ความชำนาญ เล่ห์เหลี่ยม ไหวพริบและฝีมือรวมทั้งโชคด้วย ”....ยังไม่สาแก่ใจ เปิด พรบ.การพนัน พ.ศ.๒๔๗๕ ได้นิยามว่า..

“การเล่น” ให้หมายความรวมตลอดถึงการทายและการทำนายด้วย ”  อย่างไรก็ตาม ใน พรบ.การพนันไม่ได้มีการกำหนดนิยามที่ชัดเจนจึงต้องยึดถือนิยามตามพจนานุกรมฯ  แต่ก็สามารถอธิบายจากบทมาตราต่างๆได้ว่า

การพนัน หมายถึง การเล่นเอาเงินที่มีลักษณะได้หรือเสียเงินหรือทรัพย์สินกันในตัว

ดังนั้น โดยสรุป หากไม่มีการได้เสีย โดยจะเป็นเงินหรือประโยชน์อื่นใดก็ไม่เข้าข่ายเล่นการพนันล่ะครับ แต่ถ้ามีการได้เสีย มีผลประโยชน์ เช่นนี้ ไม่รอดครับ ให้พิจารณาจากพฤติกรรมหรือผลของการเล่นล่ะครับ

ส่วนที่ถามว่ามีไพ่สำหรับเล่นเกมส์ด้วยนั้น ทนายก็ยังนึกไม่ออกว่าเป็นเกมส์อะไร แล้วทำไมจะต้องเป็นไพ่ด้วย ปรับเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้หรือไม่

แหมๆ อย่าถึงขนาดต้องบันทึกภาพเลยครับ  เเเอบๆเล่น อย่าส่งเสียงดัง ก็น่าจะดีกว่านะครับ...หยอกๆ

ทนายพร.

21
กฎหมายอาญาได้วางหลักไว้ว่าจะกำหนดเพิ่มโทษหนึ่งในสามแก่จำเลยที่กระทำผิดซ้ำภายใน ๕ ปี นับแต่วันพ้นโทษ

จากคำถาม หากนับเวลาแล้ว เกินกว่า ๕ ปีแล้ว ถือว่าพ้นหลักดังกล่าวแล้ว

ส่วนที่ถามว่าจะติดกี่ปี หรือจะโดนส่งไปบำบัดนั้น อยู่ที่วิธีการต่อสู้คดีครับ หากทำจริงและรับสารภาพ ก็จะได้รับการลดหย่อนโทษหรืออาจจะถูกส่งไปบำบัด อย่างไรก็ตามเป็นดุลพินิจของศาลที่จะลงโทษตามพฤติการณ์แห่งคดีนะครับ ทั้งนี้ หากเป็นเพียงผู้เสพโทษก็น้อยหน่อย แต่ถ้าเป็นผู้ค้าหรือมีไว้เพื่อการค้า ศาลมักจะไม่ปราณีนะครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

22
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: ค้ำประกันสหกรณ์
« เมื่อ: ธันวาคม 12, 2022, 10:32:48 am »
อย่างแรก ก็ต้องบอกว่ายินดีด้วยที่มีคำว่า "อดีตเมียน้อย" นั่นแสดงว่า เมียน้อยไม่มีแล้วนะซิ...หยอกๆๆ

ส่วนที่ถามเกี่ยวกับการค้ำประกันนั้น คงไม่เกี่ยวว่ามีความสัมพันธ์ กับผู้กู็อย่างไร เมื่อสามีเราไปสมัครใจค้ำประกัน ก็ต้องยึดถือตามสัญญาค้ำประกันนั้น เมื่อผู้กู้ไม่ชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันซึ่งสมัครใจเอาตนเข้าค้ำประกันหนี้ดังกล่าว ก็ต้องชดใช้แทนผู้กู้ล่ะครับ

ส่วนการหักเงินเดือนสามี ก็คิดว่า ในช่วงการทำสัญญากู้เงินหรือสัญญาค้ำประกัน สามีของเราได้ไปทำหนังสือหรือให้ความยินยอมในการหักเงินให้ไว้ต่อสหกรณ์ จึงถูกหักเงินไปนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ผู้ค้ำประกันยังมีทางแก้คือ เมื่อได้ชำระหนี้แทนผู้กู้ไปแล้ว จะได้สิทธิ์ที่กฎหมายเรียกว่า "รับช่วงสิทธิ์" โดยนำหลักฐานการชำระหนี้ สัญญาค้ำประกัน ไปฟ้องผู้กู้ หรืออดีตเมียน้อย เพื่อ "ไล่เบี้ย" เรียกเงินที่ชำระพร้อมดอกเบี้ยคืนทั้งหมดได้ครับ ซึ่งคดีอย่างนี้ก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไรครับ

ทนายพร.

23
ถ้าถามว่าจะถูกจำคุกมั๊ย และถ้าจำคุกจะถูกจำคุกกี่ปี ทนายคงจะตอบให้ไม่ได้ เพราะเป็นดุลพินิจของท่านผู้พิพากษา

ทั้งนี้ในการพิจารณาท่านจะดูว่า จำเลยมีพฤติกรรม "หลาบจำ" หรือไม่ หรือมีเหตุอื่นใดควรจะปราณีหรือไม่อย่างไร ซึ่งหากพิจารณาแล้วยังไม่ละเลิกเสพยา ก็อาจจะสั่งจำคุกโดยไม่รอลงอาญาก็เป็นได้นะครับ

ทนายพร.

24
เป็นคำถามที่ดีเลยครับ เพราะบางคนไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร

เอาเป็นว่า ใครที่คิดว่าตนเองมีประวัติหรือไม่ ก็สามารถตรวจสอบและดำเนินการได้เช่นกัน

โดยกรณีที่คดีถึงที่สุดไม่ว่าจะเป็นกรณีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง หรือเป็นกรณีใดก็แล้วแต่ หรือกรณีที่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องหรือจำหน่ายคดีในคดีอาญา

หรือเอาง่ายๆ ว่า ใครเคยถูก "พิมพ์ลายนิ้วมือ" ที่สถานนีตำรวจ ล้วนต้องถูกส่งเข้าไปที่ "กองทะเบียนประวัติอาญากร" สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อบันทึกประวัติไว้

ดังนั้น หากต้องการตรวจสอบ ก็สามารถตรวจสอบได้ โดยติดต่อที่กองประวัติฯ หรือจะดำเนินการทางออนไลน์ก็ได้นะครับ
ส่วนผู้ที่ต้องการ "ลบประวัติ" ก็สามารถดำเนินการได้เช่นกัน โดยต้องนำหลักฐานประกอบด้วย เช่นหากคดีถึงที่สุดก็ไปขอหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดเพื่อประกอบการดำเนินการลบประวัติด้วยนะครับ

หรือหากมีข้อสงสัยก็สอบถามได้ที่ กองทะเบียนประวัติอาชญากร อาคาร 7 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ หรือโทร ๑๓๔๗ ได้ในวันและเวลาราชการครับ

ส่วนคำถามว่า โดยคดีใบกระท่อม จะรับราชการได้มั๊ย ก็ถ้าไม่ถูกจำคุก ก็เข้าข้อยกเว้น สามารถรับราชการได้ เว้นแต่หน่วยงานดังกล่าวจะตั้งระเบียบไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น ในชั้นนี้ให้รีบไปดำเนินการลบประวัติก่อนเลยครับ

ทนายพร.

25
หากมีข้อเท็จจริงเพียงเท่านี้ ทนายคงตอบให้ไม่ได้ครับ เพราะยังมีหลายประเด็นต้องพิจารณาว่าจะเข้าข่ายเลิกจ้างตามมาตรา ๑๑๘ วรรคท้ายหรือไม่ หรือจะเป็นการสั่งงานให้ย้ายไปทำงานในสถานที่ทำงานแห่งใหม่แต่ยังคงความเป็นลูกจ้างของนายจ้างอยู่

นอกจากนี้ การ "ออกข่าวแจ้งปิดกิจการ" ก็ยังใช้ไม่ได้ในทางกฎหมาย เพราะมิใช่ประกาศปิดกิจการ และเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนอาจจะต้องไปขอคัดหนังสือรับรองจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อตรวจสอบว่า บริษัทได้แจ้งปิดกิจการแล้วหรือไม่ ก็จะได้ข้อมูลที่ชัดเจนขึ้นครับ

ดังนั้น ในเครสนี้ หากต้องการคำตอบจริงๆ คงต้องโทรมาหาทนายเพื่อสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อจะได้ตอบคำถามและแนะนำให้ต่อไปครับ

ทนายพร.


26
อัยยะ...ทนายอ่านคำถามอยู่หลายรอบเลย กลัวว่าจะตอบผิด ;D

ถามมาว่า...


1. เราต้องได้ค่าภาษาถูกต้องไหมคะ เพราะไม่เกี่ยวกับฐานเงินเดือน
ตอบ เรื่องนี้อยู่ที่ข้อตกลงกันตอนทำสัญญากันเลยครับ หากเหมาจ่ายก็ต้องจ่ายเต็ม แต่ถ้าไม่ใช่เหมาจ่ายในการคำนวนจ่ายหากจะเป็นธรรมก็ต้องจ่ายตามส่วนตามวันที่มาทำงาน อาจจะหาฐานเป็นรายวันก่อนแล้วจึงคำนวนว่าในเดือนนั้นทำงานมากี่วันก็คูณไป ได้เท่าใหร่ก็เท่านั้น อะไรประมาณนี้ครับ

2. ถ้าทางบริษัทบอกว่าคิดตามวันที่มาทำงาน ทำไมถึงเอาเงินเดือนไปหาร 30 วัน ต้องเอามาหารวันที่ต้องไปทำงานจริง แล้วคิดมาเป็นรายวัน ถูกหรือไม่คะ
ตอบ บริษัทเอา ๓๐ หารน่ะถูกแล้วครับ เพราะที่เอา ๓๐ หารก็เพื่อให้ได้ฐานค่าจ้างเฉลี่ยต่อวันก่อน เมื่อรู้แล้วว่าได้ค่าจ้างวันละเท่าใหร่ก็เอาจำนวนนั้นมาคูณกับจำนวนวันที่ทำงาน ก็จะได้ค่าจ้างในรอบเดือนนั้นครับ...เข้าใจเนาะ?

ตัวอย่าง: ถ้านับจากการตัดยอดแต่ล่ะเดือนคือวันที่ 25 จากวันที่ 26 สิงหาคน ถึง 25 กันยายน จะต้องทำงานทั้งหมด 23 วัน ไม่รวมวันหยุด ก็คือ 16,000/23 = 695 แล้วจึงมานับว่าทำงานครบ 23 วันหรือไม่ถูกต้องหรือไม่คะ
ตอบ คิดอย่างนี้ไม่ถูก จะต้องเอา ๑๖,๐๐๐/๓๐ จะได้ค่าจ้างวันละ ๕๓๓.๓๓๓.. บาท ทำงานมา ๒๓ วัน ก็จะได้ ๒๓x๕๓๓.๓๓๓ = ๑๒,๒๖๖.๖๗ บาท ครับ

3. แล้วถ้าเราไม่ได้เงินตามจำนวนที่เราต้องได้ และในสัญญาไม่ได้ระบุเงื่อนไขหรือการแจ้งการเงินแบบนี้ก่อนรับเข้าทำงาน ว่าจะจ่ายจ่ายเป็นรายวัน หากทำงานไม่เต็มเดือน ต้องทำยังไงได้บ้างคะ
ตอบ อืมม...ทนายคิดว่าบริษัทไม่ได้จ้างเราเป็นรายวันหรอกครับ จ้างเป็นรายเดือนนั่นแหละ เพียงแต่เดือนแรกเราทำงานไม่เต็มเดือน จึงต้องคำนวณให้ตามจำนวนวันที่มาทำงาน หรือที่เรียกว่า คำนวณจ่ายค่าจ้างตามสัดส่วนล่ะครับ ซึ่งเดือนหน้าหากคุณทำงานเต็มเดือนคุณก็จะได้รับค่าจ้างเต็มล่ะครับ

คงกระจ่างและครบถ้วนนะครับ

ทนายพร.
[/color][/size]

27
ถามว่าทำได้มั๊ย?...ทนายก็ถามกลับว่า แล้วทำไปหรือยัง?....หยอกๆๆ

เข้าใจว่า หน่วยงานเพียงต้องการอำนาจต่อรองกับคุณว่าห้ามหัวหมอหรือมีปากมีเสียงนะ จะให้ออกเมื่อใหร่ก็ได้เพราะคุณได้เซ็นใบลาออกไปแล้ว

เอาเป็นว่า การลาออกเป็นการแสดงเจตนาว่าจะไม่ทำงานกับหน่วยงานอีกต่อไป

เมื่อข้อเท็จจริงมีว่า การเขียนใบลาออกล่วงหน้าโดยไม่มีเจตนาในการลาออกจริงๆ หนังสือลาออกนั้นย่อมสิ้นผลไป

อย่ากระนั้นเลย...ทนายมีทางออกให้ นับแต่นี้ ก็เปลี่ยนลายเซ็นซะ เซ็นแบบใหม่ เท่านี้ก็มีหลักฐานแสดงแล้วใบลาออกนั้นเราถูกบังคับเซ็นตั้งแต่เข้างานแล้ว  หรือไม่ก็ไปขอใบลาออกคืนมา ก็ประมาณนี้ครับ

ทนายพร.

28
ถามมา ๒ ข้อ แต่ตอบยากอยู่นะครับ
ถามมาว่า...

1. หากบริษัทให้ออกกระทันเราจะได้รับสิทธิ์เงินชดเชยด้านไหนบ้าง
ตอบ..ถ้าให้ออกและทำงานเกินกว่า ๑๑๙ วัน ก็มีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยตามอายุงานที่ทำตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๑๘ แห่งพรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ครับบ

2. ควรวางตัวอย่างไรดีคะ
ตอบ.. อืมมม...อยากแรกอยากจะให้ตั้งสติและคิดเสมอว่าเราเป็นบุคคลที่บริษัทยังให้ความสำคัญมิเช่นนั้นคงไม่ขอให้เราทำงานต่อไปหรอก จริงมั๊ย? ดังนั้น เพื่อแสดงถึงศักยภาพของเรา ก็ควรจะทำงานให้แก่บริษัทอย่างเต็มความสามารถ ทำงานให้สนุก และเราก็จะมีความสุขกับการทำงาน อย่าคิดเยอะครับ คิดบวกเข้าไว้ (แต่ไม่ใช่คิดจะไปบวกกะใครนะครับ..ฮา) ทำงานวันนี้ให้ดีที่สุดก็พอครับ

ให้กำลังใจนะครับ

ทนายพร.
[/color][/size]

29
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: ที่ขอบเขตชลประทาน
« เมื่อ: สิงหาคม 20, 2022, 11:41:37 am »
อ่านปัญหาแล้วก็น่าปวดหัวแทน

ปัญหาเพื่อนบ้านนี่หากเลี่ยงได้ก็เลี่ยงหากเลี่ยงไม่ได้ก็หาที่อยู่ที่ใหม่สบายใจกว่าเยอะครับ

สรุปได้ความว่า ทุกคนกำลังจะหาประโยชน์จากที่หลวง ในทางกฎหมายแล้ว ที่หลวงถึงแม้จะมีการครอบครอบทำประโยชน์แต่ก็ไม่สามารถยึดถือเป็นของตนได้ แต่สามารถใช้ยันกับบุคคลภายนอกได้ว่าที่ตรงนี้เราใช้ทำประโยชน์อยู่ แต่จะไปกล่าวอ้างว่าเป็นที่ของเรานั้นทำไม่ได้ครับ

ดังนั้น หากเราอยากจะทำประโยชน์เพราะถือว่าเป็นที่หน้าบ้านของเราก็ทำไปครับ หากอีกฝ่ายเห็นว่าเราไปละเมิดสิทธิ์เค้าเนื่องจากเค้าทำประโยชน์มาก่อนก็ว่ากันไป แล้วค่อยไปตกลงกันในภายหลัง หลังจากมีคนกลางอยู่แล้ว  หากอีกฝ่ายเพียงเเต่เอาเราไปนินทา ก็เพียงหาช่องทางกฎหมายในการปิดปาก เช่นการแจ้งความเป็นคดีอาญาข้อหาหมิ่นประมาท อะไรประมาณนี้ละครับ

ส่วนข้อแนะนำอื่นนั้นก็ตามที่ได้เกริ่นไว้ตอนต้นละครับ ประกาศขาย หาที่ใหม่ครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 50