02/05/24 - 12:11 pm


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - ทนายพร

หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23 24 ... 50
316
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: การประกัน
« เมื่อ: เมษายน 06, 2020, 05:41:38 pm »
อ่านแล้วก็ งงๆ กับคำถามนี้ หรือไม่ได้ถามแต่แค่เล่าให้ฟัง..ฮา.. ;D

เอาเป็นว่า การอุทธรณ์มีได้ ๒ กรณี เช่น ทำเรื่องประกันตัวไปแล้วศาลยกคำร้อง (ไม่ให้ประกันตัว) กรณีเช่นนี้ก็สามารถอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ให้ประกันตัวต่อศาลอุทธรณ์ได้  หรือการอุทธรณ์อีกประเภทหนึ่ง คือศาลพิจารณาคดีแล้วมีคำพิพากษาจำคุก โดยจำเลยไม่พอใจในคำพิพากษานั้น ก็ได้ทำคำร้องขอประกันตัวสู้คดีในชั้นอุทธรณ์

ซึ่งถ้าให้เดา คงเป็นกรณีแรกว่า โดยยื่นฟ้องต่อศาลแล้วยื่นคำร้องขอประกันตัวแต่ศาลไม่ให้ประกันตัว

โดยปกติการให้ประกันตัวเป็น "สิทธิ" ส่วนการไม่ให้ประกันตัว "เป็นข้อยกเว้น" โดยกรณีที่ศาลจะสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวเพราะเหตุดังนี้คือ
๑. ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี
๒. ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเกี่ยวกับหลักฐาน
๓. ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น
๔. ผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ
๕. การอนุญาตให้ประกันจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสืบสวนของเจ้าพนักงาน หรือการดำเนินคดีในศาล

แค่ถ้าไม่เข้าเหตุดังกล่าวนี้ ศาลมักจะให้ประกันตัวเสมอครับ
ดังนั้น ในการทำอุทธรณ์คงต้องขอให้ทนายที่มีความเชี่ยวชาญในการทำอุทธรณ์ช่วยเหลือแล้วล่ะครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

317
รับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่ง โดยปกติถ้าครั้งแรกศาลมักปราณี รอลงอาญา ถ้าแค่เม็ดเดียว อาจจะโทษ ๑ - ๔ ปี รับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่ง กับมีโทษปรับด้วยครับ

ทนายพร.

318
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: กฏหมาย
« เมื่อ: เมษายน 06, 2020, 05:31:18 pm »
ถามมาสั้นๆ ก็ตอบสั้นๆ ว่า ศาลคงตัดสินว่าเรามีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒

ส่วนจะลงโทษกี่ปีนั้น แล้วแต่ดุลพินิจศาล ถ้ารับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๗๘ ถ้าต่อสู้แล้วศาลตัดสินว่าผิดจริงก็ลงโทษเต็มตามฟ้องครับ

จะให้ดี หากรอดคุกรอบนี้ก็อย่าได้ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอีกเลยนะครับ มันไม่สนุกหรอก เชื่อทนายเถอะ

ทนายพร.

319
อ่านแล้วก็น่าเห็นใจครับ

แต่เพียงเท่าที่เล่ามานี้ ยังไม่เข้าองค์ประกอบกับคำว่า "ชู้"

เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานว่าทั้งคู่มีความสัมพันธ์ในทางชู้สาว หรือมีหลักฐานมาทั้งคู่ร่วมหลับนอนกันแล้ว จะอาศัยเพียงข้อความบอกรักกันเท่านี้ ยังไม่เพียงพอที่จะนำไปฟ้องร้องได้

เอาเป็นว่า เรื่องนี้ต้องคุยกับภรรยาเราให้เข้าใจ ด้วยความอดทน และหากไปต่อกันไม่ได้แล้วก็คงต้องทางใครทางมันตามลิขิตฟ้ากำหนดแล้วละครับ

ให้กำลังใจนะครับ

ทนายพร.

320
ถามเกี่ยวกับการบาดเจ็บจากการทำงานดังนี้..

1.ทางบริษัท สามารถให้ พนง.ไปใช้สิทธิประกันสังคมได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้ครับ เมื่อลูกจ้างบาดเจ็บจากการทำงาน ก็ต้องไปใช้เงินกองทุนเงินทดแทนในการรักษา การแจ้งผิดกองทุนถือว่าแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานมีความผิดตามกฎหมายครับ

2.ถ้าได้เอกสารเงินกองทุน ต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ ให้ลูกจ้างรักษาด้วยกองทุนเงินทดแทน ถูกต้องแล้วครับ

ส่วนลูกจ้างประมาทหรือไม่นั้น ต้องสอบสวนตามหลักวิชาการเช่น มีการประเมินความเสี่ยงในงานนั้นก่อนหรือไม่ หัวหน้าได้มีการควบคุมดูแลอย่างไกล่ชิดหรือไม่ จป.บริหาร , จป.วิชาชีพ , หรือ จป.ในระดับต่างๆที่กฎหมายกำหนดให้มีขึ้น ได้ทำหน้าที่ของตนเองตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ครบถ้วนแล้วหรือยัง ต่างๆเหล่านี้เป็นประเด็นที่ทั้งผูั้บริหารและหัวหน้างานต้องไส่ใจ หาใช่ผลักความรับผิดไปให้ว่าลูกจ้างประมาทแต่เพียงอย่างเดียว ยกตัวอย่างเช่นเครื่องที่เป็นกรณีนี้ หากออกแบบปุ่มกด ๒ ปุ่มทั้งซ้ายและขวา หากไม่กดพร้อมกันเครื่องจะไม่ทำงาน ก็คงไม่เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นก็เป็นได้ครับ โดยในแวดวงความปลอดภัย เรียกว่า "การประเมินความเสี่ยง" ครับ  ลองไปสำรวจตรวจสอบดูนะครับ

ทนายพร.


ทนายพร.

321
นี่ก็เกิดจากผลกระทบจากไวรัสโควิด - ๑๙  โดยถามว่า...
อยากทราบว่า หาก เรารับเงิน 1 เดือนพร้อมค่าจ้างวดสุดท้ายตามเงื่อนไขของนายจ้างมาแล้ว แต่นายจ้างไม่ได้จ่ายชดเชยถูกต้องตามกฎหมาย  เรายังสามารถ ฟ้องเอาผิดนายจ้างได้หรือไม่   ทั้งในส่วนของเงินชดเชยเลิกจ้างและค่าตกใจ
ตอบ ฟ้องอ่ะฟ้องได้ครับ ถ้านายจ้างเลิกจ้างก็ฟ้องได้ครับ

-   มีข้อควรระวังอะไรในหนังสือเลิกจ้างที่ต้องระวังเป็นพิเศษ
ตอบ อย่างแรกที่ควรระวัง คือห้ามเซ็นใบลาออกโดยเด็ดขาด หรือหากนายจ้างนำหนังสือมาให้เซ็นโดยมีข้อความว่าจะไม่เรียกร้อง/ฟ้องร้องใดๆ อีก อย่างนี้ก็ต้องไม่เซ็นนะครับ ถ้าเซ็นก็จะมีผลเป็นว่าเราได้สละข้อต่อสู้แล้ว

-   ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างในการ ดำเนินการฟ้องร้องเอาผิดนายจ้าง หากทำได้
ตอบ ก็ให้เตรียมหลักฐานการเป็นลูกจ้าง สลิปเงินเดือนหรือหลักฐานการจ่ายค่าจ้าง วันเข้าทำงาน และวันที่ถูกเลิกจ้าง โดยไม่ต้องไปกังวลว่าในการเลิกจ้างจะต้องได้หนังสือเลิกจ้างเสมอไป แต่ขอให้มีหลักฐานยืนยันว่านายจ้างได้เลิกจ้างแล้ว อาจจะมีการบันทึกเสียง หรือมีข้อความสนทนายืนยันว่ามีการเลิกจ้างแล้ว และข้อควรระวังอีกอย่างหนึ่งก็คือ หากนายจ้างยังไม่มีคำสั่งเลิกจ้างก็ต้องไปทำงานตามปกตินะครับ ห้ามปฎิเสธ มิเช่นนั้น จะเป็นว่าท่านไม่ไปทำงานเกินกว่าสามวัน ถือเป็นละทิ้งหน้าที่ นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่จ่ายเงินใดๆได้ครับ

ขอให้โชคดีครับ
ทนายพร.[/size]

322
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: สอบถามครับ
« เมื่อ: เมษายน 06, 2020, 03:22:01 pm »
เมื่อพูดถึงลิขสิทธิ์หลายท่านก็ยังงงๆ ว่า คืออะไร เอาเป็นว่า งานที่เราได้เป็นผู้สร้าง จัดทำ ย่อมเป็นงานของเรา ถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่กฎหมายคุ้มครองผู้สร้างสรรค์งานแต่เพียงผู้เดียวในการเผยแพร่ ทำซ้ำ หรือดัดแปลงงานที่สร้างสรรค์ หากผู้ใดทำซ้ำ หรือนำไปหาผลประโยชน์ก็ถือว่ามีความผิด แต่งานที่มีลิขสิทธิก็ได้รับการยกเว้นในบางเรื่อง เช่นการศึกษาวิจัย อันมิใช่การแสวงหากำไร , การใช้เพื่อประโยชน์ตนเองหรือครอบครัว , ใช้ประโยชน์ในทางศาล ฯลฯ ซึ่งสามารถศึกษาได้ในมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ พ.ศ.๒๕๓๗

ถ้าหากเรารู้อยู่แล้วว่างานนั้นมีลิขสิทธิแล้วเรายังไป
(1) ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ
(2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
(3) แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์
(4) นําหรือส่ังเข้ามาในราชอาณาจักร

ผู้ทำย่อมมีความผิดและต้องได้รับโทษ

แต่เท่าที่อ่านจากเรื่องราว ก็ไม่ต้องไปกังวลครับ หากเราไม่เอาไปขาย เพราะเรื่องนี้ฟ้องพิสูจน์ยากอยู่ครับ ไม่ต้องกังวลไปครับ

เอาเป็นว่าตั้งใจศึกษาหาความรู้ไป เลิกคิดเรื่องนี้เลย หากมีปัญหาเรื่องนี้โทรหาทนายเลยครับ เดี๋ยวช่วยเหลือโดยไม่คิดค่าทนายเลยครับ

เย็นใจได้

ทนายพร.

323
โดนจับยาเสพติดสองครั้ง ครั้งแรกประกันตัวรอขึ้นศาล และครั้งที่ ๒ โดนล่อซ์้อจับกัญชา ซึ่งกัญชาถือเป็นยาเสพประเภท ๕ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ แล้วถามมาว่า จะรอดมั๊ย?

อืม...รอดกับไม่รอด นี่น่าจะเป็นรอดจำคุกกระมัง!

เอาเป็นว่า แยกทั้งสองเรื่องออกจากกันแล้วค่อยมารวมอีกที เพื่อจะได้คำตอบที่กระจ่างชัด

คดีแรก เป็นครอบครองยาเสพติดประเภท ๑ มีโทษ ๑ - ๑๐ ปี โดยทั่วไปศาลมักลง ๔ ปี รับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึง คงเหลือ ๒ ปี เมื่อไม่เกิน ๕ มี ศาลจะใช้ดุลพินิจในการรอการลงโทษตามมาตรา ๗๘ แห่งประมวลกฎหมายอาญา และภาคฑัณณ์ ๕ ปี ซึ่งถือว่าคดีสิ้นสุดไปแล้ว

ส่วนคดีกัญชา ถือว่าเป็นยาเสพติดประเภท ๕ และมีจำนวนไม่มากนักแต่ติดปัญหาในข้อหา "จำหน่าย" ซึ่งมีโทษสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม มีการปรับปรุงโทษโดยการแก้ไขกฎหมายในปี ๒๕๖๒ แล้ว แต่เดิมมีโทษ ๒-๑๐ ปี แต่ที่แก้ไขใหม่นี้มีโทษ ๑ - ๑๕ ปีและมีโทษปรับด้วย ซึ่งถือว่าฐานมีโทษฐานล่างน้อยลงกว่ากฎหมายเก่า ซึ่งเมื่อเทียบกับปริมาณที่ครอบครองแล้ว อาจได้รับโทษขั้นต่ำก็เป็นได้ ทั้งนี้แล้วแต่ดุลพินิจของศาลนะครับ

ดังนั้น ที่ถามมาว่า จะรอดมั๊ย...ดูแล้วก็อาจจะรอดถ้ารับสารภาพ และอาจจะถูกลงโทษปรับค่อนข้างสูงนะครับ

แต่สบายใจได้ อัยการคงจะไม่ขอให้นับโทษต่อ หรือถ้านับโทษต่อศาลก็คงยกคำขอในส่วนนี้เพราะระยะเวลามันได้ล่วงพ้นไปแล้ว

ยังงัยก็ไปลุ้นดุลพินิจของศาลอีกครั้งนะครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.


324
อ่านแล้วก็เสียวแทนว่า ที่เซ็นต์ไปคืออะไร มีเงื่อนไขอย่างไร จะเป็นการเซ็นต์ตัดสิทธิ์ฟ้องร้องหรือไม่

เอาเป็นว่า เวลาจะเซ็นต์อะไร ก็ดูหน่อยนะครับว่าทำให้เราเสียสิทธิหรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจให้ถามผู้รู้ซะให้เรียบร้อยก่อน จะได้ไม่เสียใจภายหลังนะครับ

เอาล่ะ..ตอบตามที่ถามก็แล้วกัน...ถามมาว่า "ผมทำงานมาเกิน 1 ปี ผมมีสิทธิ์ได้เงินชดเชยตามกฏหมาย 90 วันหรือไม่ครับ หรือเพราะผมเซ็นเอกสารตัวที่ว่าไป ผมเลยจะไม่ได้อะไร ซึ่งถ้าไม่เซ็นบริษัทก็อาจจะให้ออกเลยสิ้นเดือน แต่ถ้าอยู่ต่อเค้าอาจจะไม่ไล่ออก ผมเลยต้องเซ็น"

อืม ชีวิตลูกจ้างอยู่บนความเสี่ยงที่จะตกงานได้ตลอด เช่นเครสนี้ ก็น่าเป็นห่วง เพราะเป็นเซลล์ขายสินค้า ซึ่งสถานการณ์ในขณะนี้ ต้องบอกว่า เป็นเรื่องที่ยากมาที่จะทำยอดขายให้ได้ เว้นแต่กลุ่มสินค้าเกี่ยวกับแอลกอฮอล์ หรือหน้ากากอนามัย พวกนี้ นอกนั้น ขอกได้เลยว่าคนซื้อก็ต้องคิดหนักว่าจะซื้อหรือไม่ สู้เก็บเงินสดไว้ใช้ยามจำเป็นดีกว่า ก็จะทำให้สถานการณ์ของเซลล์สั่นคลอนมากขึ้นไปอีก เช่นนี้แล้ว ก็คงไม่มีทางเลือกเมื่อเซ็นไปแล้ว

เอาเป็นว่า ถ้าเอกสารที่เซ็นไปไม่เป็นการสละสิทธิ์ หากถูกเลิกจ้างก็ต้องได้รับค่าชดเชยแน่นอนครับ หากบริษัทไม่จ่ายก็ไปร้องพนักงานตรวจแรงงานให้มีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายก็เท่านั้นครับ ง่ายๆ

แต่ถ้าเป็นการเซ้นเพื่อสละสิทธิ์อันนี้ต้องเอาเอกสารนั้นมาดูครับว่าจะไปต่อได้หรือไม่ ในชั้นนี้คงตอบแบบฟันธงให้ไม่ได้ครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.


325
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: สวัสดีค่ะ ทนายพร
« เมื่อ: เมษายน 06, 2020, 02:00:23 pm »
การกระทำของร้านจะมีความผิดหรือไม่ ดูที่เจตนาเป็นสำคัญครับ ซึ่งเรื่องนี้ เท่าที่อ่านมีประเด็นปัญหาว่า ทางร้านฉ้อโกงหรือผิดสัญญาซื้อขายหรือไม่

แน่นอนว่า สิ่งแรกที่ต้องไปพิจารณาดูคือเงื่อนไขของของแถมนั้น ว่าได้กำหนดลักษณะหรือคุณสมบัติเฉพาะหรือมีเงื่อนไขอื่น เป็น การเปลี่ยนแปลงของแถมเป็นดุลพินิจของทางร้าน หรือของแถมจะแถมให้จนกว่าของจะหมด เป็นต้น ซึ่งเงื่อนไขนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ผู้ขายจะต้องแจ้งให้กับผู้บริโภคหรือผู้ซื้อได้รับทราบเพื่อตัดสินใจว่าจะซื้อสินค้านั้นหรือไม่

หากไม่มีเงื่อนไขดังกล่าว และของแถมเป็นสิ่งจูงใจที่ทำให้เราตัดสินใจซื้อสินค้านั้น แล้วผู้ขายผิดสัญญา ก็ถือว่า ผู้ขายผิดสัญญาซื้อขาย สามารถฟ้องต่อศาลได้ครับ ส่วนฟ้องแล้วจะคุ้มกับมูลค่าของสินค้าหรือไม่นั้น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องพิจารณา หรือถ้าไม่อยากให้ผู้ขายไปทำกับคนอื่นอีกก็น่าสนใจครับ

ส่วนผู้ขายจะผิดอาญาข้อหาฉ้อโกงหรือไม่นั้น  ประเด็นนี้ตอบยากครับ เพราะข้อหาฉ้อโกงเป็นเจตนา "ภายใน" ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของการกระทำความผิดอาญา หากว่าผู้ขายมีเจตนาที่จะไม่ให้ของแถมหรือไม่มีของแถมตามที่ได้ประกาศขายตั้งแต่ต้น เพื่อหวังว่า ผู้ซื้อเห็นของแถมแล้วจะตัดสินใจซื้อ เช่นนี้ ก็ถือว่า ผู้ขายมีเจตนาที่จะหวังหลอกลวงเอาเงินหรือทรัพย์สินด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือผู้ซื้อก็เข้าองค์ประกอบฐานฉ้อโกงแล้ว ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ลองพิจารณาดูครับว่าเข้าเงื่อนไขมั๊ย หากเข้าก็ยังมีปัญหาอีกว่า คดีนี้ขาดอายุความแล้วหรือยัง เพราะคดีที่เป็นความผิดต่อส่วนตัว เช่น ฉ้อโกง คดีเช็ค ยักยอก ฯลฯ มีอายุความ ๓ เดือน หมายความว่า หากรู้ตัวว่าถูกฉ้อโกงแล้วต้องรีบฟ้องต่อศาลภายใน ๓ เดือนนับแต่วันที่รู้ หรือไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนภายใน ๓ เดือน จะได้ไม่ขาดอายุความครับ

หรือไม่ก็ลองไปปรีกษากับ สคบ.อย่างที่ "มโนธรรม" แนะนำก็เป็นหนทางที่น่าสนใจครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.

326
อธิบายมาพอเข้าใจได้ แล้วตั้งคำถามแบบรวมๆมาว่า "กรณีนี้ ผมสามารถถูกหักค่าเสียหายเพิ่มเติม? โดยที่มีคำสั่งให้ยุติการทำงานได้หรือไม่ครับ? และ ผมอยู่ในสถานะที่เสี่ยงต่อการเบี้ยวค่าจ้างใช่หรือไม่ครับ? หากเป็นตามนั้น ผมมีสิทธิเรียกร้องหรือผ่อนปรนใดๆได้บ้าง?...

อืม นั่งอ่านอีกรอบก็พยายามคิดว่า ผู้ถามคงสับสนกับสิทธิที่ควรได้ กับหน้าที่ที่ต้องจ่ายค่าเสียหายกรณีที่ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายหรือไม่อย่างไร คงประมาณนี้

เอาเป็นว่า  ถ้าถามว่า ลูกจ้างจะถูกหักค่าเสียหายหรือไม่ นั้น กฎหมายห้ามหักค่าจ้างของลูกจ้าง เว้นแต่หักค่าจ้างตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ประกอบด้วย
(๑) ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้

(๒) ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงงาน

(๓) ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันกับสหกรณ์ออมทรัพย์หรือหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียว โดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง

(๔) เป็นเงินประกันตามมาตรา ๑๐ หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

(๕) เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม

การหักตาม (๒) (๓) (๔) และ (๕) ในแต่ละกรณีห้ามมิให้หักเกินร้อยละสิบและจะหักรวมกันได้ไม่เกินหนึ่งในห้าของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกำหนดเวลาการจ่ายตามมาตรา ๗๐ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

จะเห็นได้ว่า ใน (๔) นั้น นายจ้างสามารถหักเพื่อชดใช้ค่าเสียหายได้ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับความยินยอมจากเราเสียก่อน คำถามคือ เราไปเซ็นต์ยินยอมแล้วหรือไม่ ถ้ายังไม่เซ็นต์ ก็หักไม่ได้ หรือถ้าหักไป ก็เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายครับ

ถามต่อไปว่า...มีคำสั่งให้หยุดการทำงานได้หรือไม่? อันนี้แหละเป็นปัญหา ทำไมถึงบอกว่าเป็นปัญหา เพราะต้องดูว่า คนที่สั่งให้หยุดงานนี้เป็นใคร? ตำแหน่งอะไร? เพราะข้อเท็จจริงมีเพียงว่าเป็นผู้ที่ออกคำสั่งคือภรรยานายจ้าง ถึงแม้ว่าโดยพฤติกรรมจะมีอำนาจมากกว่านายจ้าง (ฮา) ก็จะถือว่าเป็นนายจ้างไม่ได้นะครับ ต้องดูว่าภรรยานายจ้างเป็นกรรมการบริษัทหรือไม่ หรือมีพฤติกรรมที่แสดงว่าเป็นการกระทำการแทนนายจ้าง อันจะถือว่าเป็นนายจ้างและมีอำนาจแทนนายจ้าง ถ้าไม่ใช่ ก็จะมีปัญหาเพิ่มขึ้น หากนายจ้างให้การต่อสู้ว่า เค้าไม่ได้สั่งให้หยุดงาน แต่เป็นเราที่ไม่ได้ไปทำงานเกินกว่า ๓ วัน จึงเป็นการขาดงานละทิ้งหน้าที่ ยากเลยทีนี้ ฉนั้น คำถามนี้ ขอคำอธิบายเพิ่มจึงจะตอบคำถามได้อยางฟันธง ครับ

ถามอีกว่า...ผมอยู่ในสถานะที่เสี่ยงต่อการเบี้ยวค่าจ้างใช่หรือไม่ครับ หากเป็นตามนั้น ผมมีสิทธิเรียกร้องหรือผ่อนปรนใดๆได้บ้าง?  ก็ตอบว่า ไม่ต้องไปกังวลเลยครับว่าจะถูกเบี้ยวค่าจ้าง เพราะคำตอบแรกได้อธิบายไว้แล้วว่า นายจ้างไม่มีสิทธิหักค่าจ้างเราถ้าเราไม่ยินยอม เมื่อนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง ก็ไปยืนคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ที่เรียกกันว่า คร.๗ ให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่ง และขอแนะนำว่า เวลายื่นคำร้องนอกจากจะขอให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแล้วก็อย่าลืมเรียกดอกเบี้ย และเงินเพิ่มที่กำหนดไว้ในมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติ่คุ้มครองแรงงานด้วยนะครับ

ส่วนกรณีที่นายจ้างอ้างว่าเราทำให้นายจ้างเสียหาย เป็นคนละเรื่องกับการจ่ายค่าจ้าง ดังนั้น หากนายจ้างได้รับความเสียหายก็ชอบที่จะนำเรื่องนี้ไปฟ้องต่อศาลเพื่อเรียกค่าเสียหายเป็นคดีต่างหาก และนายจ้างต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าค่าเสียหายนั้นเกิดจากการกระทำของเรา ศาลจึงจะตัดสินให้แต่จะให้เท่าใหร่เป็นดุลพินิจของศาล ถ้านายจ้างพิสูจน์ไม่ได้ ศาลก็ยกฟ้องครับ

ส่วนประเด็นมาทำงานกี่วัน อันนี้เป็นข้อเท็จจริงที่ต้องพิสูจน์กัน ก็ไม่ยากครับ หากเรามาทำงานจริงๆ ต้องมีหลักฐานการมาทำงานแน่ๆ เช่น มีคนแถวบ้านเห็นเราออกไปทำงาน มีใบเสร็จค่าทางด่วน หรืออะไรก็ได้ที่แสดงว่าวันนั้นเรามาทำงาน ซึ่งหลักฐานเล่านี้ สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแรงงานรวมทั้งชั้นพนักงานตรวจแรงงานได้ ไม่ยากครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

327
หลังจากห่างหายการตอบคำถามไปซักพักนึง เนื่องจากติดภารกิจยื่นฟ้องให้ลูกจ้างกว่าหกร้อยคน ตอนนี้พร้อมเข้ามาตอบคำถามแล้ว และใครที่ยังมีปัญหาหรือข้อสงสัยก็สอบถามมาได้นะครับ

เอาละ มาเข้าเรื่องเลย


ถามมาว่า...ถ้าฟ้องเรียกค่าชดเชยมีโอกาสชนะไหมครับ เพราะบริษัทบอกว่าปรึกษาทีมกฏหมายบริษัทแล้วว่าไม่จ่ายชดเชยก็ได้ครับ?
ตอบว่า ถ้าเลิกจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชย และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า (ถ้าบอกกล่าวถูกนะครับ) เว้นแต่เราจะไปเขียนใบลาออกเอง อย่างนี้ก็จะไม่ได้ค่าชดเชยนะครับ

2.เราต้องทำยังไงถึงจะได้เงินชดเชยครับ ตอนนี้บริษัทให้เขียนใบลาออก แต่ผมยังไม่ได้เขียนครับ
ตอบ ดีแล้วที่ไม่เขียนครับ แต่ไม่ทราบว่าขณะตอบคำถามนี้จะทันหรือเปล่านะ เเต่เอาเป็นว่า ถ้าหากอยากได้ค่าชดเชยก็ไม่ยากครับ ถ้าการย้ายนั้น ทำให้การดำรงชีวิตของเราเปลียนไป เช่น มีภาระต้องไปส่งลูกไปโรงเรียนในตอนเช้า เเต่เมื่อย้ายไปทำงานที่ใหม่ จะไม่มีใครไปส่งลูก อย่างนี้ก็ถือว่ามีผลต่อการดำรงชีวิตของเราแล้ว ดังนั้น หากเห็นว่าการย้ายสถานประกอบกิจการดังกล่าวมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของเราหรือครอบครัวของเราและไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่ ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ปิดประกาศ เน้น ย้ำว่า ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้นายจ้างทราบภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันปิดประกาศ ซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามอายุงานที่เราปฎิบัติงานมาตามมาตรา ๑๑๘ ละครับ ซึ่งการย้ายสถานประกอบกิจการนี้ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๒๐ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ แก้ไขเพิ่มโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒ ก็ไปศึกษาเพิ่มเติมได้ครับ

ขอให้โชคดีครับ
ทนายพร.
[/color][/size]

328
ตอบตามที่ถามเลยนะครับ
ที่ถามมาในข้อ ๑ การนับวันผิดนัด...ที่คุณเข้าใจนะถูกแล้ว สิงหาคม ๕๗ คือวันผิดนัดที่จะทำให้โจทก์ใช้สิทธิ์ฟ้องได้  อายุความ ๕ ปี นับแต่วันผิดนัดคือสิงหาคม เมื่อโจทก์ฟ้องในวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๖๒ หนี้นี้จึงขาดอายุความแล้ว การขาดอายุความต้องยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้นะครับ ศาลยกขึ้นเองไม่ได้
ส่วนประเด็นได้รับหมายศาลหรือไม่ เป็นประเด็นเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่จะต้องไปพิสูจน์ว่าเราไม่รู้เรื่องการฟ้อง ก็มีสิทธิที่จะขอให้ศาลหยับยกคดีนี้ขึ้นมาพิจารณาคดีใหม่ได้ แต่ต้องยื่นคำร้องตามที่กฎหมายกำหนดนะครับ

ข้อ ๒ ตอบว่า...ถ้าจะไกล่เกลี่ยก็ไปที่ศาลเลยครับ ซึ่งเมื่อไกล่เกลี่ยได้ศาลก็จะมีคำพิพากษาตามยอม...แต่ที่ทนายสงสัยคือถ้าจะยกอายุความขึ้นต่อสู้ก็ไม่ต้องไปไกล่เกลี่ยครับ แต่อาจจะถูกมองว่า กู้เงินเค้าแล้วไม่ใช้คืน ก็ต้องทนเอาหน่อยนะครับ

ข้อ ๓ ตอบว่า...ปกติทนายความโจทก์ก็จะได้รับยอดสำหรับการเจรจามาแล้วครับ อยู่ที่ว่าหนี้ก้อนนี้ได้ดอกเบี้ยมาเท่าไหร่แล้ว ส่วนใหญ่ก็จะลดให้ ๓๐ - ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของยอดฟ้องครับ ทั้งนี้ก็อยู่ที่การเจรจาครับ

ข้อ ๔. ตอบว่า...อืมมมม....อยู่ที่คุณเลยครับว่าจะเชื่อทนายคนใหน...ฮา ;D ;D ;D
ถ้าไม่ไป ก็เต็มตามฟ้อง ถ้าไปก็เจรจาลดยอดได้ หรือถ้าสู้ก็ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ถ้าชนะก็ไม่ต้องจ่ายซักบาท ตัดสินใจเอาครับ

ข้อ ๕. ตอบว่า...ถ้าเป็นเจ้าบ้าน กฎหมายสันนิฐานว่าเป็นเจ้าของบ้านนั้น เมื่อเป็นเจ้าของก็ยึดบ้านและทรัพย์สินที่อยู่ในบ้านได้ครับ ส่วนใครจะมากล่าวอ้างว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของจำเลยก็ต้องไปยื่นคำร้องขอปล่อยทรัพย์หรือขอกันส่วนตามกฎหมายต่อไปครับ ส่วนที่ดินถ้าตรวจสอบแล้วไม่มีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของก็ยึดไม่ได้ครับ ยึดได้แต่บ้านกับทรัพย์สิน ถ้าเป็นบ้านไม้นี่ถูกยึดแน่ครับ แต่ถ้าบ้านปูนก็อาจจะไม่ยึด น่าจะไม่คุ้มเพราะรื้อถอนแล้วคงจะไม่ได้อะไร

ครบถ้วนแล้วนะครับสำหรับคำถาม หรือถ้ายังมีข้อสงสัยก็ถามเพื่อนที่เป็นทนายได้นะครับ น่าจะได้ความกระจ่างได้ครับ ;D

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

329
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: สอบถามเรื่องคดี
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2020, 01:20:31 am »
กว่าทนายจะเข้ามาตอบก็น่าจะเกินวันขึ้นศาลไปแล้ว 

แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีทนายอาสาที่ช่วยทำคดีให้ก็เบาใจไปเปลาะหนึ่งละครับ เพราะทนายอาสาก็มีความรู้ความสามารถทางคดีและจบจากสำนักอบรมแห่งวิชาว่าความเหมือนๆกับทนายทุกท่านนี้แหละครับ

ส่วนที่ถามว่า พนักงานสอบสวนไม่ทำสำนวน ๑๐๐/๒ (หลายท่านอาจสงสัยคือไรว๊าาา...๑๐๐/๒ อธิบายง่ายๆคือ พาตำรวจขยายผลไปจับคนอื่น เช่น ล่อจับคนขายรายย่อยได้ แล้วให้ผู้ถูกจับพาไปจับคนขายที่คนถูกจับไปซื้อมา) ก็ไม่ใช่เหตุในชั้นฟ้องนี้นะครับ แต่ถ้ามีการนำพาไปจริงเป็นเหตุบรรเทาโทษนะครับ ต้องให้ทนายความแถลงต่อศาลและสืบประกอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อให้ศาลใช้ดุลพินิจ

อย่างไรก็ตาม ข้อหาขับเสพ นี้โทษสูงอยู่เหมือนกันนะครับ ซึ่งมีกฎหมายเกี่ยวข้อง ๒ ฉบับ ก็คือ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติจรจาจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งขับเสพโทษตามพระราชบัญญัติจราจรจะสูงกว่าโทษของพระราชบัญญัติยาฯ จึงต้องใช้โทษของ พรบ.จราจรมาลงโทษแก่ผู้ขับรถที่เสพยาเสพติดละครับ

ส่วนการที่จะถูกลงโทษอย่างไรนั้น เป็นดุลพินิจของศาล ตามพฤติการณ์ของผู้ต้องหาแต่ละคนครับ ถ้ากระทำผิดซ้ำซาก ศาลมักจะไม่ค่อยปราณีครับ

เป็นกำลังใจให้และขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

330
คำถามนี้ "มโนธรรม" ได้ตอบให้ไว้อย่างถูกต้องแล้วครับ

ทนายพร.

หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23 24 ... 50