71
ถาม-ตอบปัญหากฎหมาย / Re: นายจ้าง ( HR , บริษัท ) ไม่ยอมจ่ายค่าชดเชย
« กระทู้ล่าสุด โดย ทนายพร เมื่อ มกราคม 12, 2023, 12:08:06 pm »บางคำถามก็เป็นคำตอบอยู่ในตัวแล้ว อย่างไรก็ตาม ถามมาก็ตอบไปตามสไตล์ทนายพรล่ะครับ
ถามมาว่า...
1.ถ้าจ้างออกสิ่งที่เราควรจะได้รับมีอะไรบ้างคะ
ตอบ ค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ โดยคำนวณตามอายุงานครับ
2.ในกรณีนี้ค่าตกใจ ควรได้กี่เดือนคะ ( อ่านมาว่าถ้าปรับโครงสร้างบริษัท ต้องได้ค่าตกใจ 2 เดือน จริงหรือไม่คะ )
ตอบ ค่าตกใจ หรือเรียกในทางกฎหมายว่า ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามาตรา ๑๗ โดยต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือก่อนจะถึงกำหนดการจ่ายค่าจ้างเพื่อให้มีผลการเลิกจ้างในคราวถัดไป ดังนั้น จะตอบว่าได้กี่เดือน จะต้องดูก่อนว่าได้บอกกล่าวเลิกจ้างเราเมื่อใด? จ่ายค่าจ้างเป็นเดือนหรือเป็นวิค หรือจ่ายเป็นรายวัน เพื่อพิจารณาว่านายจ้างได้บอกและจ่ายค่าตกใจได้ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ส่วนที่วงเล็บมาว่าค่าตกใจกรณีปรับโครงสร้างได้ ๒ เดือนนั้น ไม่จริงนะครับ)
3.ถ้าบริษัทให้ออกวันที่ 4 มกราคม เงินเดือนในเดือน มกรา เราต้องได้เต็มจำนวนหรือไม่คะ
ตอบ แหมๆๆๆ....จะเอาเต็มเดือนเลยรึ (หยอกๆ) ค่าจ้างตามกฎหมายแล้วจะจ่ายให้เฉพาะวันที่มาทำงาน ดังนั้น เมื่อออกวันที่ ๔ ก็จะได้แค่วันที่ ๔ นะครับ
4.ค่าชดเชยที่ได้ 3 เดือนใช่มั๊ยคะ
ตอบ ไม่ถูกครับ ที่ถูกคือ ๙๐ วันครับ ...อ้าวทนาย..มันต่างกันตรงใหน? ก็ตอบว่า ต่างกันตรงวันกับเดือนนี่แหละครับ เมื่อกฎหมายกำหนดเป็นวันก็ต้องเปลี่ยนค่าจ้างรายเดือนมาเป็นรายวันก่อน โดยใช้ ๓๐ มาหารก็จะได้ค่าจ้างรายวันแล้วก็คูณด้วย ๙๐ จะเห็นว่า จำนวนเงินไม่เท่ากันนะครับ คำนวณ ๙๐ วันจะน้อยกว่าเป็นจุดทศนิยม สรุปคือ คิดง่ายๆก็ ๓ เดือนนั่นแหละ ง่ายดี
5.ถ้าบริษัทจ้างออกจะเสียประวัติจริงหรือไม่คะ
ตอบ เสียประวัติอะไร? คุณทำอะไรผิดหรือ? ถ้าไม่ได้ทำผิดอย่าได้กลัวไปครับ เป็นคำขู่ของนายจ้างที่เป็นลูกไม้ทั่วๆไป หากไม่ได้ทำผิดก็ให้บริษัทเลิกจ้างไปเลยครับ เว้นแต่มีความผิดก็ว่ากันไปอย่างนะครับ และแน่นอนว่าหากถูกเลิกจ้างด้วยเหตุปรับโครงสร้างองค์กร หากเหตุผลยังไม่ชัดเจนว่าเหตุใดจึงต้องปรับโครงสร้าง กิจการไม่ได้ขาดทุนและเป็นการเลือกปฎิบัติ อาจเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พรบ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ มีสิทธิ์เรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้อีก และมีสิทธิได้รับเงินว่างงานร้อยละ ๕๐ จากประกันสังคมอีกด้วยครับ
6.หลักฐานพวกคลิปอัดเสียงที่คุยกับ HR หรือการต่อรองเจรจาที่เค้าบังคับให้เราเขียนใบลาออกเอง สามารถนำไปใช้ในชั้นศาลได้หรือไม่คะ ( เพราะไม่บริษัทไม่ส่ง E-mail หรือ ทำหลักฐานไว้ค่ะ เป็นการแจ้งปากเปล่า เลยต้องอัดคลิปเสียงไว้เพื่อป้องกันตัวเอง )
ตอบ เก็บเอาไว้ก่อนครับ เดี๋ยวถึงชั้นศาลค่อยว่ากันครับ
7.ถ้ามีประวัติการทำงานในวันหยุดหรือลาพักร้อน สามารถฟ้องเรียกค่าแรงย้อนหลังได้หรือไม่คะ
ตอบ ทั้งได้และไม่ได้ครับ ที่บอกว่าได้ คือกรณีที่บริษัทมีคำสั่งให้เราไปทำงานในวันหยุด กรณีนี้ได้แน่นอนครับ ส่วนกรณีไม่ได้ คือกรณีที่บริษัทไม่ได้สั่งให้เราไปทำ แต่เราขยันไปทำเอง กรณีเช่นนี้จะไม่ได้นะครับ
คงครบถ้วนนะครับ
ทนายพร
[/color][/size][/size]
ถามมาว่า...
1.ถ้าจ้างออกสิ่งที่เราควรจะได้รับมีอะไรบ้างคะ
ตอบ ค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ โดยคำนวณตามอายุงานครับ
2.ในกรณีนี้ค่าตกใจ ควรได้กี่เดือนคะ ( อ่านมาว่าถ้าปรับโครงสร้างบริษัท ต้องได้ค่าตกใจ 2 เดือน จริงหรือไม่คะ )
ตอบ ค่าตกใจ หรือเรียกในทางกฎหมายว่า ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามาตรา ๑๗ โดยต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือก่อนจะถึงกำหนดการจ่ายค่าจ้างเพื่อให้มีผลการเลิกจ้างในคราวถัดไป ดังนั้น จะตอบว่าได้กี่เดือน จะต้องดูก่อนว่าได้บอกกล่าวเลิกจ้างเราเมื่อใด? จ่ายค่าจ้างเป็นเดือนหรือเป็นวิค หรือจ่ายเป็นรายวัน เพื่อพิจารณาว่านายจ้างได้บอกและจ่ายค่าตกใจได้ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ส่วนที่วงเล็บมาว่าค่าตกใจกรณีปรับโครงสร้างได้ ๒ เดือนนั้น ไม่จริงนะครับ)
3.ถ้าบริษัทให้ออกวันที่ 4 มกราคม เงินเดือนในเดือน มกรา เราต้องได้เต็มจำนวนหรือไม่คะ
ตอบ แหมๆๆๆ....จะเอาเต็มเดือนเลยรึ (หยอกๆ) ค่าจ้างตามกฎหมายแล้วจะจ่ายให้เฉพาะวันที่มาทำงาน ดังนั้น เมื่อออกวันที่ ๔ ก็จะได้แค่วันที่ ๔ นะครับ
4.ค่าชดเชยที่ได้ 3 เดือนใช่มั๊ยคะ
ตอบ ไม่ถูกครับ ที่ถูกคือ ๙๐ วันครับ ...อ้าวทนาย..มันต่างกันตรงใหน? ก็ตอบว่า ต่างกันตรงวันกับเดือนนี่แหละครับ เมื่อกฎหมายกำหนดเป็นวันก็ต้องเปลี่ยนค่าจ้างรายเดือนมาเป็นรายวันก่อน โดยใช้ ๓๐ มาหารก็จะได้ค่าจ้างรายวันแล้วก็คูณด้วย ๙๐ จะเห็นว่า จำนวนเงินไม่เท่ากันนะครับ คำนวณ ๙๐ วันจะน้อยกว่าเป็นจุดทศนิยม สรุปคือ คิดง่ายๆก็ ๓ เดือนนั่นแหละ ง่ายดี

5.ถ้าบริษัทจ้างออกจะเสียประวัติจริงหรือไม่คะ
ตอบ เสียประวัติอะไร? คุณทำอะไรผิดหรือ? ถ้าไม่ได้ทำผิดอย่าได้กลัวไปครับ เป็นคำขู่ของนายจ้างที่เป็นลูกไม้ทั่วๆไป หากไม่ได้ทำผิดก็ให้บริษัทเลิกจ้างไปเลยครับ เว้นแต่มีความผิดก็ว่ากันไปอย่างนะครับ และแน่นอนว่าหากถูกเลิกจ้างด้วยเหตุปรับโครงสร้างองค์กร หากเหตุผลยังไม่ชัดเจนว่าเหตุใดจึงต้องปรับโครงสร้าง กิจการไม่ได้ขาดทุนและเป็นการเลือกปฎิบัติ อาจเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พรบ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ มีสิทธิ์เรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้อีก และมีสิทธิได้รับเงินว่างงานร้อยละ ๕๐ จากประกันสังคมอีกด้วยครับ
6.หลักฐานพวกคลิปอัดเสียงที่คุยกับ HR หรือการต่อรองเจรจาที่เค้าบังคับให้เราเขียนใบลาออกเอง สามารถนำไปใช้ในชั้นศาลได้หรือไม่คะ ( เพราะไม่บริษัทไม่ส่ง E-mail หรือ ทำหลักฐานไว้ค่ะ เป็นการแจ้งปากเปล่า เลยต้องอัดคลิปเสียงไว้เพื่อป้องกันตัวเอง )
ตอบ เก็บเอาไว้ก่อนครับ เดี๋ยวถึงชั้นศาลค่อยว่ากันครับ
7.ถ้ามีประวัติการทำงานในวันหยุดหรือลาพักร้อน สามารถฟ้องเรียกค่าแรงย้อนหลังได้หรือไม่คะ
ตอบ ทั้งได้และไม่ได้ครับ ที่บอกว่าได้ คือกรณีที่บริษัทมีคำสั่งให้เราไปทำงานในวันหยุด กรณีนี้ได้แน่นอนครับ ส่วนกรณีไม่ได้ คือกรณีที่บริษัทไม่ได้สั่งให้เราไปทำ แต่เราขยันไปทำเอง กรณีเช่นนี้จะไม่ได้นะครับ
คงครบถ้วนนะครับ
ทนายพร
[/color][/size][/size]