24/11/24 - 09:03 am


ผู้เขียน หัวข้อ: ค่าส่วนต่างการเช่าซื้อรถมอร์เตอร์ไซน์  (อ่าน 13913 ครั้ง)

tin.naing.thoo

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
สวัสดีครับอาจารย์  ขออนุญาตสอบถามเรื่องค่าส่วนต่างรถมอร์เตอร์ไซน์ครับ

ตามกดหมายค่าสวนต่างที่ทางไฟแนนซ์คิด ต้องมาจากราคารถหรือเป็นราคารวมดอกเบี้ยที่ต้องผ่อนครับ

พอดีผมได้ผ่อนรถ  Honda Zoomer X ปี2017 ราคารถ 55700 บ. สัณญาต้องผ่อน 36
ผมผ่อนไป 18 งวด ในราคา 2990 บ เป็นเงิน 53820 บ.    พอดีผมไม่ได้จ่าย 2 งวด ไฟล์ส่งหนังสือมา2ครั้ง  เดื่อนแรกเขียนว่าเตือนครั้งที่หนึ่ง ครั้งที่ 2 เขียนว่าเตือนครั้งสุดท้าย แล้วไฟแนนซ์มาเอารถไป คือตามกดหมายต้อง 3 งวดติดๆใช่ไหมครับ แล้วทางไฟแนนซ์ประมูลรถไป แต่ก่อนประมูลไม่ได้แจ้งมานะ แต่หลังประมูลมีหนังสือแจ้งมาว่า ประมูลรถไปได้ราคา 25000บ. ขาดทุนเป็นเงินที่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวน 26188.35 บ.

ค่างวดที่ผ่อนไป 53820 บวก ราคารถที่ประมูลได้ 25000 บ เป็นเงิน 78820 บ.
แต่ทางไฟแนนซ์ว่าขาดทุน ก็เลยงงว่าขาดทุนยังไงแล้วค่าส่วนต่างที่ต้องคิดตามกดหมาย ต้องคิดจากอะไรหรือครับ แล้วผมควรทำอย่างไรดีหรือครับ

ขอขอบพระคุณล่วงหน้าเป็นอย่างสูงครับอาจารย์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 27, 2019, 04:45:49 pm โดย tin.naing.thoo »

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: ค่าส่วนต่างการเช่าซื้อรถมอร์เตอร์ไซน์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2019, 03:22:31 am »
หลายท่านคงเจอปัญหาอย่างนี้ และไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร หรือบางคนก็คิดว่าเอารถไปคืนแล้วทุกอย่างจบ ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรอีก หรือได้รับการบอกหรือแนะนำต่อๆกันมา ซึ่งก็ถูกบ้างไม่ถูกบ้างแล้วค่อยไปว่ากันภายภาคหน้าก็มีเยอะเช่นกัน

เอาเป็นว่า ในเรื่องการเช่าซื้อรถนี้ มีกฎหมายควบคุมเฉพาะ นั่นก็คือ ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.๒๕๖๑ (ฉบับแรกออกปี ๒๕๕๕ / ฉบับที่สองออกปี ๒๕๕๘ และแก้ไขเป็นฉบับปัจจุบัน) โดยทนายสรุปสาระสำคัญประมาณนี้คือ

๑.อัตราดอกเบี้ย สำหรับสินเชื่อเช่าซื้อในลักษณะของการคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก เช่นเดียวกับการคํานวณดอกเบี้ย สินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย โดยคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นคงเหลือในแต่ละงวด ช่วยลดภาระ เงินต้นและเงินดอกให้กับผู้ซื้อรถ และยังช่วยคุ้มครองผู้ค้ำประกันมากขึ้นอีกด้วย
๒.หากรถที่เช่าซื้อสูญหาย ถูกทำลาย ถูกยึด อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยผู้ซื้อไม่ได้กระทำผิด ตามกฎหมายใหม่ ห้ามไฟแนนซ์ฟ้องเรียกค่างวดที่ค้างชำระ รวมทั้งค่าปรับกับผู้เช่าซื้อด้วย
๓.บังคับให้ไฟแนนซ์ หรือผู้ประกอบการให้เช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ต้องใช้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง
๔.หากผู้ให้เช่าซื้อทำการยึดรถไปแล้วก่อนจะนำไปขายทอดตลาดจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าซื้อทราบภายใน ๗ วัน เพื่อให้ผู้เช่าซื้อมีทางเลือกว่าจะชำระต่อหรือไม่ หากไม่ก็จะแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบ ภายใน ๑๕ วัน เพื่อให้ผู้ค้ำได้ตัดสินใจว่าจะชำระแทนหรือไม่หากทำการชำระแทนก็จะมีสิทธิในรถคันนั้นทันที ซึ่งในฉบับเดิมไม่มี
๕.อัตราค่าใช้จ่ายเมื่อมีการติดตามรถ หรือทวงถาม ที่ผ่านมาทางไฟแนนซ์เมื่อก่อนจะคิดจากผู้ซื้อ แต่ต่อไปในฉบับนี้จะไม่มีและไม่สามารถคิดจากผู้ซื้อได้
๖.เมื่อไฟแนนซ์มีการนำรถที่ถูกยึดไปขายทอดตลาดแล้ว กฏหมายบอกว่าไฟแนนซ์จะต้องทำหนังสือให้ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันทราบด้วย
๗.หากได้กำไรไฟแนนซ์จะต้องแบ่งจ่ายส่วนต่างให้ผู้เช่าซื้อด้วย แต่หากขาดทุนผู้เช่าซื้อจะต้องจ่ายส่วนต่างนั้นให้กับผู้ให้เช่า

ส่วนที่ถามมาว่า จะต้องค้างชำระ ๓ งวดแล้วจึงถูกยึดรถที่เช่าซื้อคืนใช่หรือไม่  ทนายก็ขอให้ไปดูในสัญญาที่คุณได้เซ็นต์ไปว่ากำหนดเงื่อนไขไว้อย่างไร ถ้ากำหนดไว้ว่าค้างชำระ ๒ งวดผู้ให้เช่าซื้อสามารถเข้าครอบครองรถคันที่ให้เช่าซื้อคืนได้ ก็คงเป็นไปตามสัญญา

แต่อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็ต้องเกี่ยวพันกับกฎหมายที่ทนายได้ยกไว้ให้ศึกษาข้างต้น ซึ่งบริษัทไฟแนนท์จะต้องดำเนินการในทุกขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนด

ดังนั้น หากไฟแนนท์ไม่ดำเนินการตามที่กำหนด เราก็สามารถปฎิเสธการชำระหนี้ส่วนต่างได้ ซึ่งแนวของศาลในปัจจุบันก็มักจะโน้มเอียงมาทางผู้เช่าซื้อมากขึ้นโดยเฉพาะถ้าเราผ่อนมานานแล้ว หากศาลจะตัดสินก็มักจะไม่ใช่ยอดที่ไฟแนนท์ฟ้องครับ หรือยกฟ้องเลยก็มีเยอะครับ แต่ต้องหาทนายช่วยเหลือในการทำคำให้การและสู้คดีล่ะครับ

ส่วนที่ทำได้ในตอนนี้ คือรอให้ไฟแนนท์ฟ้องมาครับ ไม่แน่ว่าไฟแนนท์อาจจะไม่ฟ้องก็ได้นะครับ เพราะยอดเงินไม่เยอะ ฟ้องไปก็ไม่คุ้มครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.