ถามมาสั้นดี แต่ต้องอธิบายกันยาววววววว....ฮา
เมื่อลูกจ้างตอบตกลงว่าจะเป็นลูกจ้างของนายจ้าง สัญญาจ้างแรงงานเกิดขึ้นในทันทีโดยไม่จำต้องเซ็นต์สัญญาเป็นหนังสือ
แต่การตกลงดังกล่าวต้องได้ข้อสรุปว่า จะจ้างมาทำอะไร ได้ค่าจ้างเท่าไหร่ มีสวัสดิการอะไรบ้าง มีเงื่อนไข/ข้อบังคับ/ข้อห้ามอย่างไรบ้าง ซึ่งต่างๆเหล่านี้ เรียกรวมๆว่า "สภาพการจ้าง"
เมื่อได้ตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไว้อย่างไรแล้ว สภาพการจ้างดังกล่าวมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขจะต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายเสียก่อน หรือต้องไปใช้สิทธิยื่นข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัตแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘ เว้นแต่ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะเป็นคุณ (หมายถึงลูกจ้างได้ผลประโยชน์มากขึ้นกว่าเดิม) แก่ลูกจ้างมากกว่า กรณีเช่นนี้ นายจ้างสามารถเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
ดังนั้น ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม หากการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างในทางที่ลูกจ้างเสียสิทธิประโยชน์ไปจากเดิม กฎหมายห้าม ทำไม่ได้ แต่ก็มีข้อยกเว้นว่า หากลูกจ้าง "ยินยอม" ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้
มาเข้าคำถาม ที่ถามว่า...นายจ้างสามารถลดค่าจ้าง ลดตำแหน่งต่อพนักงานได้ไหมครับ ?
ก็ตอบว่า...ถ้าว่ากันตามกฎหมายแล้ว ลดค่าจ้าง หรือลดตำแหน่ง ทำไม่ได้ เว้นแต่ถ้าลูกจ้างยินยอมก็สามารถลดค่าจ้างหรือลดตำแหน่งได้ครับ
ถามมาเท่านี้ ก็ตอบเท่านี้ แต่ที่ทนายกังวลคือ ถ้าไม่ยอมแล้วจะทำอย่างไรล่ะทีนี้ คงถูกนายจ้างหาทางบีบและกดดันสารพัดแน่ อยู่ที่ว่าลูกจ้างจะทนรับแรงกดดันเช่นนี้ได้หรือไม่เท่านั้น ถ้าคำตอบว่า ได้ ก็ไม่ต้องไปให้ความยินยอม สู้ต่อไป ทาเคชิ!...ฮา แต่ถ้าคำตอบมีว่า..ผมคงทนแรงกดดันไม่ไหวแน่ ..อันนี้ก็คงต้องยอมๆกันไป เพื่อแรงงานสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและช่วยๆบริษัทให้พ้นวิกฤติไป อะไรประมาณนี้
ให้กำลังใจครับ
ทนายพร.