ก่อนที่ทนายจะตอบคำถาม อยากให้ผู้ถามกลับไปดูสัญญาเช่าซื้อโดยอ่านให้ละเอียดว่า ในสัญญานั้นหากเป็นกรณีที่ผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะต้องรับผิดชอบในค่าเสียหายหรือค่าส่วนต่างหรือไม่ เพียงใด และกรณีที่ผู้เช่าซื้อขอยกเลิกสัญญา ผลจะเป็นเช่นไร
ซึ่งทั้งสองกรณีนี้ ผลจะแตกต่างกันมากเลยทีเดียว
หากเป็นกรณีที่เราผ่อนปกติ ไม่ค้างค่างวด และไม่อยากผ่อนต่อแล้ว จึงได้นำรถไปคืน กรณีอย่างนี้ จะถือว่าผู้เช่าซื้อไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้ให้เช่าซื้อ(ไฟแนนท์) จะฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือค่าส่วนต่างไม่ได้
แต่หากเป็นกรณีที่ เราค้างค่างวดเกินกว่า ๓ งวด แล้วไฟแนนท์ส่งคนมายึดรถคืนไป หรือเรียกง่ายๆว่า เราเป็นฝ่ายผิดสัญญา กรณีนี้เรื่องยุ่งล่ะครับ เพราะเมื่อผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญา ไฟแนนท์หรือผู้ให้เช่าซื้อ จึงสามารถเรียกร้องค่างวดและค่าเสียหายต่างๆได้ ซึ่งรวมถึง ค่าส่วนต่างจากการนำรถไปขายทอดตลาดด้วย
ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมด ถูกกำหนดไว้ตาม ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.๒๕๖๑
โดยการออกประกาศดังกล่าวอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ครับ
ดังนั้น ที่ถามว่า จะต้องจ่ายจริงๆใช่มั๊ย? ก็ตอบว่า ถ้าไม่ค้างค่างวดแล้วเอารถไปคืน ก็ไม่ต้องจ่าย และหากถูกฟ้องก็ไปสู้ที่ศาลว่าเราไม่ต้องรับผิดชอบ แต่ถ้าไฟแนนท์มายึด กรณีนี้เราเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงต้องจ่าย ส่วนจะต้องจ่ายเท่าใหร่นั้น ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงอื่นๆประกอบด้วย เช่น การคิดดอกเบี้ย การคิดค่าปรับ รวมทั้งข้อต่อสู้เรื่องการไม่ได้รับเเจ้งในวันขายทอดตลาด เล่านี้ คือ ข้อต่ดสู้หากถูกฟ้องครับ
ทนายพร.