24/11/24 - 00:49 am


ผู้เขียน หัวข้อ: นายจ้างไม่จ่ายชดเชย/จ่ายค่าแรงไม่ครบตามที่ตกลงกัน  (อ่าน 5843 ครั้ง)

evides01

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
นายจ้างไม่จ่ายชดเชย/จ่ายค่าแรงไม่ครบตามที่ตกลงกัน

สวัสดีค่ะคุณทนาย ขออนุญาติรบกวนปรึกษา เรื่องอาจจะยาวหน่อยนะคะ
เนื่องจากแฟนเราทำงานที่บริษัทแห่งหนึ่ง เซ็นสัญญาจ้างด้วยยอดเงิน 13000 บาท แต่เงินเดือนแต่ละเดือนนั้น ได้ไม่เคยถึง 13000 ยอดแต่ละเดือนไม่เท่ากัน ทั้งๆที่เป็นพนักงานประจำ
พอมาช่วงนี้มีสถานการณ์ โควิดระบาด บริษัทให้หยุดงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย ทำให้ต้องหยุดทำงานตั้งแต่เดือนเมษายน จนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังมีเอกสารให้หยุดต่อถึงสิ้นเดือนมิถุนายน แต่วันนี้ หัวหน้างานได้มีการโทรมาแจ้งให้เข้าไปทำงาน โดยบอกว่าถ้าเดือนนี้เข้าไปทำงานเพียงไม่กี่วัน ก็จะให้รวบยอดเงินเดือนไปจ่ายรวมกับเดือนกรกฎาคม ส่วนเงินเดือนของเดือนนี้ให้ไปเรียกร้องเอาที่ประกันสังคม
ซึ่งเราได้มีการเรียกร้องค่าชดเชยกรณีหยุดงานกับทางประกันสังคมไป ตั้งแต่เดือนมีนาคมและได้รับชดเชยแล้วเป็นจำนวน 2 เดือน คือเดือนเมษายนและพฤษภาคม คิดเป็น % ได้ 58% โดยประมาณ บริษัทมีการจ่ายเงิน เพิ่มเติมให้เนื่องจากได้รับเงินจากประกันสังคมล่าช้าเป็นจำนวนเงิน 1000 บาทถ้วน หนึ่งครั้งในเดือน พฤษภาคม

ถามว่า

1. กรณีนี้เราสามารถเรียกร้องให้บริษัทจ่ายส่วนต่างให้ครบ 75% ได้หรือไม่
2. กรณีเรื่องเงินเดือน เนื่องจากเราและแฟนแยกกระเป๋าเงินกัน ทำให้ไม่รู้เลยว่าแฟนได้เงินเดือนไม่ตรงตามสัญญาจ้าง กรณีนี้เราจะทำอย่างไรกับเรื่องที่เงินเดือนได้ไม่ครบ และถูกหักโดยไม่ทราบสาเหตุอย่างไรได้บ้าง
3. เรื่องที่ให้เข้าไปทำงาน โดยอาจจะไม่จ่ายเงินเดือนในเดือนนี้ เราสมควรเข้าไปทำหรือไม่ แล้วถ้าเข้าไปแล้วเดือนนี้ไม่ได้รับค่าจ้าง เราสามารถเรียกร้องได้หรือไม่

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
ถามมาว่า..1. กรณีนี้เราสามารถเรียกร้องให้บริษัทจ่ายส่วนต่างให้ครบ 75% ได้หรือไม่
ตอบ..ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่า ธุรกิจของนายจ้างนั้นทำอะไร และได้รับผลกระทบจาก Covid หรือไม่ และถูกรัฐบาลสั่งปิดหรือหยุกกิจการหรือไม่ ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นข้อเท็จจริงในการวินิจฉัยว่าจะมีสิทธิได้รับเงินตามมาตรา ๗๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ หรือไม่ เพียงใด หากเป็นกรณีที่นายจ้างหยุดกิจการอันมิใช่เนื่องจากเหตุสุดวิสัย ก็ต้องจ่ายร้อยละ ๗๕ ถ้าเป็นกรณีที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งปิดจาก ศบค.หรือใช้อำนาจตาม พระราชบัญญัติโรคติดต่อ ก็ไปใช้สิทธิว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.๒๕๓๓ ในอัตราร้อยละ ๖๒ ดังนั้น คำถามในข้อนี้จึงตอบฟังธงไม่ได้เนื่องจากข้อมูลไม่ครบถ้วนครับแต่แนวข้อกฎหมายก็เป็นไปตามที่ได้อธิบายไปครับ


2. กรณีเรื่องเงินเดือน เนื่องจากเราและแฟนแยกกระเป๋าเงินกัน ทำให้ไม่รู้เลยว่าแฟนได้เงินเดือนไม่ตรงตามสัญญาจ้าง กรณีนี้เราจะทำอย่างไรกับเรื่องที่เงินเดือนได้ไม่ครบ และถูกหักโดยไม่ทราบสาเหตุอย่างไรได้บ้าง
ตอบ..แน่ใจนะครับว่าได้เงินเดือนไม่ครบตามสัญญา ไม่ใช่ว่าแฟนแอบเม้มไว้นะครับ..แฮ่ ;D ;D (ล้อเล่นครับ) เอาเป็นว่า หากได้เงินค่าจ้างไม่ครบตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ ประการแรก ให้สอบถามและทวงถามกับนายจ้างก่อน หากนายจ้างยังไม่จ่าย ก็ให้ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน (คร.๗) เพื่อสั่งให้นายจ้างจ่าย ซึ่งการดำเนินการในขั้นตอนนี้ก็ไม่ยาก  แต่ที่ทนายกังวลคือ หากดำเเนินการไปแล้วแฟนจะรับแรงกดดันจากนายจ้างไหวหรือไม่ และยังจะทำงานกับนายจ้างอย่างมีความสุขหรือไม่ นี้ต่างหากที่ทนายกังวล ก็ลองตรึกตรองดูนะครับว่าแนวทางใหนจะดีกว่ากัน

3. เรื่องที่ให้เข้าไปทำงาน โดยอาจจะไม่จ่ายเงินเดือนในเดือนนี้ เราสมควรเข้าไปทำหรือไม่ แล้วถ้าเข้าไปแล้วเดือนนี้ไม่ได้รับค่าจ้าง เราสามารถเรียกร้องได้หรือไม่
ตอบ..หากนายจ้างสั่งให้เข้าไปทำงาน ก็ต้องเข้าไปนะครับ มิเช่นนั้น จะเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย หากเกินกว่า ๓ วัน นายจ้างก็เลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายเงินค่าชดเชยและไม่มีสิทธิได้รับเงินกรณีว่างงานจากประกันสังคมด้วย เพื่อถูกเลิกจ้างเพราะมีความผิดนั่นเอง

คงครบถ้วนนะครับ หากยังสงสัยก็สอบถามเพิ่มเติมได้

ทนายพร.

oso003w

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
    • http://games-h.com