24/11/24 - 06:37 am


ผู้เขียน หัวข้อ: ออกจากงานกระทันหันนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน  (อ่าน 10836 ครั้ง)

PT.1996

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
เริ่มทำงานวันที่ 1 ออกวันที่ 24 แล้วทางบริษัทเขาบอกว่าให้มาทำถึงสิ้นเดือนถึงจะจ่ายเงินเดือนให้ถ้าไม่มาจะไม่จ่ายเลยเขาบอกว่าทำให้ทางร้านเสียหายไม่เข้าใจว่าเสียหายยังไง คนที่ทำงานที่ร้านก็ยังมีอยู่ ปกติทำ 3 คน มีออกก็เหลือ 2 คน ส่วนเรื่องร้านเสียหายถ้ามีอะไรเสียหายทำไมเขาไม่holdเงินไว้แล้วหักไปแล้วจ่ายที่เหลือ ถ้าอย่างนี้เราร้องเรียนกรมแรงงานได้ไหม

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
Re: ออกจากงานกระทันหันนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 26, 2020, 12:21:02 pm »
การทำงาน

   ถ้าจำเป็นต้องลาออก  ก็ต้องแจ้งล่วงหน้า  ถ้าไม่แจ้งล่วงหน้า   นายจ้าง  อาจจะเกิดความเสียหาย ที่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้  การไม่จ่ายค่าจ้าง ถือเป็นมาตรการเรียกร้องค่าเสียหายแบบหนึ่ง มุมมองของลูกจ้างอาจไม่เกิดความเสียหาย แต่ในมุมมองของนายจ้างอาจเกิดความเสียหายขึ้นได้  จึงมีหลักเกณฑ์ของกฎหมาย เพื่อป้องกันปัญหาทั้งสองฝ่าย...

กฎหมายที่ใช้อ้างอิง...
 พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ
มาตรา ๑๗  สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

  ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินสามเดือน  ทั้งนี้ ให้ถือว่าสัญญาจ้างทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาด้วย

    การบอกเลิกสัญญาจ้างตามวรรคสอง นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้างให้ตามจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าวและให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีได้

   การบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรานี้ไม่ใช้บังคับแก่การเลิกจ้างตามมาตรา ๑๑๙ แห่งพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา ๕๘๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: ออกจากงานกระทันหันนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2020, 01:39:01 pm »
อัยยะ...เครสนี้ นายจ้างจะหาเรื่องเบี้ยวค่าจ้างละซิ..

เอาเป็นว่า กฎหมายแรงงานมีเจตนารมณ์ในการคุ้มครองลูกจ้าง เมื่อทำงานก็ย่อมได้ค่าจ้าง

เมื่อถึงกำหนดการจ่ายค่าจ้างแล้ว นายจ้างไม่จ่าย ก็ให้ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ณ สถานที่ที่เราทำงานอยู่ ไปบอกว่านายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง ขอให้ออกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้ พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๑๕ ต่อปี และเงินเพิ่มอีกร้อยละ ๑๕ ทุกระยะ ๗ วัน  ไม่ยากๆ

ส่วนที่นายจ้างบอกว่าได้รับความเสียหาย นั้น ก็เป็นคนละเรื่องกัน หากนายจ้างเห็นว่าเสียหายก็ไปใช้สิทธิในทางศาลในการฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นอีกเรื่องต่างหาก จะมาหักค่าจ้างไม่ได้ครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.