เข้าใจว่าผู้ถามน่าจะมีความสับสนเกี่ยวกับกฎหมาย ๒ ฉบับ นั้นก็คือ
๑.ป่วยตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้ไม่เกิน ๓๐ วัน กับ
๒.ป่วยตาม พรบ.กองทุนเงินทดแทน พ.ศ.๒๕๓๗ ท
ซึ่งหากเป็นการเจ็บป่วยจากการ "ทำงานให้นายจ้าง" นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างตลอดระยะเวลาที่หยุดงานในอัตราร้อยละ ๗๐ ของค่าจ้าง
ดังนั้น หากเกิดจากการทำงาน ก็ต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้าง เเม้ครบ ๑ ปี ก็ใช้สิทธิของปีถัดไป สรุป ก็คือจ่ายจนกว่าจะหายนั่นแหละครับ
ทนายพร.