โห...คำถามนี่กว้างมากเลยนะครับ
เอาเป็นว่าอธิบายให้เข้าใจว่า แต่ละประเทศจะมีอธิปไตยเป็นของตนเอง ซึ่งระบบยุติธรรมก็เช่นกัน การออกกฎหมายของแต่ละประเทศก็ไม่เหมือนกัน เช่น ประเทศอังกฤษ ใช้ระบบไต่สวนโดย "คณะลูกขุน" ความผิดจะอยู่ที่คณะลูกขุนพิจารณาว่าการกระทำดังกล่าวมีความผิดหรือไม่ แตกต่างกับประเทศไทยที่ใช้ผู้พิพากษาในการพิจารณาตัดสินตามตัวบทกฎหมายที่เขียนไว้ ยกตัวอย่างเช่น แม่ลักทรัพย์ซึ่งเป็นนมราคา ๗ บาทมาให้ลูกกิน ถ้าเป็นกฎหมายไทยมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท ซึ่งจะมีโทษเท่ากับนาย ก.ลักทีวี ซึ่งศาลก็จะใช้ฐานความผิดเดียวกันมาลงโทษ แต่ถ้าเป็นประเทศอังกฤษ แม่ที่ลักนม อาจจะไม่ถูกลงโทษเลยก็ได้ เป็นต้น
ที่อธิบายไว้ยืดยาวนั้น ก็จะบอกว่า ในแต่ละประเทศกฎหมายต่างกัน
ของประเทศไทยเราก็จะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานอยู่หลายเล่ม เช่น พรบ.การทำงานของคนต่างด้าว , พรบ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน , พรบ.คนเข้าเมือง เป็นต้น
ดังนั้น หากจะรู้คำตอบก็ต้องอธิบายรายละเอียดมาด้วย เช่น ถูกจับที่ประเทศอะไร เข้าประเทศนั้นได้อย่างไร พักอาศัยอย่างไร ไปทำงานอะไร เพื่อจะได้หาคำตอบให้ได้ครับ
ทนายพร.