23/11/24 - 20:54 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: นายจ้างย้ายสถานประกอบการไปต่างจังหวัด  (อ่าน 2668 ครั้ง)

tom_079

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
เรียนถามพี่ทนายครับ ถ้าในกรณีนายจ้างย้ายสถานประกอบการจาก กรุงเทพ ไป ฉะเชิงเทรา ในคดีแรงงานมีแนวทางอย่างไรได้บ้างครับ

 - รายละเอียด เนื่องจากปกติการเดินทางมาทำงานด้วยจักรยานยนต์ 7.6 กม. ใช้เวลาเดินทางเพียง 15 นาที เปลี่ยนเป็นต้องใช้รถยนต์ส่วนตัวจาก กรุงเทพ ไป ฉะเชิงเทรา เป็นระยะ 58 กม. ใช้เวลาเดินทางเพิ่มขึ้น 1-1.5 ชม. นายจ้างให้เงินเหมาจ่าย 4,000 บาท/เดือน ซึ่งไม่เพียงพอต่อการเดินทางและการจราจรค่อนข้างติดขัด
   ตัวผมเองได้รับผลกระทบในการดำรงชีพปกติ จึงทำหนังสือแจ้งนายจ้างก่อนย้ายสถานประกอบการ 30 วัน ซึ่งนายจ้างแจ้งการย้ายสถานประกอบการผ่านอีเมลเป็นหลัก ไม่มีการติดประกาศที่บอร์ดประชาสัมพันธ์ ผมจึงไม่ต้องการย้ายตามนายจ้างและต้องการค่าชดเชยเลิกจ้าง
   ระหว่างการฟ้องคดี ทราบว่านายจ้างไม่ได้ยื่นอุธรณ์ต่อคณะกรรมการสวัสดิการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นผู้วินิจฉัย ประเด็นผล
กระทบในการดำรงชีพปกติต่อลูกจ้างคนที่ไม่ไปทำงาน
   ปัจจุบันผมได้ใบผ่านงานเป็นวันออกตรงกับวันนายจ้างย้ายสถานประกอบการ และอยู่ระหว่างยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานกลาง เกี่ยวกับค่าชดเชยเลิกจ้าง และพึ่งทราบว่า นายจ้างไม่ต้องการเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยทางออนไลน์ให้เสร็จตามกำหนดภายในเดือน ก.ค. 64 นี้ โดยได้รับแจ้งข้อมูลจากทางศาล  ซึ่งล่าสุดคดีโดนเลื่อนไปปลายปี อยากทราบว่า ระหว่างนี้ผมต้องเตรียมตัวอย่างไรในการฟ้องคดีต่อบ้างครับ เมื่อนายจ้างไม่ต้องการไกล่เกลี่ยและยืดเวลาให้ลูกจ้างรออย่างเดียว ขอบคุณครับ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: นายจ้างย้ายสถานประกอบการไปต่างจังหวัด
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2021, 11:24:10 am »
เมื่อเข้าสู่กระบวนการของศาลแล้ว ก็คงจะทำอะไรมากไม่ได้ คงต้องปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการ

แน่นอนว่า บริษัทคงอยากจะจ่ายช้าที่สุด แต่กฎหมายก็ได้เยียวยาเราโดยกำหนดให้นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี

ยิ่งระยะเวลาเนิ่นช้าเพียงใด เราก็จะได้รับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ถึงแม้ไม่มากแต่ก็ถือซะว่าได้ดอกเบี้ยมากกว่าฝากธนาคารก็แล้วกันครับ ;D

ในการไกล่เกลี่ยนั้น สามารถไกล่เกลี่ยได้ทางอิเล็คทรอนิกส์ หรือทาง line เราก็แจ้งความประสงค์ไปที่ศาลเลยครับ แต่ถ้าอีกฝ่ายไม่สะดวกคงจะไกล่เกลี่ยฝ่ายเดียวไม่ได้ ก็คงรอตามวันที่ศาลนัดล่ะครับ

อนึ่ง เมื่อนายจ้างยื่นคำฟ้องเพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการสวัสดิการ ไม่แน่ใจว่าบริษัทได้ยื่นฟ้องเราเป็นจำเลยที่ ๒ ด้วยหรือไม่ หากไม่ได้ฟ้องเราเป็นจำเลยที่ ๒ เราต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอเข้าเป็นจำเลยร่วม ตามวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๗ นะครับ เพื่อจะได้เข้าไปในคดีและรู้ความเคลื่อนใหวของคดีครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.