25/11/24 - 11:47 am


ผู้เขียน หัวข้อ: ลูกจ้างฟ้องร้องกรณีเลิกจ้างแบบไม่จ่ายเงินชดเชย  (อ่าน 4442 ครั้ง)

สแตมป์

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 11
    • ดูรายละเอียด
สวัสดีค่ะ ขออนุญาตสอบถาม กรณีเลิกจ้างแบบไม่จ่ายเงินชดเชย
กรณีที่แฟนของพนักงานนำรถเข้ามาจอดในพื้นที่ที่ไม่ใช่ที่จอดสำหรับพนักงาน ซึ่งบริเวณนั้นเป็นห้องพักของลูกค้าและมีลูกค้าเข้าพักอยู่ แฟนของพนักงานมีการเบิ้นเครื่องยนต์รถเสียงดัง ตะโกนด่าหัวหน้างาน หัวหน้างานได้เรียกพนักงานเข้ามาพูดคุยว่าให้พาแฟนกลับบ้านไปเคลียร์เรื่องในครอบครัวตัวเองให้เรียบร้อย พนักงานกล่าวขอโทษหัวหน้างาน บอกว่าไม่ต้องการให้เรื่องนี้เกิดขึ้น แต่อีกวันถัดไปแฟนของพนักงานคนเดิมได้กระทำการเช่นนี้อีกซึ่งครั้งนี้มีการพูดเชิงว่าจะเข้ามาทำร้ายหัวหน้างาน และหัวหน้างานจึงได้แจ้งความลงบันทึกประจำวันเอาไว้ หลังจากนั้นนายจ้างพยายามติดต่อกับลูกจ้างโดยเบอร์โทรที่ให้ไว้กับทางนายจ้างทั้ง 2 เบอร์หลายครั้งเพื่อนัดเข้ามาพูดคุย แต่ไม่ได้รับการติดต่อกลับมา ทำให้นายจ้างแจ้งเลิกจ้างพนักงานโดยไม่จ่ายเงินชดเชย พนักงานได้ติดต่อเพื่อนร่วมงานว่าจะเข้ามาเขียนใบลาออกหลังจากทราบว่าถูกเลิกจ้าง แต่ก็ไม่ได้เข้ามา
ผ่านไปประมาณ 2 เดือน นายจ้างได้รับหนังสือฟ้องร้อง กรณีเลิกจ้างแบบไม่จ่ายเงินชดเชย จากพนักงานท่านนี้
จึงอยากทราบว่า
1. กรณีแบบนี้นับเป็นความผิดร้ายแรงที่สามารถทำให้ถูกเลิกจ้างโดยไม่ต้องให้ใบเตือนได้หรือไม่
2. กรณีนี้นายจ้างจะต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับลูกจ้างท่านนั้นหรือไม่ ถ้าต้องจ่ายจะต้องจ่ายตามปีที่ลูกจ้างทำงานตามกฎหมายกำหนดหรือมีค่าปรับอะไรบ้างคะ
3. นายจ้างได้เข้าพบสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เจ้าหน้าที่แจ้งว่าพนักงานไม่ได้มีเจตนา ซึ่งคนที่ทำคือแฟนของพนักงาน และการกระทำแบบนี้ยังไม่ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง ในทางของกฏหมายคิดว่ายังไงนายจ้างก็แพ้ อันนี้เราสามารถทำอย่างไรได้บ้างคะ
ขอบคุณค่ะ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
ตอบตามที่ถามเลยนะครับ
ถามมาว่า...1. กรณีแบบนี้นับเป็นความผิดร้ายแรงที่สามารถทำให้ถูกเลิกจ้างโดยไม่ต้องให้ใบเตือนได้หรือไม่
ตอบ เมื่อลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ติดต่อกันเกินกว่า ๓ วัน ถือเป็นเหตุที่สามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยครับ

2. กรณีนี้นายจ้างจะต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับลูกจ้างท่านนั้นหรือไม่ ถ้าต้องจ่ายจะต้องจ่ายตามปีที่ลูกจ้างทำงานตามกฎหมายกำหนดหรือมีค่าปรับอะไรบ้างคะ
ตอบ ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย หากข้อเท็จจริงมีว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เกินกว่า ๓ วันทำงานติดต่อกัน เว้นแต่การขาดงานนั้นจะมีเหตุผลอันสมควรครับ ส่วนหากต้องจ่ายก็ไปดูมาตรา ๑๑๘ ซึ่งกำหนดค่าชดเชยตามอายุงานที่ลูกจ้างทำงานมาครับ

3. นายจ้างได้เข้าพบสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เจ้าหน้าที่แจ้งว่าพนักงานไม่ได้มีเจตนา ซึ่งคนที่ทำคือแฟนของพนักงาน และการกระทำแบบนี้ยังไม่ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง ในทางของกฏหมายคิดว่ายังไงนายจ้างก็แพ้ อันนี้เราสามารถทำอย่างไรได้บ้างคะ
ตอบ หากพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จ่ายค่าชดเชยหรือเงินอื่น หากเห็นว่าไม่เป็นธรรม ไม่ถูกต้องก็สามารถที่จะอุทธรณ์คำสั่งโดยยื่นฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งต่อศาลแรงงานได้ครับ

อนึ่ง หากข้อเท็จจริงมีว่า ลูกจ้างไม่ได้ละทิ้งหน้าที่เกินกว่า ๓ วัน แต่เป็นกรณีที่นายจ้างแจ้งลูกจ้างให้เข้ามาเครียร์แล้วลูกจ้างไม่เข้ามาตามคำสั่ง กรณีเช่นนี้คำตอบก็จะแตกต่างออกไปนะครับ หากเลิกจ้างโดยไม่มีการตักเตือนตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้ว  ถือว่าเป็นการลงโทษผิดขั้นตอน อาจต้องจ่ายเงินค่าชดเชยนะครับ

ทนายพร.
[/color]