24/11/24 - 08:51 am


ผู้เขียน หัวข้อ: หลักวิชาชีพนักกฎหมายคอมมอนลอ  (อ่าน 13631 ครั้ง)

conansa

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
หลักวิชาชีพนักกฎหมายคอมมอนลอ
« เมื่อ: มิถุนายน 07, 2014, 05:39:45 pm »
หลักวิชาชีพนักกฎหมายคอมมอนลอ  มีข้อดี ข้อเสียอะไรบ้าง และมีประเทศอะไรบ้างที่ใช้คอมมอนลอ  ข้อเสนอแนะ

ขอบคุณครับ


ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: หลักวิชาชีพนักกฎหมายคอมมอนลอ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2014, 02:16:32 pm »
ทนายขอตอบดังนี้นะครับ


หลักวิชาชีพนักกฎหมาย (legal ethics) ในประเทศที่ใช้กฎหมายระบบคอมมอนลอว์ ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศต่างๆที่เคยอยู่ในเครือจักรภพอังกฤษ  ประเทศเหล่านี้ใช้ระบบกฎหมายของอังกฤษ คือ ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์


ลักษณะเฉพาะของระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ คือ


•   คำพิพากษาเป็นบ่อเกิดของกฎหมาย ศาลต้องผูกพันพิพากษาคดีตามแนวคำพิพากษาที่ได้มีมาแต่เดิม ตามหลัก “ข้อเท็จจริงอย่างเดียวกัน ย่อมต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเดียวกัน”


•   คำพิพากษาของศาลมีความสำคัญมากกว่ากฎหมายลายลักษณ์อักษร กฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นเพียงข้อยกเว้นของกฎหมายคอมมอนลอว์ ในกรณีที่ไม่มีคำพิพากษามาปรับใช้กับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น


•   การศึกษากฎหมายต้องเริ่มจากการศึกษาคำพิพากษาของศาลที่มีมาแต่เดิมเป็นหลัก


•   วิธีการบัญญัติกฎหมายต้องเขียนให้แน่นอนชัดเจนและละเอียด มีลักษณะคล้ายสัญญามากกว่าที่จะเป็นตัวบทกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อผูกมัดให้ผู้ตีความได้ใช้กฎหมายตามที่ฝ่ายนิติบัญญัติต้องการ

•   มีต้นแบบมาจากประเทศอังกฤษ


•   ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) นี้ บางตำราเรียกว่า ระบบกฎหมายจารีตประเพณี


•   ในปัจจุบันกฎหมายคอมมอนลอว์ไม่สอดคล้องกับการขยายตัวของทุนนิยมในปัจจุบัน ศาลอังกฤษได้ยอมรับกฎหมายลายลักษณ์อักษรในฐานะที่เป็นกฎหมายที่ใช้อุดช่องว่างของหลักคอมมอนลอว์


•   กระบวนพิจารณาคดีในกลุ่มประเทศคอมมอนลอว์มีลักษณะเด่นหลายประการ ได้แก่ (1) การใช้เอกสารช่วงก่อนเข้าสู่กระบวนพิจารณาและใช้การสืบพยานด้วยวาจาเต็มรูปแบบในขั้นพิจารณาคดี (2) การใช้วิธีพิจารณาด้วยวาจาและโดยเปิดเผย (3) การให้อำนาจแก่คู่ความและทนายในการสืบหาข้อเท็จจริง (4) การใช้เทคนิคการถามซักและการถามค้าน ดังนั้นดุลพินิจของคณะลูกขุน และผู้พิพากษาจะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมสูงมาก


ข้อดี

-   เราสามารถมั่นใจได้ว่าคดีของเราสามารถเป็นไปในทางใดโดยเปรียบเทียบจากคำพิพากษาที่มีรูปคดีในเรื่องเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน
-   ในประเทศที่ประชาชนที่ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม ช่องว่างระหว่างคนในสังคมมีน้อย ระบบ Common Law มีความเหมาะสมกับกลุ่มประเทศเหล่านี้ เพราะทำให้เกิดความเสมอภาค ไม่ล่าช้า เนื่องจากประชาชนรู้และเข้าใจกฎหมาย


ข้อเสีย

-   ในกรณีคดีของเราไม่เคยมีคำพิพากษามาก่อน เราจะไม่สามารถรู้ได้ว่าผู้พิพากษาจะนำหลักการใดมาใช้กับกรณีของเรา
-   การไม่มีบทบัญญัติที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่บัญญัติไว้ชัดเจน อาจทำให้เกิดปัญหาการเอาเปรียบ และคนในสังคมอาจไม่ได้รับความเป็นธรรม



อย่างไรก็ตามเนื่องจากเวบไซดนี้ เน้นการให้คำปรึกษาทางคดีเท่านั้น ช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางคดีเป็นสำคัญ จึงต้องขอแจ้งว่า ถ้ามีคำถามประเภทนี้อีก ขอไม่รับตอบคำถามที่ไม่ใช่ข้อกฎหมายนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 09, 2014, 02:18:37 pm โดย ทนายพร »