ขอยก พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ในมาตราที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทางเดินรถ มาซัก 3 มาตรา คือ
มาตรา 33 ในการขับรถ ผู้ขับขี่ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้าย และ ต้องไม่ล้ำกึ่งกลางของทางเดินรถ เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ ให้เดินทางขวาหรือ ล้ำกึ่งกลางของทางเดินรถได้
(1) ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวางหรือถูกปิดการจราจร
(2) ทางเดินรถนั้นเจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว
(3) ทางเดินรถนั้นกว้างไม่ถึงหกเมตร
มาตรา 34 ในการใช้ทางเดินรถที่ได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียว กันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป หรือที่ได้จัดช่องเดินรถประจำทางไว้ในช่องเดิน รถซ้ายสุด ผู้ขับขี่ต้องขับรถในช่องซ้ายสุดหรือใกล้กับช่องเดินรถประจำทาง เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ ให้เดินทางขวาของทางเดินรถได้
(1) ในช่องเดินรถนั้นมีสิ่งกีดขวางหรือถูกปิดการจราจร
(2) ทางเดินรถนั้นเจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว
(3) จะต้องเข้าช่องทางให้ถูกต้องเมื่อเข้าบริเวณใกล้ทางร่วมทางแยก
(4) เมื่อจะแซงขึ้นหน้ารถคันอื่น
(5) เมื่อผู้ขับขี่ขับรถด้วยความเร็วสูงกว่ารถในช่องเดินรถด้านซ้าย
*หมายเหตุ มาตรา นี้ได้มีการเพิ่มเติมเข้าไปโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ข้อความใหม่เข้าไปโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4)พ.ศ.2535 ใน มาตรา 6 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 109 ตอนที่ 39 หน้า 44 วันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2535
มาตรา 35 รถที่มีความเร็วช้าหรือรถที่มีความเร็วต่ำกว่าความเร็วของ รถคันอื่นที่ขับในทิศทางเดียวกัน ผู้ขับขี่ต้องขัยรถให้ใกล้ขอบทางเดินรถ ด้านซ้ายเท่าที่จะกระทำได้
ผู้ขับขี่รถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร รถจักรยานยนต์ในทางเดินรถ ซึ่งได้แบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป หรือได้จัดช่อง ทางเดินรถประจำทางด้านซ้ายไว้โดยเฉพาะ ต้องขับรถในช่องเดินรถด้าน ซ้ายสุดหรือใกล้เคียงกับช่องเดินรถประจำทางแล้วแต่กรณี
ความในวรรคสองมิให้ใช้บังคับแก่รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีน้ำหนักไม่ เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน ตามกฎหมาย ว่าด้วยรถยนต์
*หมายเหตุ มาตรา นี้ความเดิมได้ถูกยกเลิกไป และมีการเพิ่มเติมข้อความ ใหม่เข้าไปโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2535 ใน มาตรา 3 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 103 ตอนที่ 180 ลงวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2529
***ก็ลองตีความกันดู**
มาตรา 35 ที่ยกมานั้น หากดูให้ดี ก็จะทราบว่า มาตรานี้ เน้นการใช้ช่องทางเดินรถเฉพาะ สำหรับรถบรรทุก รถใหญ่ และ รถจักรยานยนต์ ลงไปว่าให้ใช้ช่องทางซ้ายสุด หรือช่องทางที่จัดไว้เท่านั้น จะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็ คือ เน้นการปฏิบัติของรถใหญ่ และรถจักรยานยนต์ ให้เป็นพิเศษกว่ารถประเภทอื่น ส่วนวรรคท้ายที่ว่า ความในวรรคสองมิให้บังคับใช้กับรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 1,600 กก. และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน นั้น เพราะมาตรา นี้ บังคับใช้กับรถใหญ่และรถจักรยานยนต์ เท่านั้น ส่วนที่คุณสงสัยการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวง ว่าทำถูกต้องหรือไม่ ตอบให้ได้ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวงจับกุมถูกต้องตามมาตรา 33 , 34 ของ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ครับ