23/11/24 - 04:53 am


ผู้เขียน หัวข้อ: ประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน บริษัทจะคิดจ่ายค่าชดเชยให้อย่างไร  (อ่าน 6433 ครั้ง)

sunflower

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
พนักงานประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน จนถึงขั้นทุพพลภาพ ทำให้ไม่สามารรถทำงานต่อไปได้ บริษัทจำเป็นต้องบอกเลิกจ้างพนักงานโดยจ่ายค่าชดเชยให้
กรณีไม่ถึงขั้นทุพพลภาพ บริษัทจะพิจารณาเปลี่ยนแปลงงานที่เหมาะสมให้ หากไม่สามารถปฏิบัติงานต่อไปได้ บริษัทจำเป็นต้องบอกเลิกจ้างพนักงานโดยจ่ายค่าชดเชยให้
อยากทราบว่า บริษัทจะมีวิธีการคิดจ่ายค่าชดเชยอย่างไรคะ ทั้งแบบทุภภพลภาพ และไม่ทุพพลภาพ จะคิดตามมาตรา 118 หรือเปล่าคะ
ขอบคุณค่ะ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า เมื่อลูกจ้างประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน ไม่ว่าจะมาจากสาเหตุใด สิ่งที่ควรทำอย่างแรกนั้นคือต้องดูแลลูกจ้างนั้นให้ได้รับการรักษาอย่างสุดความสามารถ เพราะไม่มีใครอยากให้เกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้น แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ต้องดูแลเยียวยากันตามสมควรครับ  ดังนั้น ข้อแนะนำคือ บริษัทควรพิจารณาเปลี่ยนแปลงงานที่เหมาะสมให้กับสภาพร่างกายของลูกจ้าง ซึ่งบริษัทเองก็จะได้รับประโยชน์ตามพระราชบัญญัติสงเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการพ.ศ. 2550 ที่กำหนดให้บริษัทต้องจ้างผู้พิการเข้าทำงาน 1 คน ต่อลูกจ้าง 100 คน และบริษัทยังจะได้รับประโยชน์ทางภาษีอีกด้วย

อย่างไรก็ตามเมื่อถามมาก็จะตอบตามคำถามนะครับ

“บริษัทจะมีวิธีการคิดจ่ายค่าชดเชยอย่างไรคะ ทั้งแบบทุพพลภาพ และไม่ทุพพลภาพ จะคิดตามมาตรา 118 หรือเปล่าคะ?”

ตอบอย่างนี้ครับ   เรื่องหลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างนั้น ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 แล้ว โดยคิดตามอายุงาน ซึ่งมาตรา 118 ก็ไม่ได้ระบุว่ากรณีทุพพลภาพจะต้องจ่ายค่าชดเชยอย่างไร ถ้าไม่ทุพพลภาพนั้น แน่นอนว่าจะต้องจ่ายตามมาตรา 118 ถูกต้องแล้วครับ

อนึ่ง กรณีที่นายจ้างเลิกจ้างเนื่องจากลูกจ้างประสบอันตรายหรือทุพพลภาพนั้น หากลูกจ้างเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ลูกจ้างก็ยังสามารถฟ้องศาลเพื่อขอให้นายจ้างรับกลับเข้าทำงานหรือให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ได้ครับ

ทนายพร