27/11/24 - 10:06 am


ผู้เขียน หัวข้อ: สัญญาจ้างแรงงาน หรือ สภาพการจ้าง ใครต้องรับทราบบ้างครับ  (อ่าน 6111 ครั้ง)

reka

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
ในบริษัทผม ไม่เห็นมีพนักงานคนไหนได้รับทราบเกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงาน ฝ่าย H/R ก็พยายามจะยัดเยียดการเปลี่ยนแปลงสวัสดิการต่างๆ  โดยที่พนักงานหลายคนไม่ทราบ
ในกฏหมายคุ้มครองแรงงาน ระบุหรือป่าวครับ ว่าพนักงานจะต้องรับทราบข้อตกลงใด ๆ ในสัญญาจ้างแรงงาน หรือ สภาพการจ้าง ด้วยในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องดังกล่าวทั้งหมด

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
เห็นคำถามแล้วไม่เหมือนคำถามเลยนะครับ เสมือนว่ากำลังรู้สึกอึดอัดกับการทำงานและการบริหารงาน แต่ทำอะไรไม่ได้ แต่ที่ถามมาก็เป็นคำถามที่ดีและคิดว่าหลายคนก็อยากจะรู้เหมือนกัน ขอตอบอย่างนี้ครับ


ประการแรก เรื่องสัญญาจ้างแรงงาน คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งที่เรียกว่า ลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่ บุคคลอีกคนหนึ่งที่เรียกว่า นายจ้าง และ นายจ้างตกลงจะให้สินจ้างแก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ ซึ่งสัญญาจ้างแรงงานนั้นกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าต้องทำเป็นหนังสือ

แต่โดยทั่วไปแล้ว นายจ้างมักจะทำสัญญาจ้างกันไว้ ดังนั้น สัญญาจ้างหากมีการเซ็นต์ตกลงกันก็จะมีอยู่เฉพาะตอนที่มาทำงานวันแรกๆ เท่านั้น หากคุณได้เซ็นต์ชื่อในสัญญาจ้าง ก็แสดงว่าคุณทราบเงื่อนไขต่างๆในสัญญาจ้างนั้นโดยชอบแล้ว จะกล่าวอ้างว่าไม่ทราบก็คงจะไม่ได้นะครับ (อยู่ที่เราจะได้อ่านสัญญานั้นดีหรือเปล่าเท่านั้น) ถ้าคุณอยากได้สัญญาจ้างฉบับดังกล่าวก็ให้ไปขอสำเนาที่ฝ่าย HR. ได้ครับ


ประการที่สอง ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ได้มีกฎหมายที่สำคัญที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้อยู่คือ “พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518” ที่บัญญัติเกี่ยวกับนิติสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในเรื่องสภาพการจ้าง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างด้วย และให้สิทธิลูกจ้างเข้าชื่อยื่นข้อเรียกร้องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่อนายจ้างได้ เช่น เรียกร้องสวัสดิการค่าจ้าง โบนัส ให้เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ให้สิทธินายจ้างยืนข้อเรียกร้องต่อลูกจ้างเพื่อขอเปลี่ยนสภาพการจ้างที่มีอยู่เดิมได้ด้วย


ด้วยเหตุนี้ จึงอยากให้ลองหาโอกาสอ่านกฎหมายที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อจะได้รู้ถึง “สิทธิและหน้าที่” และเป็นเกราะป้องกันตนเองและเพื่อนๆได้ด้วย รวมทั้งกฎหมายฉบับนี้ให้บัญญัติเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรของลูกจ้างหรือที่เรียกว่า “สหภาพแรงงาน” ได้ด้วย


ซึ่งหากมีองค์กรก็จะทำให้การขับเคลื่อนเกี่ยวกับค่าจ้างสวัสดิการง่ายกว่าการดำเนินการเพียงคนเดียวนะครับ....และหากสนใจที่จะจัดตั้งองค์กรก็สามารถติดต่อเข้ามาได้ยินดีให้คำแนะนำและช่วยเหลือโดยไม่มีค่าใช้จ่ายครับ


ทนายพร