ถามมาพอสรุปได้ว่า
ข้อ ๑. ถ้าไม่ได้เงินชดเชยตามที่ กม.กำหนด ผมจะต้องทำอย่างไรบ้างคับ?
ตอบ ก็เรียกร้องสิทธิตามที่กฎหมายกำหนดช่องทางไว้ ห้ามไปทำร้าย, ข่มขู่ หรือกระทำการใดอันเป็นการผิดกฎหมายเพื่อบังคับให้นายจ้างจ่ายให้นะครับ มิเช่นนั้นงานจะงอกอ่ะครับ
แล้วถามต่อไปในประเด็นที่ ๒ ว่าไปร้องได้ที่ไหน และใช้หลักฐานอะไรรึป่าวคับ เคยเซ้นสัญญาไว้นานมากแล้วและนายจ้างเก็บไว้ มีการโอนค่าจ้างกันทุกเดือน ๒ ครั้ง กลางและสิ้นเดือนตลอดมาคับ
ทนายก็ขอตอบว่า คุณอยากไปทางใหนล่ะ ถ้าอยากได้แค่ค่าชดเชย ก็ไปร้องพนักงานตรวจแรงงาน(เขียนคำร้อง คร.๗) ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่ ซึ่งช่องทางนี้ก็จะเร็วหน่อยโดยพนักงานตรวจแรงงานก็จะมีคำสั่งอย่างช้าไม่เกินเก้าสิบวันครับ (๖๐+๓๐) ซึ่งถ้าถามว่ามันอยู่ตรงใหนล่ะทนาย ....ก็หาใน Google เลยครับ
หรือถ้าไม่อยากไปสำนักงานสวัสดิการ ก็ไปฟ้องที่ศาลแรงงานครับ ซึ่งช่องทางนี้ไม่ค่อยอยากจะแนะนำ เพราะจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่า และใช้เวลานานกว่าคดีจะสิ้นสุดครับ เลือกเอาครับ
ข้อ ๓. ถามต่อว่า และถ้าเียกได้ ค่าคอมมิชชั่น สามารถนำมานับรวมได้มั้ยคับ
ตอบ คงจะหมายถึงจะเอาค่าคอมฯมารวมเป็นฐานค่าจ้างในการคิดคำนวณค่าชดเลยว่าต้องนำมาคิดรวมได้มั๊ย น่าจะประมาณนี้ เอาเป็นว่า ตอบแบบฟันธงไม่ได้ว่าจะรวมได้หรือไม่ ต้องพิจารณาองค์ประกอบของค่าคอมมิชชั้นที่คุณได้รับว่า ๑. เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้เสมอๆ(หมายถึงปริมาณเท่ากันทุกเดือน) ๒. เงินที่นายจ้างจ่ายให้ประจำๆ (หมายถึงระยะเวลา) และ ๓.เงินที่นายจ้างจ่ายให้โดยไม่มีเงื่อนไข หากครบองค์ประกอบดังกล่าว คือเป็นค่าจ้างตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ แต่เท่าที่ดูฏีกา ส่วนใหญ่ ค่าคอมมิชชั่นจะไม่ใช่ค่าจ้าง เมื่อไม่ใช่ค่าจ้างจึงไม่สามารถนำมารวมคำนวนค่าชดเชยได้ครับ
เครียร์นะครับ..ขอให้โชคดีครับ
ทนายพร