โห..เป็นคำถามที่ทนายก็ไม่แม่นนะครับ เพราะไม่ถนัดเรื่องนี้ ต้องออกตัวก่อน และดูเหมือนจะซับซ้อนอยู่พอสมควร
เอาเป็นว่า การเล่นแชร์นั้น สามารถเล่นได้โดยไม่ผิดกฎหมาย แต่ต้องอยู่ภายใต้ พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ.๒๕๓๔
โดยหลักกฎหมายแยกเป็นประเด็นๆดังนี้
๑. ท้าวแชร์ตั้งได้ไม่เกิน ๓ วงพร้อมกัน หากเกินกว่านี้ โทษสูงสุด คุก ๖ เดือน ปรับ ๑ แสนบาท
๒. ท้าวแชร์มีลูกแชร์รวม ๓ วงได้ไม่เกิน ๓๐ คน หากฝ่าฝืน โทษสูงสุด คุก ๖ เดือน ปรับ ๑ แสนบาทเช่นกัน
๓. ท้าวแชร์มีวงเงินรวมทุกวงได้ไม่เกิน ๓ แสนบาท หากรวมแล้วเกินกว่า ๓ แสน โทษสูงสุด คุก ๖ เดือน ปรับ ๑ แสนบาทเช่นกัน
๔. ห้ามท้าวแชร์โพสเฟสชวนเล่นแชร์ไม่ได้ ถือเป็นการโฆษณาชี้ชวนให้ประชาชนทั่วไปร่วมวงแชร์ มีโทษปรับสูงสุด ๕๐,๐๐๐.- บาท
๕. หากมีการโกงแชร์ในทางอาญา รัฐเท่านั้นคือผู้เสียหาย เพราะเป็นความผิดต่อรัฐ หากเป็นทางแพ่ง กรณีที่ท้าวแชร์เบี้ยว หรือลูกแชร์เบี้ยว ผู้เสียหายต้องไปฟ้องศาลเอาเอง
ก็ประมาณนี้
ส่วนที่ถามว่า ผิดกฎหมายหรือไม่ นั้น เท่าที่พิจารณาจากข้อกฎหมาย ก็ไม่น่าจะผิดนะครับ เพราะไม่เกิน ๓ วง , ไม่เกิน ๓ แสน แต่วิธีการเล่นดูจะแปลกๆอยู่ซักหน่อย เพราะปกติการเล่นแชร์สมาชิกวงแชร์ต้องส่งเงินเข้าวงเท่าๆกัน แล้วให้ลูกวงเสนอให้ดอกเบี้ยสูงสุด(หรือที่เรียกกันว่าเปียร์แชร์)ใครให้สูงสุดก็ได้ไป (เรียกว่าแชร์ตาย) และในรอบต่อไปก็ทำเช่นเดิมจนกว่าทุกคนจะได้เงินครบถ้วน เว้นแต่ท้าวแชร์มีสิทธิ์ได้รับเงินแชร์ก่อนโดยไม่เสียดอก
ถ้าพิจารณาจากที่อธิบาย มีข้อสงสัยอยู่ ๒ ประเด็นหลักๆคือ
๑.เมื่อมีสมาชิกวงแชร์แค่ ๘ คน ทำไมถึงต้องเก็บเงินจากแม่ค้ายาวนานถึง ๓๐ วัน
๒.ยอดเงินที่ส่งเข้าวงแชร์ไม่เท่ากัน อาจไม่ถือว่าเป็นการตั้งวงแชร์ แต่อาจจะเป็นการกู้ยืมเงินโดยใช้รูปแบบวงแชร์บังหน้า
เอาเป็นว่า หากส่งต้นเงินเข้าวงแชร์เท่าๆกัน ก็ถือว่าเป็นการเล่นแชร์ตามกฎหมาย แต่ถ้าไม่ใช่อันนี้ก็น่ากังวลอยู่ครับ
ทนายพร.