ฮั่นแน่..มีแอบดูงบด้วย...อิอิ
ทนายขอแนะนำให้กับทุกท่านเลยว่า หากท่านอยากรู้ว่าบริษัทนั่น นี่ โน้น มีผลประกอบการหรือมีใครเป็นกรรมการบริษัท ท่านสามารถไปขอคัดเอกสารได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีอยู่ทุกจังหวัด ลองค้นหาทางอินเตอร์เน็ตก็ได้ครับ เพราะเป็นข้อมูลสาธารณะครับ
ส่วนที่ถามมาว่า "ถ้านายจ้างไม่มีเงินจ่ายค่าจ้าง หรือ ค่าชดเชจตามกฎหมาย และ เราไปใช้สิทธิตาม กม.แรงงาน จนถึงที่สุดแล้ว ศาลพิพากษาให้นายจ้างต้องจ่าย แต่ นายจ้างก็ไม่มีเงินมาจ่าย เราจะทำอย่างไรได้อีกบ้าง?"
ทนายก็ตอบว่า ต้องทำใจ..ฮา (ถ้าตอบอย่างนี้ไม่ต้องตอบก็ได้นะทนาย -ผู้ถามแอบต่อว่าในใจ..ฮา อีกรอบ)
เอาเป็นว่า เมื่อศาลมีคำพิพากษามาแล้ว ก็ให้รีบยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี แล้วรีบยึดทรัพย์ของนายจ้างเท่าที่มี เช่น ที่ดิน , เงินฝาก , คอมพิวเตอร์ ,ทีวี , ตู้เย็น , เครื่องจักร หรือทรัพย์อื่นๆ และไม่ต้องไปสนใจว่าจะมีเจ้าหนี้รายอื่นหรือไม่ เพราะถ้าไม่ทำก็จะได้ไม่อยู่ดี หรืออย่างน้อยที่สุดก็ยังพอจะได้คืนอยู่บ้าง และก็แนะนำว่าให้ไปฟ้องศาลครับ โดยให้ลูกจ้างหลายๆคนไปฟ้องและรวมคดี และให้แต่งตั้งผู้แทนโจทก์เพื่อไปดำเนินการตามขั้นตอนข้างต้นจะได้ประหยัดค่าใช้จ่าย
นอกจากนี้ ลูกจ้างยังสามารถไปใช้สิทธิขอรับเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างได้ตามระเบียบในระหว่างดำเนินคดีนี้ได้ด้วยนะครับ
หรือยังมีข้อสงสัยก็โทรมาถามได้นะครับ เพราะจะมีขั้นตอนค่อนข้างมากอยู่ครับ
ทนายพร.