24/11/24 - 04:54 am


ผู้เขียน หัวข้อ: หลักวิชาชีพนักกฎหมายไทย  (อ่าน 49986 ครั้ง)

conansa

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
หลักวิชาชีพนักกฎหมายไทย
« เมื่อ: มิถุนายน 07, 2014, 05:37:28 pm »
อยากทราบว่าหลักวิชาชีพนักกฏหมายของไทย

มีข้อดี และ ข้อเสีย อย่างไร

ข้อเสนอแนะ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: หลักวิชาชีพนักกฎหมายไทย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2014, 02:06:44 pm »
ทนายขอตอบดังนี้นะครับ


มีผู้ให้ของคำว่า “วิชาชีพ” ไว้ว่า “การทำงานที่เป็นอาชีพตลอดชีวิต ในแง่ที่เป็นการให้บริการโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนหรือโดยไม่เห็นแก่ได้  โดยอาศัยความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษและเป็นงานที่มีคุณค่าต่อสังคม” (Oxford Advanced Dictionary)


ลักษณะของวิชาชีพ

1.งานที่มีการอุทิศตน ไม่มุ่งเพื่อหากำไรสูงสุด
2.ผ่านกระบวนการศึกษาอบรมสั่งสอนเป็นเวลานาน มีความรู้ (ปัญญา)
3. มีการสอดส่องกำกับดูแล ไม่ให้ผูกขาด เอาเปรียบผู้อื่น (ศีล -จริยธรรม -กฎหมาย)



เมื่อมาพิจารณาคำว่า “หลักวิชาชีพนักกฎหมายของไทย” จึงพบว่า มีความเกี่ยวข้องกับเรื่อง “คุณธรรมจริยธรรม” เนื่องจากวิชากฎหมายเป็นวิชาชีพที่จะต้องมีจริยธรรมกำกับในการประกอบวิชาชีพ  เพื่อที่ให้ผู้เรียนได้รู้ว่าเขาจะสามารถนำไปปฏิบัติ และใช้กฎหมายให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมได้อย่างไร 



ศาสตราจารย์ จิตติ ติงศภัทค์ ได้อธิบายไว้อย่างน่าสนใจว่า

-   หลักวิชาชีพนักกฎหมายเป็นวิชาหนึ่งที่จะต้องปลูกฝังให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพนักกฎหมายตั้งแต่เรียนในระดับมหาวิทยาลัย

-   การที่นักกฎหมายจะเป็นบุคคลที่มีคุณภาพได้ไม่ใช่เป็นเพียงบุคคลผู้ที่มีความรู้ทางกฎหมาย  แต่ต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรมที่ได้รับการปลูกฝังอยู่ในจิตใจเพื่อที่จะเป็นบุคลากรที่ดีในสังคมได้ 

-   การสอนหลักวิชาชีพนักกฎหมายนี้ จึงเป็นการสอนเพื่อให้นักกฎหมายเป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรม  ทราบถึงหน้าที่ของนักกฎหมาย อุดมคติของนักกฎหมายว่าควรมีหลักธรรมในการปฏิบัติหน้าที่อย่างไร   

-   วิชานี้จึงมิได้สอนเพื่อให้ทราบถึงวินัยสำหรับนักกฎหมาย แต่เพื่อให้รู้หลักธรรมและคติที่ควรยึดถือปฏิบัติยิ่งกว่าวินัยหรือมรรยาทที่เป็นที่ยอมรับกันในบรรดานักกฎหมายกันเอง

-   ประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้กฎหมายแบบลายลักษณ์อักษร  ดังนั้นการที่จะทำให้กฎหมายเกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชนได้มากที่สุด นักกฎหมายจะต้องตีความหมายของกฎหมายให้เกิดความเป็นธรรม หากนักกฎหมายเป็นผู้ที่ไร้ซึ่งคุณธรรมจริยธรรมแล้ว การตีความของกฎหมายก็จะไม่สามารถมอบความยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้ 


ข้อดี

นักกฎหมายเป็นอาชีพที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกฎหมายตั้งแต่การร่างกฎหมาย  การตีความ  ตลอดจนการบังคับใช้  ซึ่งในตัวบทกฎหมายแล้วจะมีช่องโหว่อยู่ในตัวกฎหมายเอง  อีกทั้งอาชีพนักกฎหมายเป็นอาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินชีวิตคน  หากนักกฎหมายขาดคุณธรรมจริยธรรมอาจจะใช้ช่องโหว่ของกฎหมายนี้มาหาผลประโยชน์  การกระทำที่ไร้คุณธรรมนี้เป็นสิ่งที่สามารถทำร้ายคนได้อย่างเป็นวงกว้าง  ด้วยเหตุผลนี้การสอนคุณธรรมจริยธรรมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น  เพราะการสอนแต่ตัวบทกฎหมายนั้นยังไม่พอ การนำคุณธรรมจริยธรรมมาสอนก็เพื่อให้นักกฎหมายมีวิธีคิดและใช้กฎหมายได้อย่างถูกต้อง หลักวิชาชีพนักกฎหมายจึงเป็นการเน้นย้ำให้มีความเข้าใจว่าควรนำกฎหมายไปใช้ในการประกอบอาชีพอย่างไร  และเป็นการสอนเพื่อให้เข้าใจถึงคุณธรรมจริยธรรม การวางตัวในการประกอบอาชีพทางด้านกฎหมาย  อันประกอบไปด้วย ทนายความ ผู้พิพากษา อัยการ และนิติกร ในอนาคตต่อไป


ข้อเสีย

ยังไม่พบ นอกจากว่าข้อมูลทางด้านเอกสารเกี่ยวการสอนคุณธรรมจริยธรรมแก่นักกฎหมายในประเทศไทยมีน้อยมาก ทำให้ผู้สนใจในเรื่องนี้หาหนังสือที่ใช้ในการศึกษาได้จำนวนน้อยมาก  เพราะส่วนใหญ่จะเป็นการบรรยายในชั้นเรียน  เกี่ยวกับจริยธรรมของทนายความ ผู้พิพากษา อัยการ นิติกร มากกว่า ทำให้จึงปิดโอกาสสำหรับผู้ที่ไม่มีโอกาสได้เข้าฟังการบรรยาย


ข้อสังเกต

การประเมินผลเรื่องคุณธรรมจริยธรรมมากน้อยเพียงใดนั้นเป็นสิ่งที่ยาก  และปัจจุบันก็ยังไม่มีการประเมินผลที่มีรูปแบบอย่างเป็นทางการ  ดังนั้นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมนี้ โดยเฉพาะความยุติธรรม เที่ยงตรง ปฏิบัติตามหน้าที อย่างซื่อสัตย์และซื่อตรง มีเหตุผลในการที่จะตัดสินสิ่งต่างๆ จึงเป็นการสะสมเป็นเสบียงที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคตมากกว่า  การสอนหลักวิชาชีพนักกฎหมายไม่สามารถขัดเกลาทุกคนให้มีคุณธรรมจริยธรรมได้   ดังนั้นทุกคน ทุกสถาบันในสังคมมีความจำเป็นที่จะต้องช่วยกันขัดเกลาจิตใจ  การสอนหลักวิชาชีพนักกฎหมายทำได้เพียงการชี้ให้เห็นว่าสิ่งไหนดี สิ่งไหนไม่ดี สิ่งไหนถูกและสิ่งไหนไม่ถูกต้องต่อการประกอบอาชีพนักกฎหมาย  เพราะคุณธรรมจริยธรรมเป็นสิ่งที่แสดงออกได้ด้วยการกระทำ  และผลของการกระทำนี้จะเป็นเครื่องบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรมของแต่ละคนต่อไป 




อย่างไรก็ตามเนื่องจากเวบไซดนี้ เน้นการให้คำปรึกษาทางคดีเท่านั้น ช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางคดีเป็นสำคัญ จึงต้องขอแจ้งว่าไม่รับตอบคำถามที่ไม่ใช่ข้อกฎหมายนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 09, 2014, 02:17:04 pm โดย ทนายพร »

hoynangromchi

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
Re: หลักวิชาชีพนักกฎหมายไทย
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 24, 2014, 04:09:06 pm »
อ่านเเล้วได้ความรู้มากเลยอ่าครับ เป็นประโยชน์จิงๆ

Kaiconaan

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
Re: หลักวิชาชีพนักกฎหมายไทย
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2014, 04:28:04 pm »
ดีเลยครับผมกำลังหาข้อมูลอยู่พอดี

Matsayari

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
Re: หลักวิชาชีพนักกฎหมายไทย
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ธันวาคม 01, 2014, 04:53:16 pm »
ได้รับรู้ถึงข้อดีข้อเสีย และข้อสังเกตุที่เป็นประโยชน์มากครับ

ViroTeRO

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
Re: หลักวิชาชีพนักกฎหมายไทย
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2019, 01:27:58 pm »
เป็นข้อมูลที่สำคัญจริงๆ