23/11/24 - 19:26 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: ถูกเลิกจ้าง โดยยินยอมไม่รับเงินชดเชย  (อ่าน 4088 ครั้ง)

SisterMe

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
สวัสดีค่ะ เราเป็นเจ้าของธุรกิจท่องเที่ยว
ตอนนี้แย่มากๆๆมา2เดือนแล้ว มีพนง.ประจำที่เป็นไกด์อยู่ในระบบประกันสังคม เราไม่มีงานให้ทำ เพราะไม่มีนักท่องเที่ยว และเราก็จ่ายไม่ไหว  ส่วนประกันสังคมก้ยังไม่มีนโยบายชดเชยใดๆให้ธุรกิจท่องเที่ยว ไม่ได้บังคับให้ปิดกิจการ จึงขอเงินชดเชยให้ลูกจ้างไม่ได้

ในวงธุรกิจท่องเที่ยวตอนนี้ ทุกคนน้อยเนื้อต่ำใจกับมาตรการของรัฐบาล เพราะมีมาตรการให้เงินชดเชย 5,000บาทกับผู้ทำอาชีพอิสระ และไม่อยู่ในระบบประกันสังคม   แต่กลับไม่เยียวยาพวกเราที่จ่ายประกันสังคมทุกเดือนและได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม

ตอนนี้เพื่อความอยู่รอด เราจึงต้องทำเรื่องเลิกจ้างพนักงานเพื่อให้เขาเป็นบุคคลว่างงาน เพื่อสามารถรับเงินชดเชยจากประกันสังคมได้ในอัตรา 50%
(ถ้าทำเรื่องลาออก จะได้30%  แต่ทำเลิกจ้างจะได้50%  เราจึงจะทำเลิกจ้างให้)

คำถามคือเราตกลงกับลูกจ้าง โดยตอนนี้ลูกจ้างยินยอมให้เลิกจ้างเพื่อเขาจะได้ไปรับเงินชดเชยจากประกันสังคม(ซึ่งจะได้เยอะกว่าที่ได้จากเรา) และจะกลับมาทำงานใหม่เมื่อสถานการดีขึ้น
แต่ตามกฏหมายเลิกจ้าง นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยตามกฏหมายให้ด้วยซึ่งลูกจ้างก็ยินดีที่จะไม่รับเงินชดเชยส่วนนี้

เราตั้งใจว่าจะทำหนังสือเลิกจ้าง และทำหนังสือยินยอมไม่รับเงินชดเชยเพื่อป้องกันตัวเองเผื่อมีคนหัวหมอเอามาฟ้องร้อง

หากทำแบบนี้จะถูกต้องไหมคะ  หรือจะถูกเป็นโมฆะรึป่าวคะ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: ถูกเลิกจ้าง โดยยินยอมไม่รับเงินชดเชย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 08, 2020, 12:17:33 am »
เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมากใสขณะนี้เกี่ยวกับการช่วยเหลือของหน่วยงานรัฐ ในทำนองฝนตกไม่ทั่วฟ้า ไม่ตายเพราะไวรัสโคโรน่า แต่จะตายเพราะไม่มีจะกัน

ก็ว่ากันไปครับ..ให้กำลังใจกับทุกฝ่าย ทุกสถานประกอบการทั้งนายจ้างและลูกจ้าง รวมทั้งผู้ต้องปฎิบัติงานไกล้ชิดกับการเสี่ยงติดเชื้อไวรัสทุกท่านนะครับ

นอกจากธุรกิจท่องเที่ยวแล้วยังมีอีกหลายธุรกิจครับ ที่ตกอยู่ในภาวะเช่นผู้ถามนี้ ส่งเสียงไปก็ไม่มีใครได้ยิน จำต้องก้มหน้าแก้ปัญหากันต่อไป

เอาล่ะ...มาที่คำถามที่ถามว่า...ทำแบบนี้จะถูกต้องไหมคะ  หรือจะถูกเป็นโมฆะรึป่าวคะ?

ก็ตอบว่า...ปกติกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มีวัตถุประสงค์คุ้มครองลูกจ้างให้ได้รับการคุ้มครองตามมาตฐานขั้นต่ำ หากนายจ้างใดไม่ปฎิบัติตามกฎหมาย จะต้องได้รับโทษทางอาญา และข้อตกลงใดที่ขัดต่อกฎหมายถือเป็นโมฆะ

อย่างไรก็ตาม หากทั้งลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันได้และทำสัญญาไว้ต่อกันว่าไม่ติดใจเรียกร้องเงินใดๆด้วยใจสมัคร (ต้องไม่บังคับข่มขู่กันนะครับ) ข้อตกลงดังกล่าวถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอย่างหนึ่งมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๕๐ บังคับได้ ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเป็นไปตามแนวคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ที่ ๓๕๗/๒๕๖๑ ครับ

ดังนั้น การที่มีข้อตกลงและทำหนังสือเลิกจ้างเพื่อให้ลูกจ้างไปใช้สิทธิว่างงานกับสำนักงานประกันสังคม ในสถานการณ์อย่างนี้ก็ถือเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ดีแล้วครับ เเละเมื่อสถานการณ์ดีขึ้นก็อย่าลืมกลุ่มลูกจ้างเหล่านี้นะครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.