24/11/24 - 02:10 am


ผู้เขียน หัวข้อ: สอบถามเรื่องการจ่ายค่าชดเชยคะ  (อ่าน 9396 ครั้ง)

Rinradee

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 6
    • ดูรายละเอียด
สอบถามเรื่องการจ่ายค่าชดเชยคะ
« เมื่อ: เมษายน 06, 2020, 08:51:53 pm »
สวัสดีคะทนายพร ขอคำปรึกษาเรื่องค่าชดเชยคะ

คือ บริษัทต้องการลดคนออก โดยอ้างว่าบริษัทขาดทุน และจะเลิกจ้างพนักงาน(ส่วนใหญ่พนักงานมีสัญญาจ้างเป็นรายเดือน) ซึ่งบริษัทมีทางเลือกให้กับพนักงาน 2 ทางคือ

1. จะขอต่อรองจ่ายค่าชดเชยที่จะได้รับตามกฏหมายแค่ 50% จากที่จะได้รับ กรณีนี้พนักงานมีสิทธิ์ไม่รับการต่อรองนี้ได้หรือไม่คะ แล้วต้องทำอย่างไรบ้างคะ

2. จะจ้างต่อ แต่จะจ่ายค่าจ้างตามงานที่ทำได้ หรือ ตามวันทำงานที่ได้ทำ
(เป็นพนักงานรายเดือน) กรณีนี้บริษัทสามารถทำได้หรือไม่คะ บริษัทต้องมีหนังสือยินยอมจากพนักงานก่อนหรือไม่คะ หากบริษัทจะทำเช่นนี้
หากพนักงานไม่ยอม สามารถทำอย่างไรได้บ้างคะ

ทั้งนี้ บริษัทยังคงดำเนินกิจการต่อ หลังจากจ้างพนักงานบางส่วนออก นั่นหมายถึงบริษัท ยังมีเงินมาลงทุนต่อ แต่อ้างว่าบริษัทขาดทุน ไม่มีเงินจ่ายค่าชดเชยตามกฏหมาย

ขอคำปรึกษาหน่อยคะทนายพร ว่าเราจะไปต่อรอง  ใช้คำพูดอย่างไรกับบริษัทได้บ้างคะ

ขอบคุณล่วงหน้าคะ ช่วยด้วยนะคะ

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
Re: สอบถามเรื่องการจ่ายค่าชดเชยคะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 07, 2020, 10:10:11 am »
การเลิกจ้าง

1. จะขอต่อรองจ่ายค่าชดเชยที่จะได้รับตามกฏหมายแค่ 50% จากที่จะได้รับ กรณีนี้พนักงานมีสิทธิ์ไม่รับการต่อรองนี้ได้หรือไม่คะ แล้วต้องทำอย่างไรบ้างคะ

ตอบ...ถ้าทำสัญญาจ้างเป็นรายเดือนชัดเจน  "เมื่อครบสัญญาจ้าง สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกล่าวล่วงหน้า"    ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.17 วรรคแรก กรณีนี้ นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย....แต่การจ้างรายเดือน ทำนองเป็นการจ่ายค่าจ้างรายเดือน เรื่อยๆไป น่าจะเข้าข่ายเป็นการจ้างที่ไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน  เมื่อถูกเลิกจ้าง  นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย ตาม ม.118..(คือทำงาน 120 วัน ไม่ครบปี ต้องจ่ายเงินชดเชย 30 วัน...ทำงานหนึ่งปีไม่ถึงสามปี จ่ายฯ 90 วัน...ทำงาน 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี จ่ายฯ 180วัน ..ทำงาน ครบ6 ปี ไม่ถึง 10 ปี ต้องจ่ายเงินชดเชย 240 วัน  เป็นต้น).นายจ้างน่าจะทราบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ดี   จึงพยายายามจะเจรจาต่อรองขอจ่ายเงินชดเชย เพียง  50 %  ถ้าการเจรจาไม่ลงตัว  ก็ควรร้อง พนักงานตรวจแรงงาน ในท้องที่ที่ทำงาน...


2. จะจ้างต่อ แต่จะจ่ายค่าจ้างตามงานที่ทำได้ หรือ ตามวันทำงานที่ได้ทำ
(เป็นพนักงานรายเดือน) กรณีนี้บริษัทสามารถทำได้หรือไม่คะ บริษัทต้องมีหนังสือยินยอมจากพนักงานก่อนหรือไม่คะ หากบริษัทจะทำเช่นนี้
หากพนักงานไม่ยอม สามารถทำอย่างไรได้บ้างคะ

ตอบ....ก็คงเป็นการจ้างที่ไม่มีกำหนดเวลา แต่นายจ้างพยายาม  จะให้เป็นการที่มีกำหนดเวลาที่แน่นนอน  เพื่อให้มีผลตามกฎหมายว่า ถ้าเลิกจ้างไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย  อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ เป็นปัญหาข้อกฎหมาย  ถ้ามีข้อพิพาทคงต้องให้ศาลแรงงานวินิจฉัย ครับ

Rinradee

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 6
    • ดูรายละเอียด
Re: สอบถามเรื่องการจ่ายค่าชดเชยคะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 07, 2020, 12:27:29 pm »
การเลิกจ้าง

1. จะขอต่อรองจ่ายค่าชดเชยที่จะได้รับตามกฏหมายแค่ 50% จากที่จะได้รับ กรณีนี้พนักงานมีสิทธิ์ไม่รับการต่อรองนี้ได้หรือไม่คะ แล้วต้องทำอย่างไรบ้างคะ

ตอบ...ถ้าทำสัญญาจ้างเป็นรายเดือนชัดเจน  "เมื่อครบสัญญาจ้าง สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกล่าวล่วงหน้า"    ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.17 วรรคแรก กรณีนี้ นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย....แต่การจ้างรายเดือน ทำนองเป็นการจ่ายค่าจ้างรายเดือน เรื่อยๆไป น่าจะเข้าข่ายเป็นการจ้างที่ไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน  เมื่อถูกเลิกจ้าง  นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย ตาม ม.118..(คือทำงาน 120 วัน ไม่ครบปี ต้องจ่ายเงินชดเชย 30 วัน...ทำงานหนึ่งปีไม่ถึงสามปี จ่ายฯ 90 วัน...ทำงาน 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี จ่ายฯ 180วัน ..ทำงาน ครบ6 ปี ไม่ถึง 10 ปี ต้องจ่ายเงินชดเชย 240 วัน  เป็นต้น).นายจ้างน่าจะทราบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ดี   จึงพยายายามจะเจรจาต่อรองขอจ่ายเงินชดเชย เพียง  50 %  ถ้าการเจรจาไม่ลงตัว  ก็ควรร้อง พนักงานตรวจแรงงาน ในท้องที่ที่ทำงาน...


2. จะจ้างต่อ แต่จะจ่ายค่าจ้างตามงานที่ทำได้ หรือ ตามวันทำงานที่ได้ทำ
(เป็นพนักงานรายเดือน) กรณีนี้บริษัทสามารถทำได้หรือไม่คะ บริษัทต้องมีหนังสือยินยอมจากพนักงานก่อนหรือไม่คะ หากบริษัทจะทำเช่นนี้
หากพนักงานไม่ยอม สามารถทำอย่างไรได้บ้างคะ

ตอบ....ก็คงเป็นการจ้างที่ไม่มีกำหนดเวลา แต่นายจ้างพยายาม  จะให้เป็นการที่มีกำหนดเวลาที่แน่นนอน  เพื่อให้มีผลตามกฎหมายว่า ถ้าเลิกจ้างไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย  อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ เป็นปัญหาข้อกฎหมาย  ถ้ามีข้อพิพาทคงต้องให้ศาลแรงงานวินิจฉัย ครับ


ขอบคุณมากคะ

ที่บอกว่าจ้างเป็นรายเดือน หมายถึง การจ้างเรื่อยๆ ไปคะ ให้ค้างจ้างเป็นรายเดือน ไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดคะ ขอบคุณมาก ๆนะคะ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: สอบถามเรื่องการจ่ายค่าชดเชยคะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 07, 2020, 01:59:16 pm »
อ่านคำถามแล้วก็น่าเห็นใจ ในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ต่างได้รับผลประทบกันทั่วหน้า ซึ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบก่อนก็คือคนงานนี่แหละครับ มักจะเป็น "เบี้ย" ให้เล่นก่อนการลดต้นทุนตัวอื่น...ก็ว่ากันไปครับ..แต่จงเชื่อว่า ทุกวิกฤติย่อมมีโอกาสเสมอ โบราณว่าไว้ ;D

มาที่คำถาม ถามว่า..
จะขอต่อรองจ่ายค่าชดเชยที่จะได้รับตามกฏหมายแค่ 50% จากที่จะได้รับ กรณีนี้พนักงานมีสิทธิ์ไม่รับการต่อรองนี้ได้หรือไม่คะ แล้วต้องทำอย่างไรบ้างคะ?
ตอบ อย่างแรก ไม่ควรไปต่อรองในเรื่องนี้ เพราะเป็นการต่อรองที่ต่ำกว่ากฎหมาย และค่าชดเชยเป็นสิทธิ์ขั้นพื้นฐานที่ลูกจ้าง "ต้อง" ได้รับ เอาเป็นว่าถ้าจะต่อรองก็ไปต่อรองเรื่องอื่นครับ ถ้านายจ้างเลิกจ้างแล้วไม่จ่ายค่าชดเชยให้ครบถ้วนตามอายุงาน ก็ให้ไปร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน หรือไปเขียน คร.๗ ให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จ่ายค่าชดเชย ดอกเบี้ย และเงินเพิ่มตามมาตรา ๙ คือ ร้อยละ ๑๕ ทุกระยะ ๗ วัน เช่น ถ้าค้างจ่ายเงินค่าชดเชย ๑ แสนบาท ร้อยละ ๑๕ ทุกระยะ ๗ วัน ลูกจ้างก็จะได้ ๑๕,๐๐๐.- ทุก ๗ วัน หากไม่จ่าย ๑ เดือน ก็ ๔ รอบ คิดเป็นเงินเพิ่มที่นายจ้างต้องจ่ายเป็นเงิน ๖๐,๐๐๐.- บาท เอามั๊ยล่ะ แล้วอย่างนี้นายจ้างจะกล้าเบี้ยวหรือ!

2. จะจ้างต่อ แต่จะจ่ายค่าจ้างตามงานที่ทำได้ หรือ ตามวันทำงานที่ได้ทำ
(เป็นพนักงานรายเดือน) กรณีนี้บริษัทสามารถทำได้หรือไม่คะ บริษัทต้องมีหนังสือยินยอมจากพนักงานก่อนหรือไม่คะ หากบริษัทจะทำเช่นนี้
หากพนักงานไม่ยอม สามารถทำอย่างไรได้บ้างคะ
ตอบ การเปลี่ยนสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณทำไม่ได้ กฎหมายห้าม เว้นแต่ลูกจ้างจะยินยอม ดังนั้น กรณีที่จะเปลี่ยนสถาพการจ้างแล้วไม่เป็นคุณต่อเราก็ควรจะตรึกตรองให้ถี่ถ้วนถึงข้อดีข้อเสีย หากเห็นว่าถูกเอาเปรียบจนเกินควรก็ไม่ต้องเซ็นยินยอม แต่ถ้าไม่มีทางเลือกก็ว่ากันไปตามสถานการณ์ แต่มีข้อแนะนำว่า ยังงัยซะก็อย่าไปหลงเซ็นใบลาออกนะครับ เดี๋ยวจะเสียสิทธิในการต่อสู้ไป

เอาน่าให้กำลังใจครับ

ทนายพร.
[/color][/size][/size]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 07, 2020, 02:05:08 pm โดย ทนายพร »

Rinradee

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 6
    • ดูรายละเอียด
Re: สอบถามเรื่องการจ่ายค่าชดเชยคะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: เมษายน 07, 2020, 03:02:16 pm »
อ่านคำถามแล้วก็น่าเห็นใจ ในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ต่างได้รับผลประทบกันทั่วหน้า ซึ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบก่อนก็คือคนงานนี่แหละครับ มักจะเป็น "เบี้ย" ให้เล่นก่อนการลดต้นทุนตัวอื่น...ก็ว่ากันไปครับ..แต่จงเชื่อว่า ทุกวิกฤติย่อมมีโอกาสเสมอ โบราณว่าไว้ ;D

มาที่คำถาม ถามว่า..
จะขอต่อรองจ่ายค่าชดเชยที่จะได้รับตามกฏหมายแค่ 50% จากที่จะได้รับ กรณีนี้พนักงานมีสิทธิ์ไม่รับการต่อรองนี้ได้หรือไม่คะ แล้วต้องทำอย่างไรบ้างคะ?
ตอบ อย่างแรก ไม่ควรไปต่อรองในเรื่องนี้ เพราะเป็นการต่อรองที่ต่ำกว่ากฎหมาย และค่าชดเชยเป็นสิทธิ์ขั้นพื้นฐานที่ลูกจ้าง "ต้อง" ได้รับ เอาเป็นว่าถ้าจะต่อรองก็ไปต่อรองเรื่องอื่นครับ ถ้านายจ้างเลิกจ้างแล้วไม่จ่ายค่าชดเชยให้ครบถ้วนตามอายุงาน ก็ให้ไปร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน หรือไปเขียน คร.๗ ให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จ่ายค่าชดเชย ดอกเบี้ย และเงินเพิ่มตามมาตรา ๙ คือ ร้อยละ ๑๕ ทุกระยะ ๗ วัน เช่น ถ้าค้างจ่ายเงินค่าชดเชย ๑ แสนบาท ร้อยละ ๑๕ ทุกระยะ ๗ วัน ลูกจ้างก็จะได้ ๑๕,๐๐๐.- ทุก ๗ วัน หากไม่จ่าย ๑ เดือน ก็ ๔ รอบ คิดเป็นเงินเพิ่มที่นายจ้างต้องจ่ายเป็นเงิน ๖๐,๐๐๐.- บาท เอามั๊ยล่ะ แล้วอย่างนี้นายจ้างจะกล้าเบี้ยวหรือ!

2. จะจ้างต่อ แต่จะจ่ายค่าจ้างตามงานที่ทำได้ หรือ ตามวันทำงานที่ได้ทำ
(เป็นพนักงานรายเดือน) กรณีนี้บริษัทสามารถทำได้หรือไม่คะ บริษัทต้องมีหนังสือยินยอมจากพนักงานก่อนหรือไม่คะ หากบริษัทจะทำเช่นนี้
หากพนักงานไม่ยอม สามารถทำอย่างไรได้บ้างคะ
ตอบ การเปลี่ยนสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณทำไม่ได้ กฎหมายห้าม เว้นแต่ลูกจ้างจะยินยอม ดังนั้น กรณีที่จะเปลี่ยนสถาพการจ้างแล้วไม่เป็นคุณต่อเราก็ควรจะตรึกตรองให้ถี่ถ้วนถึงข้อดีข้อเสีย หากเห็นว่าถูกเอาเปรียบจนเกินควรก็ไม่ต้องเซ็นยินยอม แต่ถ้าไม่มีทางเลือกก็ว่ากันไปตามสถานการณ์ แต่มีข้อแนะนำว่า ยังงัยซะก็อย่าไปหลงเซ็นใบลาออกนะครับ เดี๋ยวจะเสียสิทธิในการต่อสู้ไป

เอาน่าให้กำลังใจครับ

ทนายพร.
[/color][/size][/size]

ขอยคุณมากๆ เลยคะทนายพร  ตอนนี้รอทางบริษัทเรียกเข้าไปคุยคะ
หากเขายังมีข้อต่อรอง ขออนุญาตปรึกษาอีกนะคะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 07, 2020, 04:42:39 pm โดย Rinradee »

Rinradee

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 6
    • ดูรายละเอียด
Re: สอบถามเรื่องการจ่ายค่าชดเชยคะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: เมษายน 10, 2020, 02:37:44 pm »
อ่านคำถามแล้วก็น่าเห็นใจ ในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ต่างได้รับผลประทบกันทั่วหน้า ซึ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบก่อนก็คือคนงานนี่แหละครับ มักจะเป็น "เบี้ย" ให้เล่นก่อนการลดต้นทุนตัวอื่น...ก็ว่ากันไปครับ..แต่จงเชื่อว่า ทุกวิกฤติย่อมมีโอกาสเสมอ โบราณว่าไว้ ;D

มาที่คำถาม ถามว่า..
จะขอต่อรองจ่ายค่าชดเชยที่จะได้รับตามกฏหมายแค่ 50% จากที่จะได้รับ กรณีนี้พนักงานมีสิทธิ์ไม่รับการต่อรองนี้ได้หรือไม่คะ แล้วต้องทำอย่างไรบ้างคะ?
ตอบ อย่างแรก ไม่ควรไปต่อรองในเรื่องนี้ เพราะเป็นการต่อรองที่ต่ำกว่ากฎหมาย และค่าชดเชยเป็นสิทธิ์ขั้นพื้นฐานที่ลูกจ้าง "ต้อง" ได้รับ เอาเป็นว่าถ้าจะต่อรองก็ไปต่อรองเรื่องอื่นครับ ถ้านายจ้างเลิกจ้างแล้วไม่จ่ายค่าชดเชยให้ครบถ้วนตามอายุงาน ก็ให้ไปร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน หรือไปเขียน คร.๗ ให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จ่ายค่าชดเชย ดอกเบี้ย และเงินเพิ่มตามมาตรา ๙ คือ ร้อยละ ๑๕ ทุกระยะ ๗ วัน เช่น ถ้าค้างจ่ายเงินค่าชดเชย ๑ แสนบาท ร้อยละ ๑๕ ทุกระยะ ๗ วัน ลูกจ้างก็จะได้ ๑๕,๐๐๐.- ทุก ๗ วัน หากไม่จ่าย ๑ เดือน ก็ ๔ รอบ คิดเป็นเงินเพิ่มที่นายจ้างต้องจ่ายเป็นเงิน ๖๐,๐๐๐.- บาท เอามั๊ยล่ะ แล้วอย่างนี้นายจ้างจะกล้าเบี้ยวหรือ!

2. จะจ้างต่อ แต่จะจ่ายค่าจ้างตามงานที่ทำได้ หรือ ตามวันทำงานที่ได้ทำ
(เป็นพนักงานรายเดือน) กรณีนี้บริษัทสามารถทำได้หรือไม่คะ บริษัทต้องมีหนังสือยินยอมจากพนักงานก่อนหรือไม่คะ หากบริษัทจะทำเช่นนี้
หากพนักงานไม่ยอม สามารถทำอย่างไรได้บ้างคะ
ตอบ การเปลี่ยนสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณทำไม่ได้ กฎหมายห้าม เว้นแต่ลูกจ้างจะยินยอม ดังนั้น กรณีที่จะเปลี่ยนสถาพการจ้างแล้วไม่เป็นคุณต่อเราก็ควรจะตรึกตรองให้ถี่ถ้วนถึงข้อดีข้อเสีย หากเห็นว่าถูกเอาเปรียบจนเกินควรก็ไม่ต้องเซ็นยินยอม แต่ถ้าไม่มีทางเลือกก็ว่ากันไปตามสถานการณ์ แต่มีข้อแนะนำว่า ยังงัยซะก็อย่าไปหลงเซ็นใบลาออกนะครับ เดี๋ยวจะเสียสิทธิในการต่อสู้ไป

เอาน่าให้กำลังใจครับ

ทนายพร.
[/color][/size][/size]

สวัสดีคะ ทนายพร
สุดท้ายแล้วถ้าตกลงค่าชดเชยกันไม่ได้
พนักงานตรวจแรงงานเข้ามาไกล่เกลี่ยแล้วพูดให้พนักงานยอมบริษัท
 เราจะทำยังไงได้อีกบ้างคะ ถ้าพนักงานไม่ยอมต้องการค่าชดเชยตามที่กฏหมายกำหนด เพราะบริษัทเขายังดำเนินกิจการต่อ แสดงว่าเขาก็มีทุนและทรัพย์สินใช่มั้ยคะแบบนั้น

ขอบคุณคะ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: สอบถามเรื่องการจ่ายค่าชดเชยคะ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: เมษายน 10, 2020, 05:01:38 pm »
ถ้าเราไม่ยอม ก็แจ้งพนักงานตรวจแรงงานไปว่า ขอให้ออกคำสั่งตามที่กฎหมายกำหนดเลยครับ

Rinradee

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 6
    • ดูรายละเอียด
Re: สอบถามเรื่องการจ่ายค่าชดเชยคะ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: เมษายน 11, 2020, 09:46:08 am »
ถ้าเราไม่ยอม ก็แจ้งพนักงานตรวจแรงงานไปว่า ขอให้ออกคำสั่งตามที่กฎหมายกำหนดเลยครับ

ขอบคุณคะ เมื่อแจ้งพนักงานตรวจแรงงานไปแล้ว หมายถึงเราต้องรอศาลตัดสินรึป่าวคะ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: สอบถามเรื่องการจ่ายค่าชดเชยคะ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: เมษายน 11, 2020, 12:13:39 pm »
เมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งแล้ว

หากฝายใดฝ่ายหนึ่งไม่พอใจคำนั่นนั้น ให้นำคดีไปสู่ศาลได้ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วัน "ทราบ" คำสั่ง

ในกรณีที่ฝ่ายนายจ้างหรือฝ่ายลูกจ้าง ไม่นำคดีไปสู่ศาลภายใน ๓๐ วัน คำสั่งดังกล่าวถือเป็นที่สุด

หากนายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีสู่ศาล (หมายถึงฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน) นายจ้างต้องนำเงินตามคำสั่งไปวาง (หมายถึง นำไปมอบให้ศาลไว้ก่อน) ต่อศาลจึงจะยื่นฟ้องได้ แต่ถ้าเป็นฝ่ายลูกจ้างที่นำคดีไปสู่ศาล ไม่ต้องวางเงินหรือเสียค่าฤชาธรรมเนียมใดๆครับ

ซึ่งที่บรรยายมาทั้งหมด ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๒๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ครับ

ทนายพร.

Rinradee

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 6
    • ดูรายละเอียด
Re: สอบถามเรื่องการจ่ายค่าชดเชยคะ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: เมษายน 12, 2020, 10:42:15 am »
เมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งแล้ว

หากฝายใดฝ่ายหนึ่งไม่พอใจคำนั่นนั้น ให้นำคดีไปสู่ศาลได้ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วัน "ทราบ" คำสั่ง

ในกรณีที่ฝ่ายนายจ้างหรือฝ่ายลูกจ้าง ไม่นำคดีไปสู่ศาลภายใน ๓๐ วัน คำสั่งดังกล่าวถือเป็นที่สุด

หากนายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีสู่ศาล (หมายถึงฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน) นายจ้างต้องนำเงินตามคำสั่งไปวาง (หมายถึง นำไปมอบให้ศาลไว้ก่อน) ต่อศาลจึงจะยื่นฟ้องได้ แต่ถ้าเป็นฝ่ายลูกจ้างที่นำคดีไปสู่ศาล ไม่ต้องวางเงินหรือเสียค่าฤชาธรรมเนียมใดๆครับ

ซึ่งที่บรรยายมาทั้งหมด ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๒๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ครับ

ทนายพร.


ขอบคุณคะ ทนายพร