24/11/24 - 00:56 am


ผู้เขียน หัวข้อ: สัญญารายไป ไม่ประสงค์ต่อสัญญา จะได้เงินชดเชยไหมคะ  (อ่าน 4549 ครั้ง)

ktdkprw

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 3
    • ดูรายละเอียด
สวัสดีค่ะ

อยากทราบว่า ถ้าเซ็นสัญญาเป็นรายปี ที่มีวันกำหนดเริ่มและหยุดชัดเจน แต่มีระบุเพิ่มอีกข้อ ทำนองที่ว่า
.."ข้าพเจ้าทราบดีว่ายริษัทสามารถบอกเลิกจ้างข้าพเจ้าได้ทันทีระหว่างทดลองงานกับบริษัทเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยบริษัทไม่ต้องบอกกล่าวการเลิกจ้างให้ข้าพเจ้าทราบล่วงหน้า และบริษัทจะไม่จ่ายค่าชดเชยใดๆ ทั้งสิ้นให้กับข้าพเจ้า"

และจากการไปหาข้อมูลเพิ่มเติมมาพบว่า
-ประโยคที่เพิ่มมามีผลทำให้สัญญานี้เป็นสัญญาที่จ้างกันไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน การเลิกจ้างจะต้อง "บอกกล่าวล่วงหน้า" อย่างน้อย ๑ รอบการจ่ายค่าจ้าง หากไม่บอกกล่าว หรือบอกกล่าวไม่ครบจะต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
-เลิกจ้างยังไงก็ต้องจ่ายค่าชดเชยตามอายุงาน

คำถามที่อยากรบกวนถามคือ
-ถ้าไม่อยากต่อสัญญาและอยากได้เงินชดเชยตามจำนวนงานจะต้องทำอย่างไรคะ ถ้าบริษัทเสนอให้ต่อสัญญาแต่ไม่อยากต่อ เราสามารถไม่ต่อและไม่เซ็นต์ใบลาออกพร้อมกับเรียบค่าชดเชยได้ไหมคะ หรือยังไงก็ต้องเซ็นเพราะตัวสัญญามันกลายเป็นไม่ไม่กำหนดเวลาไปแล้วแต่แบบนี้ก็ไม่ได้ค่าชดเชยหรือเปล่าคะ  แล้วถ้าบริษัทเสนอให้ต่อ แต่เราไม่ต่อเอง จะตัดสินว่าไม่ใช่การเลิกจ้างหรือเปล่าคะ

ขอบคุณค่ะ



มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
สัญญาจ้าง

  ในเมื่อกำหนดเวลาไว้ 1 ปี...  สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า (พรบ.คุ้มครองแรงงงานฯ ม.17 วรรคแรก)....ข้อความที่เพิ่มเติม  ก็ไม่น่าจะทำให้สัญญานั้นไม่มีกำหนดเวลา(เป็นความเห็น)
   เมื่อมีกำหนดสิ้น สุดสัญญาจ้างชัดเจน( 1 ปี) จึงไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม  นายจ้างคงไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย ....เรื่องต่อสัญญา  ก็คือการทำสัญญาจ้างขึ้นมาใหม่  ก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาใหม่นั้น...  ลูกจ้างไม่ต้องการต่อสัญญาก็สามารถได้....ส่วนการลาออก ในเมื่อสัญญามีกำหนดเวลาแน่นอน  แม้ไม่ลาออก สัญญาจ้างก็สิ้นสุดลง...

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
เป็นคำถามที่ดี แต่คำตอบอาจไม่ถูกใจก็ได้นะครับ ;D

ถามและวินิจฉัยเองในตอนต้นว่า..สัญญาจ้างดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างไม่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุด...ข้อนี้ถูกแล้ว และสอดคล้องกับแนวคำพิพากษาศาลฏีกาว่า สัญญาจ้างทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่ไม่กำหนดระยะเวลา หากจะเลิกจ้างต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้า

แล้วถามต่อว่า...ไม่อยากต่อสัญญาและอยากได้ค่าชดเชยอ่ะ ทำงัยได้บ้าง?
ก็จะตอบว่า ในเมื่อได้วินิจฉัยว่าเป็นสัญญาจ้างที่ไม่กำหนดระยะเวลาจ้างแล้ว ก็ไม่ต้องคำนึงว่าเมื่อสิ้นสุดสัญญาตามที่กำหนดแล้วจะต้องทำสัญญาจ้างกันใหม่เสมอไป เพราะเมื่อเป็นสัญญาจ้างไม่กำหนดระยะเวลานิติสัมพันธ์จึงเป็นลูกจ้าง-นายจ้างกันโดยตลอด แต่ก็ไม่ได้จำกัดสิทธิว่าจะทำสัญญาจ้างต่อกันอีก ซึงอยู่ที่ทั้งสองฝ่ายจะสมัครใจทำสัญญาจ้างต่อกันเลย หากฉบับหลังตัดข้อความที่ระบุว่าสามารถเลิกจ้างเมื่อใดก็ได้ออก ก็จะเป็นสัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาจ้างไว้แน่นอน และคู่สัญญาต้องปฎิบัติไปตามนั้น ไม่ขัดต่อกฎหมาย

แล้วถามต่อว่า เมื่อกลายมาเป็นสัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอนแล้ว เมื่อไม่ต่อสัญญา จะได้ค่าชดเชยมั๊ย? อย่างแรกต้องไปดูก่อนว่า งานที่เราทำนั้นเป็นงานโครงการหรือไม่ หรือเป็นงานตามฤดูกาลหรือไม่ หากไม่ใช่ ก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยครับ แต่ไม่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ตามมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.๒๕๒๒

ส่วนที่ถามว่า หากไม่ต่อสัญญาจะได้เงินค่าชดเชยมั๊ย? ข้อนี้ตอบชัดเจนไม่ได้ เพราะถ้าครบสัญญาแล้วเราไม่ไปทำงาน ก็ถือว่าเราละทิ้งหน้าที่หรือขาดงานเกินกว่า ๓ วัน นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชย 
หรือถ้าอยากจะสู้เพื่อให้ได้ค่าชดเชย ก็ต้องต่อสู้ว่า สัญญาจ้างที่ทำกันไว้นั้น เป็นสัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาจ้างไว้แน่นอน ซึ่งก็ขัดแย้งตามที่ได้วินิจฉัยไว้ตอนต้น ซึ่งประเด็นแห่งคดีก็จะมีว่า "สัญญาจ้างดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาจ้างไว้แน่นอนหรือไม่ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่ เพียงใด?" ก็ต้องไปสู้กันโดยตีความตามข้อความในเอกสารสัญญาจ้างกันละครับ

ดังนั้น หากอยากได้ค่าชดเชย มี ๒ ช่องทาง คือให้นายจ้างเลิกจ้างเราโดยไม่มีความผิดให้ได้ (ทนายก็ไม่รู้เหมือนกันต้องทำยังงัย ;D ;D)
หรือ หากครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ก็ไปฟ้องศาลเพื่อให้วินิจฉัยว่าเป็นสัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาจ้างไว้แน่นอน ถ้าชนะก็ได้ค่าชดเชย ถ้าแพ้ก็อด ก็เท่านี้แหละครับ แต่ทั้งนี้ ข้อเท็จจริงต้องชัดเจนนะครับว่าไม่ใช่งานโครงการ หรืองานฤดูกาลตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๑๘ วรรค ๓ และวรรคท้าย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑

คงเครียร์นะครับ สำหรับคำตอบ หรือหากสงสัยก็ถามมาใหม่ได้นะครับ

ขอให้โชคดีครับ

ทนายพร.

voidspirits

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บข่าวสารเกมคาสิโนออนไลน์
ขอบคุณสำหรับความรู้มากๆเลยครับบบ

ktdkprw

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 3
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณสำหรับคำตอบค่ะ เข้าใจชัดเจนเป็นระบบมาก แล้วก็เป็นอย่างที่กลัวจริงๆค่ะ รู้แจ้งชัดเจนถึงความไม่แฟร์ของสัญญาเลยค่า 555

ktdkprw

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 3
    • ดูรายละเอียด
ขอสอบถามเพิ่มเติมนะคะ ถ้าไปถึงขั้นที่ต้องฟ้อง เราสามารถอ้างความเป็นโมฆะ ของสัญญาตั้งแต่แรกได้ไหมคะ เช่นว่า (หาข้อมูลเพิ่มเติมมานะคะ)

"_การทำสัญญาว่าบริษัทไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นการทำสัญญา "ขัดหรือแย้ง" กับที่กฎหมายในมาตรา ๑๗ บัญญัติเอาไว้อย่างชัดแจ้งจึงมีผลเป็นโมฆะ (ตาม ปพพ. มาตรา ๑๕๐)
_ในสัญญายังบอกต่อไปว่าบริษัทไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยใดๆ ทั้งสิน ต้องเข้าใจก่อนว่าหากมีการเลิกจ้าง กฎหมายกำหนดให้ต้องจ่ายค่าชดเชย(มาตรา ๕) ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด(มาตรา ๑๑๘)
_จะเห็นว่า "กฎหมายกำหนดเอาไว้" ตามที่วงเล็บมาตราไว้ให้ ดังนั้น การทำข้อตกลงว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยใดๆ ทั้งสิ้นแบบตามตัวอย่างนี้ มีผลเป็น "โมฆะ" (ตาม ปพพ. มาตรา ๑๕๐) เพราะเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย"

แบบนี้พอจะมีโอกาสไหมคะ ไม่แน่ใจเรื่องถ้าเป็นโมฆะ แล้วเราจะเรียกร้องอะไรได้บ้าง