24/11/24 - 05:20 am


ผู้เขียน หัวข้อ: ความยินยอมในการย้ายที่ทำงาน  (อ่าน 3491 ครั้ง)

namja

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
ความยินยอมในการย้ายที่ทำงาน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2020, 03:23:21 pm »
สวัสดีครับ
ขออนุญาตสอบถามนะครับ
-ปัจจุบันผมเป็นพนักงานประจำทำงานที่นี่อยู่7ปี ซึ่งตอนที่สัมภาษณ์งานเข้ามาได้พูดคุยกันถึงเงินเดือน และค่าล่วงเวลาโดยบริษัทเรียกเป็น "ค่ากะ" โดยเหมาจ่ายรายวัน หากวันไหนไม่มาทำงานจะไม่ได้รับเงินในส่วนนี้ (แต่ในสัญญาการจ้างงานไม่ได้มีการระบุถึงเงินในส่วนนี้)
-จนเมื่อต้นปีเนื่องจากสถานการณ์covid19 บริษัทได้รับผลกระทบโดยตรง บริษัทจึงทำการตัดเงิน "ค่ากะ" ออกโดยแจ้งก่อนล่วงหน้าประมาณ 1 เดือน โดยที่การทำงานแต่ละวันยังเป็นการทำงานล่วงเวลาอยู่ และเดือนต่อมาได้ให้มีการเซ็นหนังสือปรับลดเงินเดือนลงอีก40เปอเซ็น โดยไม่มีกำหนดว่าจะลดเงินเดือนถึงเมื่อไหร่
-เนื่องจากงานที่ทำตอนนี้เป็นไซต์งาน และสัญญาระหว่างบริษัทกับลูกค้ากำลังจะหมดลงในสิ้นปี ทางบริษัทได้พยายามที่จะย้ายพนักงานไปทำงานที่บริษัทในเครือ จากสมุทรปราการอาจต้องไปทำงานที่นนทบุรี

ขอสอบถามดังนี้นะครับ
1.เราสามารถสามารถเรียกร้องเงิน "ค่ากะ" ที่บริษัทงดจ่ายไปตั้งแต่ช่วงต้นปีได้ไหมครับ
2.ในกรณีที่บริษัทจะย้ายเราไปทำงานที่ใหม่ซึ่งไกลจากที่เดิมมากและเราไม่ต้องการไป เนื่องจากไกลและไม่มีการจ่ายค่าเดินทางและเพิ่มเงินเดือนเนื่องจาก เวลาในการเดินทางต้องเพิ่มขึ้นอีกมากให้อย่างเหมาะสม เราสามารถปฏิเสธได้หรือไม่ครับ(ในสัญญาว่าจ้างระบุถึงบริษัทมีสิทธิในการย้ายพนักงานไปที่ไหนหรือตำแหน่งงานใดๆก็ได้ โดยบริษัทจะไม่จ่ายผลประโยชน์ใดๆเพิ่มให้)
3.หากผมไม่ยินยอม บริษัทต้องเลิกจ้างผม และทำการจ่ายเงินชดเชยกรณีเลิกจ้างใช่ไหมครับ หากใช่ผมจะได้รับเงินในช่วงปรับลดเงินเดือนหรือเปล่าครับ(ได้ยินว่ามีพนักงานบางคนได้อย่างนั้น)
4.ผมยังมีเรื่องค่าสัญญาที่บริษัทส่งไปเรียนอบรมซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่บริษัทออกให้ สัญญาจะหมดในปีหน้า(กำหนดค่าปรับเป็น2เท่าหากมีการลาออกก่อนที่สัญญาจะหมด) สัญญาฉบับนี้จะเป็นอย่างไรครับหากผมไม่ตกลงยินยอมที่จะย้ายไปทำงานตามที่บริษัทกำหนดไว้ให้
5.หลังจากที่ทราบเรื่องว่าสัญญาทางบริษัทกับลูกค้ากำลังจะหมดผมพยายามจะลาออกเพราะไม่อยากไปทำงานบริษัทในเครือเพราะไกลจากบ้าน โดยขอต่อรองกับบริษัทเรื่องยกเลิกสัญญาค่าเรียนอบรม บริษัทจึงให้เขียนใบลาออกเพื่อส่งไปให้ทางผู้ใหญ่พิจารณาก่อน แต่ผมเปลี่ยนใจไม่ได้ส่งไปเพราะต้องการให้ทางบริษัทจ้างออกแทน ทางบริษัทปฏิเสธที่จะจ่ายในส่วนนี้ โดยให้เหตุผลว่า ทางผมได้แจ้งว่าจะลาออกไปแล้วและก่อนหน้านี้ทางบริษัทได้พยายามที่จะส่งผมไปสัมภาษณ์งานบริษัทอื่นๆในเครือ แต่ทางผมปฏิเสธไปเพราะด้วยระยะทางที่ไกล ส่วนนี้มีผลต่อกฏหมายไหมครับ
และระหว่างนี้ถ้าบริษัทพยายามที่จะส่งเราไปสัมภาษณ์งานในเครือบริษัทเอง ถ้าผมรู้สึกว่ามันไกลมากผมสามารถปฏิเสธการไปสัมภาษณ์งานได้เลยไหมครับ มีผลต่อการที่บริษัทจะจ่ายเงินจ้างออกไหมครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 02, 2020, 06:28:29 pm โดย namja »

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
Re: ความยินยอมในการย้ายที่ทำงาน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2020, 08:06:06 am »
ปัญหาแรงงาน

1.เราสามารถสามารถเรียกร้องเงิน "ค่ากะ" ที่บริษัทงดจ่ายไปตั้งแต่ช่วงต้นปีได้ไหมครับ

ตอบ...สามารถเรียกร้องได้  เพราระการตกลงด้วยวาจาก็ถือเป็นสัญยาจ้างที่ใช้บังคับได้  ตาม ม.5
2-3-5
ตอบ...คงต้องใช้หลักการใน ม.118 ม.120-120/1 (พรบ.คุ้มครองแรงงานฯ)มาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา ก็ลองค่อยๆอ่านดู ก็มีขั้นตอนวิธีการในการแก้ไขไว้ คนทั่วไปก็สามารถทำความเข้าใจได้ ครับ
ถาม..4.ผมยังมีเรื่องค่าสัญญาที่บริษัทส่งไปเรียนอบรมซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่บริษัทออกให้ สัญญาจะหมดในปีหน้า(กำหนดค่าปรับเป็น2เท่าหากมีการลาออกก่อนที่สัญญาจะหมด) สัญญาฉบับนี้จะเป็นอย่างไรครับหากผมไม่ตกลงยินยอมที่จะย้ายไปทำงานตามที่บริษัทกำหนดไว้ให้
ตอบ...สัญญานี้ยังมีผลบังคับ ถ้าผิดสัญญาคือ ไม่ไปทำงานก็คงถูกปรับ 2 เท่า แต่สิทธิตาม ม.118 และ ม.120  ก็มีอยู่เช่นกัน เช่นได้เงินชดเชยในการเลิกจ้าง 240 วัน...(แต่ปัญหาการไม่ไปทำงาน ถือว่าถูกเลิกจ้าง หรือไม่ เพราะมีสัญญาการทำงานติดค้างอยู่ ถ้านายจ้างโต้แย้งขึ้นมาว่า ไม่ใช่การเลิกจ้าง คงต้องให้ศาลวินิจฉัย)

มาตรา ๑๑๘  ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ดังต่อไปนี้

(๑) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไม่ครบหนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๒) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๓) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๔) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปี แต่ไม่ครบสิบปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๕) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปี แต่ไม่ครบยี่สิบปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(๖) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบยี่สิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสี่ร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสี่ร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

                      การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป

                   ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น

                  การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง

มาตรา ๑๒๐  นายจ้างซึ่งประสงค์จะย้ายสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่งแห่งใดไปตั้ง ณ สถานที่ใหม่หรือย้ายไปยังสถานที่อื่นของนายจ้าง ให้นายจ้างปิดประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า โดยให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่ที่ลูกจ้างสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน ติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ และประกาศนั้นอย่างน้อยต้องมีข้อความชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ว่าลูกจ้างคนใดจะต้องถูกย้ายไปสถานที่ใดและเมื่อใด

            ในกรณีที่นายจ้างไม่ปิดประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างที่ไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

           หากลูกจ้างคนใดเห็นว่าการย้ายสถานประกอบกิจการดังกล่าวมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัวของลูกจ้างคนนั้น และไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่ ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ปิดประกาศ หรือนับแต่วันที่ย้ายสถานประกอบกิจการในกรณีที่นายจ้างมิได้ปิดประกาศตามวรรคหนึ่ง และให้ถือว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงในวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา ๑๑๘

           ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามวรรคสองหรือค่าชดเชยพิเศษตามวรรคสามให้แก่ลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สัญญาจ้างสิ้นสุด

            ในกรณีที่นายจ้างไม่เห็นด้วยกับเหตุผลของลูกจ้างตามวรรคสาม ให้นายจ้างยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือ

 

มาตรา ๑๒๐/๑  เมื่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานพิจารณาคำร้องตามมาตรา ๑๒๐ วรรคห้าแล้ว เห็นว่าลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษ แล้วแต่กรณี ให้แก่ลูกจ้างภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างทราบคำสั่ง

       ในกรณีที่คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานพิจารณาแล้ว เห็นว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษ แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานแจ้งคำสั่งให้นายจ้างและลูกจ้างทราบ

         ในการพิจารณาและมีคำสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง และแจ้งคำสั่งให้นายจ้างและลูกจ้างทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีคำสั่ง

         คำสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานให้เป็นที่สุด เว้นแต่นายจ้างหรือลูกจ้างจะอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่ง ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาล นายจ้างต้องวางหลักประกันต่อศาลตามจำนวนที่ต้องจ่ายตามคำสั่งนั้น จึงจะฟ้องคดีได้

         การส่งคำสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานให้นำมาตรา ๑๔๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
Re: ความยินยอมในการย้ายที่ทำงาน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2020, 11:43:38 am »
เครสนี้ ถามมา ๕ ข้อ "มโนธรรม" ได้ตอบไปแล้วส่วนหนึ่ง พร้อมยกข้อกฎหมายประกอบ

เอาเป็นว่า เพื่อความกระจ่าง ทนายก็จะมาตอบอีกซักรอบนะ ;D ;D

ถามมาเป็นข้อๆว่า
1.เราสามารถสามารถเรียกร้องเงิน "ค่ากะ" ที่บริษัทงดจ่ายไปตั้งแต่ช่วงต้นปีได้ไหมครับ
ตอบ..เรื่องนี้คงยากอยู่นะครับ หากข้อเท็จจริงปรากฎว่ามีการงดจ่ายกันตั้งแต่ช่วงต้นปี แล้วเราไม่ได้ "คัดค้าน" ไว้ ในทางกฎหมายก็จะถือว่าเราให้ความยินยอมโดย "ปริยาย" ไปแล้ว เอาเป็นว่า หากจะเล่นเรื่องนี้จะต้องรีบคัดค้านว่าการที่นายจ้างงดจ่ายค่ากะนั้น เราไม่เห็นด้วยนะ เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคน เอาคืนมาๆ  แต่ทนายว่า...ยากครับ

2.ในกรณีที่บริษัทจะย้ายเราไปทำงานที่ใหม่ซึ่งไกลจากที่เดิมมากและเราไม่ต้องการไป เนื่องจากไกลและไม่มีการจ่ายค่าเดินทางและเพิ่มเงินเดือนเนื่องจาก เวลาในการเดินทางต้องเพิ่มขึ้นอีกมากให้อย่างเหมาะสม เราสามารถปฏิเสธได้หรือไม่ครับ(ในสัญญาว่าจ้างระบุถึงบริษัทมีสิทธิในการย้ายพนักงานไปที่ไหนหรือตำแหน่งงานใดๆก็ได้ โดยบริษัทจะไม่จ่ายผลประโยชน์ใดๆเพิ่มให้)
ตอบ.. คำถามนี้ น่าคิดและน่าจะเป็นประเด็นข้อกฎหมายในการตีความสัญญาพอสมควร เนื่องจาก หากมองในเรื่องของธุรกิจก่อสร้าง(อนุมาณเอาจากคำว่าไซด์งาน) ย่อมต้องมีการโยกย้ายไปตามสถานที่ทำงานแห่งใหม่ เมื่อเราสมัครใจที่จะเข้าทำสัญญาและรู้อยู่ตั้งแต่ต้นว่าธุรกิจของบริษัทมีลักษณะการทำงานเป็นเช่นนี้แล้ว ก็ถือว่าเราได้ยินยอมรับเอาสัญญาในการโยกย้ายได้ และคงต้องยึดถือตามที่กำหนดไว้ในสัญญา
   แต่ถ้าพิจารณาตามมาตรา ๑๒๐ ดังที่มโนธรรมได้ยกมาประกอบนั้น จะเห็นว่า หากการโยกย้ายนั้นทำให้การดำรงชีวิตของเราเปลี่ยนแปลงไปก็สามารถบอกเลิกสัญญาได้ ซึ่งก็จะขัดแย้งกับข้อสัญญาที่เราได้ไปตกลงไว้ข้างต้น 
   ด้วยเหตุนี้ ทนายจึงเห็นว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่จะต้องตีความว่าจะยึดถือตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้ หรือยึดถือตามข้อกฎหมายในมาตรา ๑๒๐ ซึ่งกฎหมายแรงงานถือเป็นกฎหมายมหาชน และเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงใดที่ขัดต่อกฎหมายถือเป็นโมฆะ
   เอาเป็นว่า ถ้าไม่อยากไปก็บอกยกเลิกสัญญาแล้วไปลุ้นเอาว่านายจ้างจะจ่ายค่าชดเชยให้หรือไม่ แต่ถ้าตามไปก็จะต้องได้สวัสดิการเท่าเดิมหรือไม่ลดลง การที่สัญญาบอกว่าจะไม่ได้รับสวัสดิการหรือผลประโยชน์ใดๆเพิ่มนั้น ข้อนี้ ให้ยึดหลักต้องไม่ลดลงกว่าเดิมครับ
 
3.หากผมไม่ยินยอม บริษัทต้องเลิกจ้างผม และทำการจ่ายเงินชดเชยกรณีเลิกจ้างใช่ไหมครับ หากใช่ผมจะได้รับเงินในช่วงปรับลดเงินเดือนหรือเปล่าครับ(ได้ยินว่ามีพนักงานบางคนได้อย่างนั้น)
ตอบ..ประเด็นนี้แหละที่เป็นปัญหา เพราะมาตรา ๑๑๘ บัญญัติว่า "ค่าจ้างอัตราสุดท้าย" ดังนั้น ต้องพิจารณาว่า เจตนาในการลดค่าจ้างนั้น มีระยะเวลาหรือไม่ อย่างไร หากมีเจตนาในการลดลงชั่วคราว ก็ให้ยึดถือตามค่าจ้างเดิม แต่ถ้าไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะลดลงเป็นระยะเวลาเท่าใด ก็ให้ถือว่า การจ่ายเงินค่าชดเชยต้องยึดถือตามมาตรา ๑๑๘ นั้นก็คือ ค่าจ้างอัตราสุดท้ายที่ตกลงกันครับ

ดังนั้น ในประเด็นนี้ ทนายขอฝากไปยังลูกจ้างทุกท่านว่า หากนายจ้างขอลดค่าจ้างเพื่อประคองสถานการโควิด ก็ให้กำหนดกันไว้ว่าเป็นการลดลงชั่วคราวในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น หากล่วงพ้นแล้ว สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น จึงทำหนังสือหรือข้อตกลงกันใหม่ เพราะถ้าไม่ทำไว้ นายจ้างเลิกจ้างก็จะเป็นดังเช่นเครสนี้นะครับ

4.ผมยังมีเรื่องค่าสัญญาที่บริษัทส่งไปเรียนอบรมซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่บริษัทออกให้ สัญญาจะหมดในปีหน้า(กำหนดค่าปรับเป็น2เท่าหากมีการลาออกก่อนที่สัญญาจะหมด) สัญญาฉบับนี้จะเป็นอย่างไรครับหากผมไม่ตกลงยินยอมที่จะย้ายไปทำงานตามที่บริษัทกำหนดไว้ให้
ตอบ..ต้องดูว่าใครเป็นฝ่ายผิดสัญญา  คงต้องดูเนื้อหาในสัญญาอย่างละเอียดละครับ คงตอบไม่ได้ในตอนนี้  เอาเป็นว่า โดยหลักของกฎหมายให้พิจารณาก่อนว่าใครเป็นฝ่ายผิดสัญญา ฝ่ายนั้นก็ต้องรับผิด เช่นกรณีที่เราลาออก ก็ถือว่า เราผิดสัญญา แต่ถ้านายจ้างเลิกจ้าง ก็ถือว่าเราไม่ได้ผิดสัญญา ก็ไม่ต้องรับผิด ประมาณนี้ครับ

5.หลังจากที่ทราบเรื่องว่าสัญญาทางบริษัทกับลูกค้ากำลังจะหมดผมพยายามจะลาออกเพราะไม่อยากไปทำงานบริษัทในเครือเพราะไกลจากบ้าน โดยขอต่อรองกับบริษัทเรื่องยกเลิกสัญญาค่าเรียนอบรม บริษัทจึงให้เขียนใบลาออกเพื่อส่งไปให้ทางผู้ใหญ่พิจารณาก่อน แต่ผมเปลี่ยนใจไม่ได้ส่งไปเพราะต้องการให้ทางบริษัทจ้างออกแทน ทางบริษัทปฏิเสธที่จะจ่ายในส่วนนี้ โดยให้เหตุผลว่า ทางผมได้แจ้งว่าจะลาออกไปแล้วและก่อนหน้านี้ทางบริษัทได้พยายามที่จะส่งผมไปสัมภาษณ์งานบริษัทอื่นๆในเครือ แต่ทางผมปฏิเสธไปเพราะด้วยระยะทางที่ไกล ส่วนนี้มีผลต่อกฏหมายไหมครับ
ตอบ...การแจ้งการลาออกด้วยวาจานั้น ปกติก็สามารถทำได้นะครับ เรียกว่า คำเสนอ เพียงแต่โดยวิธีปฎิบัติหากในการจ้างงานกันทำโดยมีสัญญา ในการบอกเลิกสัญญาก็จะต้องมีหนังสือด้วย ดังนั้น เมื่อยังไม่ได้เขียนใบลาออก ก็่ยังมีนิติสัมพันธ์การเป็นนายจ้าง-ลูกจ้างกันอยู่ครับ คงไม่มีผลในทางกฎหมายครับ 

ส่วนที่ถามตอนท้ายก็ได้อธิบายไปตอนต้นแล้วนะครับ ทั้งนี้ การที่จะให้ลูกจ้างไปทำงานทีบริษัทในเครือนั้น หากลูกจ้างไม่ยินยอม นายจ้างก็ไม่มีอำนาจในการสั่งให้ลูกจ้างไปทำได้นะครับ เพราะเป็นการเปลี่ยนตัวนายจ้าง กฎหมายห้ามครับ

คงครบถ้วนนะครับ หรือยังคาใจก็ถามมาใหม่ได้นะครับ

ทนายพร.