24/11/24 - 03:12 am


ผู้เขียน หัวข้อ: ขยายเวลาอุทธรณ์ หรือขอขยายเวลาวางเงินอุทธรณ์คำสั่งผู้ตรวจการแรงงานได้หรือไม่  (อ่าน 5169 ครั้ง)

kids

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
รบกวนทนายพรค่ะ..ทางเราได้ดำเนินร้องเรียนนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย จนล่วงเลยเข้าสู่กระบวนการออกบังคับคำสั่ง และอุทธรณ์คำสั่ง แล้วเห็นว่าระยะเวลาอุทธรณ์ฝั่งนายจ้างเกินระยะเวลา ทางเราสอบถามไปทางเจ้าพนักงานตรวจแรงงานแล้วว่ายังไม่ได้รับการติดต่ออะไรจากทางนายจ้างถ้ามีการอุทธรณ์จะรีบโทรแจ้งซึ่งมันก็เลยระยะเวลาแล้ว จึงได้เดินทางไปศาลแรงงานกลางเพื่อฟ้องบังคับคดีตามขั้นตอน โดยเจ้าหน้าที่นิติกรศาลได้ช่วยเช็คแล้วพบว่าทางนายจ้างได้ขอยื่นอุทธรณ์ในวันสุดท้ายพอดีซึ่งข้อมูลอาจยังไม่ได้อัปเดทไปถึงจนท.ตรวจแรงงาน โดยที่ทางนายจ้างได้มีการขอขยายระยะเวลา"การวางเงิน"ในการวางอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานกลางออกไปอีก 30วัน โดยที่ศาลอนุญาติ!!!(โดยที่ไม่ได้แจ้งอะไรให้ทางเราทราบเลย) ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ได้ทราบมาจากนิติกรศาลแรงงาน  จึงแปลกใจที่ศาลอนุมัติไปแบบนั้น เพราะทางเราไม่สามารถร้องบังคับคดีต่อได้เลย กลายเป็นต้องชะงักไป นิติกรเค้าไม่ดำเนินการต่อให้ บอกให้รอทางศาลตัดสินก่อนเพราะมีการร้องอุทธรณ์ขอขยายเวลาวางเงินอุทธรณ์

....เลยอยากรบกวนสอบถามทนายพรว่าในทางปฎิบัติ นายจ้างยังสามารถขอเลื่อน หรือขยายเวลาอุทธรณ์ หรือขอขยายระยะเวลาวางเงินอุทธรณ์ออกไปได้หรือไม่ แล้วได้ครั้งนึง30วันเลยหรอ?? ทางลูกจ้างเสียหายจากระยะเวลาที่เนิ่นนานมาก หรือทางเราอาจเข้าใจผิดอะไรไปเอง โดยหมายเลขคดี มีรหัสขึ้นต้นด้วย ร01010(ตัวอย่าง) อันนี้ไม่ทราบว่าเป็นอุทธรณ์คำสั่ง หรือเป็นลักษณะคำร้องเฉยๆ รบกวนทนายพรชี้แนะข้อเท็จจริงทีค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
กีฬามวยเวลาชกกันยังต้องมี ๕ ยก แต่เดียวนี้ก็ ๓ ยกเยอะไปนะ  เอาเป็นว่า คดีเรานี้ ที่เราไปร้องพนักงานตรวจแรงงงานหรือที่ทนายมักจะเรียกว่า คร.๗ เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายนั่น นี่ โน้น ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑

หลังจากพนักงานตรวจแรงงานสอบสวนทั้งสองฝ่าย ฝ่ายในระยะเวลา ๖๐ วันแล้ว ก็จะมีคำสั่งออกมา และส่งให้ทั้งสองฝ่ายต้องปฎิบัติตามคำสั่งนั้นภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยปกติก็ประมาณ ๓๐ วัน และท้ายของคำสั่งก็จะเป็นสิทธิของทั้งสองฝ่ายว่า หากไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวสามารถยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อเพิกถอนคำสั่งนั้น ภายใน ๓๐ วัน "นับแต่" วันที่ "ได้รับคำสั่ง" ไม่เชื่อก็กลับไปดูในหน้าสุดท้ายของคำสั่งดูก็ได้ครับ ต้องมีข้อความนี้แน่นอน

เเละเมื่อนายจ้างเป็นผู้ไม่เห็นด้วยและนำคดีไปสู่ศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่ง นายจ้างก็ต้องฟ้อง พนักงานตรวจแรงงานเป็นจำเลยในคดีนี้ หรือจะฟ้องเราเป็นจำเลยที่ ๒ ก็สามารถทำได้ หรือถ้านายจ้างไม่ฟ้องเรา เราก็ต้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๗ เพื่อจะได้เข้าไปเป็น "คู่ความ" ในคดีและเวลาจะทำอะไรเราจะได้รู้และสามารถอุทธรณ์ ฏีกาได้ในอนาคต

เอาล่ะ เมื่อนายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาล กฎหมายยังกำหนดต่อไปว่า ให้นายจ้างนำเงินไปวางตามจำนวนที่พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่ง ก่อนที่จะฟ้องคดี หากไม่นำเงินไปวาง ศาลจะไม่รับฟ้อง และจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ

แต่ก็เป็นสิทธิของนายจ้างอีกนั่นแหละว่าสามารถยื่นคำร้องขอ "ขยายระยะเวลาการวางเงิน" โดยจะอ้างเหตุ อยู่ระหว่างการรวบรวมเงิน คนอนุมัติอยู่ต่างประเทศติดโควิด หรืออะไรก็แล้วแต่ เมื่อยื่นไปแล้วก็เป็น "ดุลพินิจ" ของศาลที่จะสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาต  ซึ่งคดีปกติแล้ว ศาลน่าจะสั่งว่าอนุญาต เราคงไปทำอะไรไม่ได้ เว้นแต่เมื่อครบกำหนดการวางเงินตามที่ศาลอนุญาตแล้ว ให้เราไปตรวจสำนวนดูอีกทีว่า นายจ้างขอขยายระยะเวลาอีกหรือไม่ หากขอก็ให้ยื่น "คำคัดค้าน" คำร้องดังกล่าว เพื่อให้ศาลใช้ดุลพินิจในการสั่งต่อไป ประมาณนี้ในลำดับขั้นตอน

นี่ยังไม่หมดนะ หากศาลมีคำสั่งว่าไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาการวางเงิน นายจ้างก็สามารถ "อุทธรณ์คำสั่งที่ไม่อนุญาต" นั้น ต่อศาลอุทธรณ์ เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาวินิจฉัยว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อาจจะย้อนสำนวนมาให้ศาลชั้นต้นมาไต่สวนคำร้องถึงเหตุผลที่นายจ้างยื่นนั้น เพียงพอรับฟังได้หรือไม่ ซึ่งหากเข้าขั้นตอนนี้ ก็ต้องรอเวลาอีกหลายเดือนเลยทีเดียว

ชักจะยาวไปแระ  ตอบที่ถามเลยละกัน ;D

ถามมาว่า...จะขยายการวางเงินได้มั๊ย?  ตอบว่า ขยายได้ตามที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น

ถามว่า...ขยายได้ครั้งละ ๓๐ วันเลยหรา? ก็ตอบว่า ปกติก็ครั้งละ ๓๐ วัน และอาจได้หลายครั้ง แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายได้กี่ครั้งเป็นดุลพินิจของศาล ซึ่งที่ทนายเคยเจอศาลอนุญาตให้ขยายได้ ๓ ครั้ง รวม ๙๐ วันเลยนะครับ แต่ในระหว่างนี้ เราก็ได้ดอกเบี้ยตามคำสั่ง หรือเรียกว่า ดอกเบี้ยเดินครับ

ถามว่า...หมายเลขคดี มีรหัสขึ้นต้นด้วย ร01010(ตัวอย่าง) อันนี้ไม่ทราบว่าเป็นอุทธรณ์คำสั่ง หรือเป็นลักษณะคำร้องเฉยๆ ?  ก็ตอบว่า...เป็นหมายเลขคดีดำ ที่ศาลเป็นผู้กำหนดตามลำดับก่อนหลังคดีที่นำมาฟ้อง หมายความว่า ถ้าเป็นหมายเลขคดีดำ ร.๐๑๐๑๐/๒๕๖๓ ก็หมายความว่า มีคนมาฟ้องก่อนเราแล้ว ๑,๐๐๙ คน แล้วเราเป็นคนที่ ๑,๐๑๐ เราจึงได้เลขคดี ร.๐๑๐๑๐/๒๕๖๓ นั่นเอง

แล้วตอนนี้คดีของเราได้ หมายเลขดำที่เท่าใหร่ครับ  ทนายว่า ต้องมี ๔,๐๐๐ เป็นแน่ เพราะทนายไปฟ้องเมื่อ ๓ เดือนก่อนยังได้เลขดคี ๓ พันกว่าเลยครับ

เราน่า มวยพึ่งยกแรก  รอหน่อยครับ คิดซะว่า เอาเงินไปฝากธนาคารแล้วได้ดอกเบี้ยร้อยละ ๑๕ ต่อปี  แล้วในระหว่างนี้ก็หาทนายความหรือถ้าทำได้ก็เขียนคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมซะ ต่อไปมีอะไรเราจะได้รู้และต่อสู้คดีอย่างถึงที่สุดนั่นเอง

ทั้งนี้ ศาลจะให้โอกาส คู่ความทั้งสองฝ่าย ต่อสู้คดีกันอย่างเต็มที่ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมนั่นเอง

เอาใจช่วยครับ

ทนายพร.

kids

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
 "ขอบพระคุณทางทนายพรมากๆๆค่ะ ที่ได้แนะนำชี้แจงมาเยอะเลย เข้าใจทุกประเด็นเลยทีเดียว"

ขออนุญาตรบกวนสอบถามต่อนะคะ

- ล่าสุดจากที่นายจ้างได้ขอขยายเวลา และเหมือนวางเงินมัดจำในคำร้องไว้ส่วนหนึ่ง โดยให้เหตุผลว่าหาเงินไม่ทัน มีภาระที่ต้องจ่ายเงินเดือนพนักงาน และค่าใช้จ่ายในบริษัท จำเป็นต้องขอขยายเวลาและจะนำเงินส่วนที่เหลือมาวางในระยะเวลาที่ขอขยาย ..ที่นี้พอทางเรารอมาเป็นเวลาหนึ่งเดือน จนครบกำหนดขยายเวลารอบแรก กลายเป็นว่ามีหมายศาลจากทางศาลแรงงานกลาง มาแจ้งวันนัดพิจารณาและกำหนดประเด็นข้อพิพาท ประมาณว่ารับฟ้องแล้ว ทางเราเลยอ่านเอกสารฟ้องที่แนบมาจากทางนายจ้าง สรุปว่าเค้าไม่ได้วางเงินเพิ่มตามที่แจ้งขอขยายเวลาไว้ ***และมาเปลี่ยนประเด็นแค่มาฟ้องร้องแย้งคำสั่งผู้ตรวจแค่บางประเด็น ทั้งๆที่การขยายเวลาได้รับอนุญาตจากทางศาลไปแล้ว คือเวลามันก็รันไปแล้วหนึ่งเดือน เหมือนเค้าเองก็ตั้งใจจะฟ้องแค่บางประเด็นที่วางเงินคลอบคลุมไว้ตั้งแต่แรก แต่ก็ยังให้การต่อศาลว่าจะนำเงินส่วนที่เหลือ เขียนยอดเงินมาในใบคำร้องขอขยายเวลามาชัดเจนว่าเท่าไหร่ๆ จะมาวางให้ครบเพื่อขอขยายเวลาไปเป็นเดือน ให้ทางเราเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์
   ซึ่งทางเรามองว่าเป็นการไม่ยุติธรรมเลย ที่ศาลรับฟ้องทั้งๆที่ในใบขอขยายคำร้องแจ้งว่าจะนำเงินมาวางให้ครบตามกำหนดที่ขอขยายเวลา แต่พอถึงเวลากลับไม่ทำตามที่ให้การเพื่อขอขยายเวลาไว้ อีกทั้งทางนายจ้างก็ไม่ได้กำหนดหัวข้อฟ้อง หรือกำกับประเด็นฟ้องร้องไว้ตั้งแต่แรกที่ขอขยายเวลาวางเงิน ว่าจะฟ้องแค่บางประเด็น เพราะถ้าอย่างนั้นก็แค่วางเงินตามที่มีประเด็นที่จะโต้แย้ง(ซึ่งเค้าก็มีพอที่วางไว้แล้ว) แล้วขอให้ทางศาลแรงงานกลางนัดพิจารณาได้เลย โดยไม่ต้องขอขยายเวลาด้วยซ้ำไปเพราะก็ไม่ได้เอาเงินส่วนที่เหลือมาวางให้จริงๆ ทำให้ทางเรารู้สึกว่าทางเราเสียหาย,เสียเวลาในการรอ แลดูเป็นทริคการประวิงเวลาจากทางฝั่งนายจ้าง (และในกรณีนี้คดีอาญาที่จะเกิดขึ้นระหว่าง ผู้ตรวจการแรงงานกับทางนายจ้างจะถูกระงับไปด้วยไหมคะ เพราะอาศัยแค่มาวางเงินฟ้องโต้แย้งแค่บางข้อแบบนี้)

  ทีนี้เลยอยากทราบว่ากรณีนี้ทางเราสามารถที่จะร้องเรียนไปทางผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางได้ไหมว่า ให้สั่งนายจ้างนำเงินส่วนที่เหลือ ที่ไม่ได้เป็นข้อพิพาก หรือติดใจโต้แย้งตามที่เจ้าหน้าที่ตรวจแรงงานสั่งให้จ่าย ให้นำมาจ่ายให้แก่ทางเราลูกจ้างในวันที่นัดพิจารณาและกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่กำลังจะถึง เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย เพราะประเด็นที่ฟ้องกลับมาทางเราก็ยินดีไปชี้แจงโดยไม่ขัดข้อง อะไรที่ไม่โต้แย้งก็ควรจะนำมาจ่ายทางเราก่อน...ลักษณะนี้เรามีสิทธิสามารถร้องไปได้ไหมคะ และถ้าท่านไม่อนุญาตตามนี้ ทางเราจะทำยังไงกับเงินในส่วนที่นายจ้างเล่นแง่ เลี่ยงไม่ยอมเอามาวางไว้ตามคำสั่งผู้ตรวจแรงงาน ได้บ้าง หรือจะต้องถึงขั้นฟ้องบังคับคดีกันจริงๆคะ 

 ...ขอขอบพระคุณทางทนายและทีมล่วงหน้านะค่ะ ที่ได้แวะเวียนเข้ามาชี้แนะ และให้คำตอบ ขอบคุณมากๆจริงๆ ^^
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 07, 2020, 11:11:39 pm โดย kids »

Bunnyrall

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
เป็นความรู้ที่ดีเลยครับ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
ตามแบบต่อเนื่อง ทนายก็ไม่ขัดที่จะตอบให้สิ้นข้อสงสัย

เอาเป็นว่า ที่บอกว่าอยากจะร้องเรียนผู้พิพากษา นั้น เปลี่ยนเป็นว่า ขอแถลงให้ผู้พิพากษา จะดีกว่านะ..อิอิ เพราะถ้าร้องเรียนแสดงว่าผู้พิพากษาทำผิดอยู่ ;D

เข้าเรื่องๆ

แน่นอน เรื่องทำนองนี้เป็นเทคนิคในการดำเนินคดี อาจจะด้วยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ เนื่องจาก หากในคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานมีหลายคำสั่งย่อยในเรื่องเดียวกัน เช่น มีคำสั่งให้จ่ายเงินค่าชดเชย จ่ายเงินค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จ่ายเงินวันหยุดพักผ่อนประจำปี  อะไรประมาณนี้ หากคำสั่งนั้น นายจ้างเห็นว่า ค่าชดเชยถูก ส่วนเงินค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เงินวันหยุดฯ ไม่ถูกต้อง นายจ้างก็สามารถอุทธรณ์คำสั่งเฉพาะเงินตามประเด็นที่เห็นว่าไม่ถูกต้องได้  โดยนำเงินเฉพาะที่ไม่เห็นด้วยไปวางต่อศาลในวันยื่นฟ้อง
ซึ่งวิธีปฎิบัติก็คือ ในวันยื่นอุทรณ์คำสั่งหรือยื่นฟ้องต่อศาล ทนายก็จะนำคำฟ้อง + คำร้องขอขยายระยะเวลาการวางเงิน ไปยื่นต่อศาล เมื่อศาลได้รับ ก็จะมีคำสั่งในคำร้องว่า อนุญาตหรือไม่อนุญาต และโดยปกติ ศาลมักจะอนุญาต โดยในระหว่างนี้ทีมทนายก็อาจจะไปปรึกษาหารือกับนายจ้างว่า จะเลือกประเด็น หรือเลือกทั้งหมดในการเพิกถอนคำสั่ง หากเพิกถอนทั้งหมด สิ่งที่จะตามมาก็คือ "ดอกเบี้ยเดิน" ถ้ายอดเงินสูงอาจจะไม่คุ้มเมื่อพิจารณาข้อกฎหมายแล้วว่าสู้ไม่ได้ แต่เลือกที่จะอุทธรณ์ในบางประเด็น อย่างนี้เป็นต้น

เอาเป็นว่า ประเด็นใหนหรือเงินตัวใหน หากนายจ้างไม่ฟ้องเพิกถอน เมื่อครบกำหนด ๓๐ วัน แล้ว ก็ให้ไปติดต่อพนักงานตรวจแรงงานที่ออกคำสั่ง ถามว่า นายจ้างนำเงินมาวางหรือไม่ หากไม่นำมาวาง ก็ให้แจ้งไปว่า ให้ดำเนินคดีอาญากับนายจ้างได้เลยครับ เพราะถือว่าคำสั่งสิ้นสุดแล้ว ซึ่งข้อกฎหมายได้วางแนวทางไว้เช่นนี้

ส่วนที่บอกว่า ให้ศาลบอกให้นายจ้างเอาเงินมาจ่ายในวันนัดพิจารณานั้น ก็แจ้งได้ ส่วนวิธีปฎิบัติในทางกฎหมายนั้น อาจจะทำไม่ได้ เพราะไม่อยู่ในสำนวนคดี คงไปใช้สิทธิตามที่อธิบายไว้ตอนต้น หากยังไม่จ่ายก็สามารถนำคำสั่งนั้น ยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษา และบังคับคดีโดยการยึดทรัพย์สิน นำขายทอดตลาด เอาเงินมาชำระหนี้ให้เราต่อไปครับ

เครสนี้ ต้องสู้ด้วยข้อกฎหมายและมันสมองครับ

อนึ่ง ไม่แน่ใจว่าบริษัท ฟ้องพนักงานตรวจแรงงานเป็นจำเลยคนเดียว หรือฟ้องเราด้วย? ถ้าบริษัทไม่ได้ฟ้องเราเป็นจำเลยที่ ๒ ก็ให้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอเข้าไปเป็นจำเลยร่วมในคดี (สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๗) จะได้รู้ว่าคดีไปถึงใหนอย่างไร เดี๋ยวจะตกขบวนและไม่รู้เรื่องนะครับ

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.