24/11/24 - 03:46 am


ผู้เขียน หัวข้อ: นายจ้างจะให้ลาออกหรือไล่ออก โดยแจ้งว่าเราทำงานไม่ได้ตามที่คาดหวัง  (อ่าน 5657 ครั้ง)

Kupopz

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
สวัสดีครับ เรียนปรึกษาทนายเกี่ยวกับคดีแรงงานครับ

ก่อนอื่นต้องรบกวนด้วยนะครับผมเขียนค่อนข้างยาว เป็นสิ่งที่ทำให้ผมกังวลใจและคับข้องใจในตอนนี้มากครับ

เมื่อวันศุกร์ที่ 5 กพ. 2021 ผมกำลังถูกนายจ้างเลิกจ้างเนื่องจากโดนประเมินว่าทำงานไม่ได้ตามที่คาดหวัง(จะออกหนังสือเตือนครั้งที่ 2) ซึ่งผมมีข้อขัดแย้งมาตลอดเนื่องจากในหลายๆงานผมก็ทำตามคำสั่งหน้าที่และจบงานได้ จนมีบางงานที่นายจ้างประเมินว่ายังไม่เป็นที่พอใจครับ
เขาจะให้ผมรับทราบข้อกล่าวหา และให้ยินยอมเซ็นต์ใบลาออก แต่ผมไม่ยอม เขาจึงแจ้งผมมาว่า
1. ถ้าผมเซ็นต์ลาออกก็จากกันด้วยดีสิ้นเดือนออกรับเงินเดือนปกติไม่เสียประวัติ
2. ถ้าไม่เซ็นต์ใบลาออก บ.จะออกเป็นหนังสือเตือน performance และไล่ออก ไม่จ่ายชดเชยและจะมีประวัติในประกันสังคมด้วย
ซึ่งผมรู้สึกไม่เป็นธรรมครับ เลยเจรจาขอค่าชดเชยแต่ทางนายจ้างจะไม่ยอมจ่ายแน่นอน
และเขายังบอกอีกว่า บ.สามารถเอาผมออกได้เลย โดยจะออกใบเตือนเรื่องการมาสายแทน(เป็นใบเตือนครั้งที่ 3) ซึ่งกรณีมาสายหลังจากได้รับใบเตือนครั้งที่ 2 เมื่อเดือนสิงหาคม 2020 เป็นต้นมา ผมมีการปรับพฤติกรรมมาทำงานใหม่โดยมาทำงานแทบไม่สายเลย จะมีสายบ้างเฉลี่ยเดือนละ 1-2 ครั้ง ครั้งละ 1-5 นาที เนื่องจากรถติด ซึ่งการที่เขาจะเอามาออกใบเตือนผมรู้สึกว่ามันไม่แฟร์กับผมเลยเหมือนโดนกลั่นแกล้ง เหมือนถ้าจะไม่เอาพนักงานคนไหนไว้ก็จะหาวิธีเช่นนี้มาทำกับพนักงานเสมอ (หลักฐานสถิติการมาทำงาน hr ก็เก็บไว้, ใบเตือนต่างๆทาง hr ก็ไม่มีสำเนาให้)
หลังจากคุยกันว่าจะไม่ได้ร่วมงานกันแล้วและหาข้อสรุประหว่างกันไม่ได้ ทาง hr นายจ้างเลยขอกลับไปคุยกับทาง md ก่อนภายในสัปดาห์นี้ และจะมีคุยกับผมอีกรอบพร้อมทนายของทางบ.

กรณีนี้ถ้าผมถูกไล่ออกจะสามารถเรียกร้องเงินชดเชยได้ไหมครับ?
หรือพอจะมีวิธีไหนเพื่อสู้คดีได้บ้างครับ

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
ปัญหาแรงงาน

   หลักการ....  นายจ้างอาจเลิกจ้าง โดยไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย  ตาม พรบ.คุ้มครองแรงฯ ม.119..

มาตรา ๑๑๙  นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้

(๑) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

(๒) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

(๓) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

(๔) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน

หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด

(๕) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร

(๖) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

ในกรณี (๖) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้างนายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้

   ก็ต้องมาดูข้อเท็จจริงว่า คุณมีเงื่อนไขใด ตาม ม.119  ที่จะถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้รับเงินชดเชยหรือไม่...ถ้ามั่นใจว่า ยังปฏิบัติตนไม่เข้าเงื่อไข ตาม ม.119  ถ้าจะให้ลาออก  ก็ต้องใช้การเจรจา  ถ้าไม่ได้ผล  คงต้องฟ้องศาลแรงงาน...

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
จะสู้ได้หรือไม่ได้ต้องดูข้อหาที่นายจ้างระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างเสียก่อน

หากในหนังสือเลิกจ้างไม่ระบุข้อหาไว้  ฟันธงตรงนี้ได้เลยว่า คุณมีสิทธิได้รับค่าชดเชยแน่นอน เพราะมาตรา ๑๑๙ วรรคท้าย กำหนดไว้ว่า หากนายจ้างไม่ระบุสาเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ นายจ้างจะยกเหตุความผิดมาต่อสู้ภายหลังไม่ได้

ดังนั้น ต้องรอดูหนังสือเลิกจ้างก่อนครับ

แต่ในระหว่างนี้ หากเรามั่นใจว่าผลงานเราดี ก็ควรจะเตรียมหลักฐานไว้ เช่น หลักเกณฑ์การประเมินผลงานหรือตัวชี้วัด สถิติการประเมินย้อนหลัง การทำงานในปีที่ผ่านมา ตารางเปรียบเทียบในแต่ละปี ใบประกาศเกียติคุณ อย่างนี้เป็นต้น เพื่อแสดงให้เห็นว่าผลการปฎิบัติงานของเราอยู่ในเกณฑ์ดี
ส่วนเรื่องการมาทำงานสายนั้น หากเพียงเล็กน้อย และพิจารณาจากสถิติแล้วดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในประเด็นนี้ก็ไม่ต้องกังวล หากต้องพิจารณากันจริงๆเชื่อว่าศาลคงให้น้ำหนักไม่มากนักในประเด็นนี้ อาจจะวินิจฉัยว่า มีความผิดอยู่บ้างแต่ไม่ร้ายแรง ก็ยังมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชยอยู่ดี รวมทั้งอาจมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ตามมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.๒๕๒๒ อีกด้วย

ให้กำลังใจครับ

ทนายพร.