23/11/24 - 21:08 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: อยากส่งคลิปเสียงให้ฟังค่ะ ว่าใช้เป็นหลักฐานการถูกกดดันให้เขียนใบลาออกได้ไหมคะ  (อ่าน 7047 ครั้ง)

Auamporn

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
เรียน ทนายพรคะ
  ดิฉันมีปัญหาเรื่องถูกกดดันให้ออกจากงาน เพราะสร้างความไม่พอใจให้กับเจ้านาย  โดยที่ไม่เจตนา ดิฉันทำงานที่นี่ 10 ปี  งานไม่เคยมีปัญหาเรื่องงาน
  เรื่องเกิดเมื่อวันที่ 21/10 ค่ะ ซึ่งหลังจากวันนั้นบรรยากาศการทำงานก็แปลกๆ   จนวันที่ 1/11 หัวหน้ามาบอกว่า  "หนู เรื่องหนูนายเขายังไม่จบนะ  เดือนหน้าเขาให้รัยคนใหม่  ให้หนูเริ่มหางานเลยนะ  เพียงเท่านี้เราก็เข้าใจแล้วว่าดขาต้องการบีบเราออก   ซึ่งหากไม่ยอมเขียนใบลาออกให้  ก็เกรงกลัวถูกกลั่นแกล้งให้เสียทรัพย์หรือโดนโทษทางอาญา เพราะดิฉันทำงานในตำแน่งเจ้าหน้าที่จัดซื้อ  ซึางมูลค่าบางครั้ง เป็นสิบล้าน  กลัวจะรับผิดชอบไม่ไหว และเราก็เหมือนตัวคนเดียว   เพราะถ้าเกี่ยวกับเจ้านายจะไม่มีใครกล้ายุ่งเลย  ไม่แม้แต่จะพูดความจริง

ซึ่งดิฉันเขียนใบลาออกแล้วเพื่อเป็นการเอาตัวรอดก่อน
หากดิฉันไปฟ้องศาลแรงงาน  อยากให้คุณทนายช่วยพิจารณาหลัก
ฐานหน่อยได้ไหมคะ  ว่าสามารถสู้คดีได้ไหม  ไม่แน่ใจว่าส่งคลิปเสียงให้ฟังได้ไหมคะ  เป็นการสนทนาของดิฉันกับ  HR ค่ะ

มโนธรรม

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 201
    • ดูรายละเอียด
พยานหลักฐาน

  คลิปเสียงที่ถูกบีบให้ลาออก  จะใช้เป็นพยานหลักฐานยืนยันได้หรือไม่  ก็ขอตอบว่า ใช้ได้   แต่ศาลจะรับฟังมากน้อยเพียงใด  ก็เป็นดุลพินิจของศาลเป็นสำคัญ  คนนอกก็ตอบได้เพียงเท่านี่้   ด้วยความปรารถนาดี ครับ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
หากข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่เล่ามา โดยเฉพาะการเขียนใบลาออก คำตอบของทนายแทบจะไม่มีผลต่อการไปต่อเลยครับ

ซึ่งก็จำเป็นต้องตอบตรงๆ เพื่อจะได้ไม่เป็นการสร้างความหวังในอากาศครับ...

เอาเป็นว่า หากข้อเท็จจริงมีว่า เราถูกกดดันหรือบังคับให้ลาออก เช่น เรียกเข้าไปในห้องโดยมีฝ่ายบริหารและฯลฯ นั่งอยู่หลายคน พร้อมทั้งจัดเตรียมหนังสือเลิกจ้างไว้ให้เรา กรณีเช่นนี้ก็จะอาจจะถือว่าเป็นการลาออกโดยไม่สมัครใจได้ ตามแนวคำพิพากษาศาลฏีกาที่ ๔๒๔๐/๒๕๖๓ หรือคำพิพากษาศาลฏีกาที่ ๔๖๙/๒๕๖๒ ลองไปหาอ่านดูนะครับ
หากพิจารณาแล้วเห็นว่าไกล้เคียงกับแนวฏีกาดังกล่าว ที่บันทึกเสียงไว้ก็เป็นหลักฐานหนึ่งที่ต้องนำไปประกอบคดี แต่ศาลก็จะรับฟังพยานหลักฐานประเภทนี้ด้วยความระมัดระวัง เพราะเทคโนโลยี่สมัยนี้มันสามารถตัดต่อได้นั่นเองครับ

แต่ถ้าไม่ใช่การบังคับให้ลาออก แล้วเราเป็นผู้ยกมือจับปากกามาเขียนด้วยตนเอง กรณีเช่นนี้ ก็จะถือว่าเราสมัครใจลาออกเอง สิทธิ์ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานก็สิ้นสุดไปด้วยครับ

ลองไปตรวจสอบและพิจารณาดูครับ

ให้กำลังใจครับ
ทนายพร.

kamjam

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
หากข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่เล่ามา โดยเฉพาะการเขียนใบลาออก คำตอบของทนายแทบจะไม่มีผลต่อการไปต่อเลยครับ

ซึ่งก็จำเป็นต้องตอบตรงๆ เพื่อจะได้ไม่เป็นการสร้างความหวังในอากาศครับ...

เอาเป็นว่า หากข้อเท็จจริงมีว่า เราถูกกดดันหรือบังคับให้ลาออก เช่น เรียกเข้าไปในห้องโดยมีฝ่ายบริหารและฯลฯ นั่งอยู่หลายคน พร้อมทั้งจัดเตรียมหนังสือเลิกจ้างไว้ให้เรา กรณีเช่นนี้ก็จะอาจจะถือว่าเป็นการลาออกโดยไม่สมัครใจได้ ตามแนวคำพิพากษาศาลฏีกาที่ ๔๒๔๐/๒๕๖๓ หรือคำพิพากษาศาลฏีกาที่ ๔๖๙/๒๕๖๒ ลองไปหาอ่านดูนะครับ
หากพิจารณาแล้วเห็นว่าไกล้เคียงกับแนวฏีกาดังกล่าว ที่บันทึกเสียงไว้ก็เป็นหลักฐานหนึ่งที่ต้องนำไปประกอบคดี แต่ศาลก็จะรับฟังพยานหลักฐานประเภทนี้ด้วยความระมัดระวัง เพราะเทคโนโลยี่สมัยนี้มันสามารถตัดต่อได้นั่นเองครับ

แต่ถ้าไม่ใช่การบังคับให้ลาออก แล้วเราเป็นผู้ยกมือจับปากกามาเขียนด้วยตนเอง กรณีเช่นนี้ ก็จะถือว่าเราสมัครใจลาออกเอง สิทธิ์ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานก็สิ้นสุดไปด้วยครับ

ลองไปตรวจสอบและพิจารณาดูครับ

ให้กำลังใจครับ
ทนายพร.


สวัสดีครับทนายพร
ในกรณี บริษัท ย้ายที่ทำงานไปอีกที่1 ซึ่งไกลจากที่เดิมประมาณ 4เท่า
แล้วบริษัทจะให้พนักงานบางแผนกย้ายไปทำงานที่ใหม่ด้วย
โดยออกประกาศระบุชื่อพนักงานว่ามีใครแผนกไหนต้องย้ายไปบ้าง
กรณีนี้ พนักงานไม่สะดวกไป นายจ้างไม่อยากเลิกจ้างคือเลี่ยงวลีโดยการโดนนายจ้างเรียกไปคุยบอกว่าถ้าไม่ไป ก็จะไม่มีสิทธิ์อะไรเลย ขึ้นเงินเดือน ค่าโทรศัพท์โบนัส เพราะคุณไม่ยืดหยุ่น ไม่มีความท้าทาย หรืออื่นๆ
เหตุผลที่พนักงานไม่ไปเพราะ ที่ทำงานเดิม ระยะทางไปกลับ11กิโลเมตร เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว ระยะเวลาเดินทางขาไปราวๆ20-30นาที ค่าน้ำมันประมาณ1500-2000บาทต่อเดือน คำนวณจากค่าน้ำมันที่เคยเติมตอนลิตรล่ะ25บาท-35บาท
ที่ทำงานใหม่ ระยะทางไปกลับ 36กิโลเมตร ระยะเวลาเดินทางขาไปราวๆ 1-1.30ชม. คาดการค่าน้ำมันราวๆ4500-6000บาทต่อเดือน
ซึ่งเพิ่มค่าใช้จ่ายค่าน่ำมันเพิ่มขึ้น
กรณีแบบนี้พนักงานมีสิทธิ์ไปฟ้องกรมแรงงานได้ไหมครับ  หรือพอมีคำแนะนำไหมครับ

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
หากข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่เล่ามาแล้ว ก็อาจจะตีความได้ว่า การย้ายสถานประกอบการส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของลูกจ้าง ตามมาตรา ๑๒๐ ได้ ทั้งนี้ อาจจะต้องตรวจสอบและทดสอบว่าข้อกล่าวอ้างทั้งเรื่องระยะทาง+ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นจริง เพื่อให้คณะกรรมการสวัสดิการฯ ออกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินค่าชดเชยกรณีย้านสถานประกอบการตามมาตรา ๑๒๐ ให้ครับ

ซึ่งเมื่อนายจ้างแจ้งให้ย้ายลูกจ้างก็จะต้องแจ้งนายจ้างเป็นหนังสือให้นายจ้างทราบภายในสามสิบวันว่าไม่ประสงค์จะไปโดยต้องให้เหตุผลด้วยว่าที่ไม่ไปเพราะอะไร หลังจากนั้น หากนายจ้างไม่จ่ายเงินค่าชดเชยให้ก็ไปยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการสวัสดิการ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดในพื้นที่ที่คุณทำงานอยู่เพือให้มีคำสั่งต่อไปครั้ง

ซึ่งกระบวนการยื่นคำร้องก็ไม่ต้องใช้ทนายความให้เสียสตางค์แต่อย่างใดครับ ไม่ยากๆ

ทนายพร.