24/11/24 - 20:56 pm


ผู้เขียน หัวข้อ: ฟ้องสามีที่ไม่ได้จดทะเบียน แต่ได้ไปจดทะเบียนอยู่กินกับหญิงอื่นได้หรือไม่ อย่างไร  (อ่าน 8693 ครั้ง)

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
วันนี้มีน้องชายโทรศัพท์มาสอบถามให้พี่สาวตนเองว่า พี่สาวกับพี่เขยแต่งงานถูกต้องตามประเพณี ญาติพี่น้องทั้ง 2 ฝ่ายรับรู้ และอยู่กินด้วยกันมาสิบปี แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันและไม่มีลูกด้วยกัน ในระหว่างอยู่ด้วยกัน ทั้งคู่ได้ไปกู้เงินซื้อบ้านกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ด้วยกันหรือที่เรียกกันว่า “กู้ร่วม” ทำให้พี่เขยกับพี่สาวก็จะมีชื่อร่วมกันในสัญญาจำนองที่ทำไว้กับทางธนาคาร

ปัจจุบันพี่เขยได้ออกจากบ้านหลังนี้ไปแล้ว และพี่สาวผมได้ส่งเงินค่าหนี้บ้านเพียงคนเดียวมากว่า 1 ปีแล้ว โดยไปอยู่กับหญิงอื่นที่เป็นแม่ม่ายลูกติดและได้ไปจดทะเบียนสมรสกัน ทำให้พี่สาวของผมต้องอับอาย ต่อเพื่อนร่วมงานและญาติผู้ใหญ่ แบบนี้พี่สาวผมสามารถฟ้องร้องอะไรได้บ้างครับ และเรื่องบ้านจะต้องจัดการอย่างไร เพราะพี่เขยอ้างว่า “เป็นเจ้าของบ้านหลังนี้เหมือนกัน”
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 20, 2013, 06:40:35 pm โดย ทนายพร »

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
ประการแรก ในเรื่องการฟ้องร้องพี่เขยหรือผู้หญิงคนใหม่ของพี่เขย คงไม่สามารถทำได้ เพราะพี่สาวไม่ใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีสิทธิใดๆเลยในทางกฎหมาย แม้จะอยู่กินกันมายาวนานกว่าสิบปีก็ตาม

ประการที่สอง การกู้ร่วมกันในทางกฎหมาย เรียกว่า “หนี้ร่วม” ดังนั้นจึงต้องร่วมรับผิดชอบด้วยกัน ซึ่งกฎหมายได้กำหนดไว้ว่า เจ้าหนี้จะเรียกให้ลูกหนี้คนใดคนหนึ่งชำระหนี้ก็ได้ และเมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนหนี้ก็จะระงับไป

ประการต่อมา เนื่องจากพี่สาวและพี่เขยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ก็เท่ากับว่าไม่ได้เป็นสามีภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะฉะนั้นจึงไม่มีเรื่องสินสมรสเข้ามาเกี่ยวข้อง และไม่ถือว่าเป็นหนี้ร่วมของสามีภรรยาและทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา แต่เป็นเพียงการกู้ร่วมกันของคนสองคนเท่านั้น แปลว่าบ้านที่กู้ซื้อมานั้นมันก็เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมของทั้งสองคน

อย่างไรก็ตามเมื่อสามีอ้างว่าเป็นทรัพย์สินร่วมกัน ทั้งๆที่พี่สาวได้ผ่อนชำระหนี้อยู่ฝ่ายเดียว

ถ้ายังผ่อนไม่หมด แนะนำว่าให้พี่สาวหยุดผ่อนไว้ก่อน และปล่อยให้ธนาคารฟ้องร้องคดี นั่นก็หมายความว่า พี่เขยกับพี่สาวตกเป็นจำเลยร่วมกันทั้งคู่ ถึงเวลานั้นก็เจรจาว่า ใครจะเป็นเจ้าของบ้านและส่งหนี้ต่อ และทำสัญญาบันทึกข้อตกลงหลังเจรจาขึ้นมาเป็นหลักฐานยืนยันเรื่องยกทั้งบ้านและที่ดินรวมทั้งหนี้สินให้แก่พี่สาวแต่เพียงผู้เดียว โดยไม่ติดใจความใดๆทั้งสิ้น และหากเราผ่อนหมด พี่เขยก็ยินดีที่จะมาจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงโอนชื่อให้เป็นของพี่สาวแต่เพียงผู้เดียวซึ่งเมื่อเราผ่อนหมด ก็บอกให้พี่เขยโอนตามข้อตกลง หากไม่โอนก็ฟ้องร้องบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลงนี้

แต่ถ้าพี่สาวได้ส่งหนี้จนหมดแล้ว และต้องให้ “พี่เขย” โอนบ้านหลังนี้ให้เป็นชื่อพี่สาวเพียงคนเดียว และพี่เขยไม่ยอมโอน ในเบื้องต้นเสนอให้เจรจาก่อนว่า พี่เขยจ่ายเงินไปเท่าใดก็ให้พี่สาวเอาคืนที่เคยจ่าย จ่ายคืนพี่เขยไป

แต่ถ้าเรื่องไม่จบ เสนอให้ใช้สิทธิทางศาลฟ้องร้องให้ขายทอดตลาดแล้วแบ่งเงินกันแทน โดยพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าใครผ่อนมาเท่าไหร่ พี่สาวเท่าไหร่หรือพี่เขยผ่อนมาเท่าไหร่แบ่งกันไปตามสัดส่วนนั้นแทน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 20, 2013, 06:43:53 pm โดย ทนายพร »