23/11/24 - 04:43 am


ผู้เขียน หัวข้อ: ขับรถชนจนได้รับบาดเจ็บ หรือมีคนตายขึ้นมา จะติดคุกไหม????  (อ่าน 31134 ครั้ง)

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องขับรถชนคนหลายฉบับ ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญาในความผิดเกี่ยวกับร่างกายและชีวิต, พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ความผิดในการขับรถ, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ความเสียหายและการชดเชยค่าเสียหาย

- ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา กรณีมีผู้เสียชีวิตผู้ก่อเหตุก็จะมีความผิดอาญา ตามมาตรา 291 ที่ระบุว่า...“ผู้ใดกระทำโดยประมาท และ การกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท”

- ความผิด ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฐานขับรถโดยประมาท มาตรา 78 ระบุไว้ว่า...ผู้ใดขับรถซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้ขับขี่หรือไม่ก็ตาม ต้องหยุดรถ และให้ความช่วยเหลือตามสมควร และพร้อมทั้งแสดงตัว และแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที กับต้องแจ้ง   ชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของตนและหมายเลขทะเบียนรถแก่ผู้ได้รับความเสียหายด้วย

- ความผิดทางประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากตกลงชดใช้ชดเชยค่าเสียหายกันได้ก็ไม่ต้องนำกฎหมายนี้มาใช้ เว้นเสียแต่ผู้เสียหายไม่ได้รับการชดใช้หรือมีการทำผิดไปจากข้อตกลง ก็มีความผิดฐานละเมิด ซึ่งมาตรา 420 ระบุว่า...“ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้น ทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น” อย่างนี้เป็นต้น

กระบวนการที่เกี่ยวข้อง

-   พนักงานสอบสวนก็จะทำการรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ ส่งให้กับพนักงานอัยการ เช่น ยึดรถ ไว้เพื่อตรวจพิสูจน์  หากดำเนินการเสร็จ เรามีสิทธิขอรับรถคืนเพื่อนำไปซ่อมและใช้งานตามปกติ

-   ในชั้นพนักงานสอบสวนนี้จะเป็นผู้ชี้ผิด-ถูกในเบื้องต้น ต้องตกลงในชั้นนี้ให้ดี เพราะในกรณีที่ไม่ต้องขึ้นศาลนั้น พนักงานสอบสวนมักทำสำนวนว่า ผู้ตายประมาทฝ่ายเดียว แต่ถ้าทำสำนวนว่าเป็นประมาทร่วม ต้องส่งอัยการ ฟ้องศาลต่อไป

-   พนักงานอัยการทำการตรวจรับคำฟ้อง

-   ส่งขึ้นสู่ศาลเพื่อพิจารณาคดี

-   กรณีขับรถชนคนตาย ศาลจะพิจารณาจากหลักฐานต่าง ๆ ถ้าไม่เคยทำความผิด ไม่เมา และยอมชดใช้ค่าเสียหาย ในสำนวนการสอบสวน ฝ่ายผู้เสียหายได้แสดงการยอมความไม่ติดใจเอาเรื่อง เนื่องจากทางฝ่ายผู้กระทำผิดยินยอมชดใช้ และผู้เสียหายได้มีการแถลงต่อหน้าศาลไว้ ศาลท่านก็มักจะพิจารณาโทษให้จำคุก 1 ปี 2 ปี 3 ปี หรือแล้วแต่

-   ที่สำคัญหากคู่กรณียอมความ ไม่ติดใจเอาเรื่อง ศาลก็มักจะปรานีลดโทษจำคุกให้เหลือเพียงการรอลงอาญา โดยต้องรายงานตัวกับพนักงานคุมประพฤติตามระยะเวลาที่ศาลได้กำหนดไว้ หรือขึ้นกับดุลพินิจของศาล

สำหรับบางกรณีที่อาจ มีหลายคนสงสัย เช่นเป็นกรณีที่ขับรถมาโดยปกติ และเกิดมีคนกระโดดพุ่งชนรถ หรือพุ่งออกมาจนถูกรถชนจนบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ผู้ขับขี่จะต้องรับผิดชอบหรือไม่-อย่างไร ? ตามกฎหมายระบุไว้ในชั้นแรกว่าผู้ขับขี่เป็นผู้กระทำผิด เว้นแต่มีการพิสูจน์ได้ว่าเหตุนั้นเกิดจากผู้ตายหรือผู้บาดเจ็บเป็นผู้กระทำ กฎหมายก็จะถือว่าเหตุที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากอีกฝ่ายหนึ่ง

ในกรณีที่ผู้ขับขี่ รถหลบหนีไป ให้สันนิษฐานว่าเป็นผู้กระทำความผิด และให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดรถคันที่ผู้ขับขี่หลบหนีหรือไม่แสดงตนว่าเป็นผู้ขับขี่ จนกว่าคดีถึงที่สุด หรือได้ตัวผู้ขับขี่   “ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่แสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 6 เดือนนับแต่วันเกิดเหตุ ให้ถือ ว่ารถนั้นเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือเกี่ยวกับการกระทำ ความผิด และให้ตกเป็นของรัฐ”


RunionsKeila

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
ส่วนใหญ่ รถก็ผิดก่อนเสมอ ครับ เหมือน รถเล็กกับรถใหญ่

Kaitokuro

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
ข้อมูลดีมากครับ