23/11/24 - 04:30 am


ผู้เขียน หัวข้อ: เมาแล้วขับรถกลับบ้าน เจอด่านตำรวจตั้งอยู่ แต่ไม่ยอมให้เป่า จะมีความผิดไหม  (อ่าน 7861 ครั้ง)

ทนายพร

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 758
    • ดูรายละเอียด
ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2557 ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 43 (2) ไว้ว่าห้ามมิให้ขับขี่รถในขณะเมาสุรา และมาตรา 142 วรรคสอง ให้เจ้าพนักงานจราจร มีอำนาจสั่งให้ผู้ขับขี่ทดสอบ และในวรรคท้าย ถ้าผู้ขับขี่ไม่ยอมให้ทดสอบโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ฝ่าฝืนมาตรา 43 (2) คือ “ขับรถในขณะเมาสุรา” ดังนั้นเมื่อผู้ขับรถขณะที่เมา แต่ไม่ยอมให้ตำรวจเป่าเพื่อตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์  จึงมีความผิดและจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป


พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522

มาตรา 142  เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้ขับขี่หยุดรถในเมื่อ

(1) รถนั้นมีสภาพไม่ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6

(2) เห็นว่าผู้ขับขี่หรือบุคคลใดในรถนั้นได้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอันเกี่ยวกับรถนั้น ๆ

ในกรณีที่มีพฤติการณ์อันควรเชื่อว่าผู้ขับขี่ฝ่าฝืนมาตรา 43 (1) หรือ (2) ให้เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้มีการทดสอบผู้ขับขี่ดังกล่าวว่าหย่อนความสามารถในอันที่จะขับหรือเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นหรือไม่

ในกรณีที่ผู้ขับขี่ตามวรรคสองไม่ยอมให้ทดสอบ ให้เจ้าพนักงานจราจร พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจกักตัวผู้นั้นไว้ดำเนินการทดสอบได้ภายในระยะเวลาเท่าที่จำเป็นแห่งกรณีเพื่อให้การทดสอบเสร็จสิ้นไปโดยเร็ว หากผู้นั้นยอมให้ทดสอบและผลการทดสอบปรากฏว่าไม่ได้ฝ่าฝืนมาตรา 43 (1) หรือ (2) ก็ให้ปล่อยตัวไปทันที

ในกรณีที่มีพฤติการณ์อันควรเชื่อว่าผู้ขับขี่ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น หากผู้นั้นยังไม่ยอมให้ทดสอบตามวรรคสามโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นฝ่าฝืนมาตรา 43 (2)

การทดสอบตามมาตรานี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 10)พ.ศ. 2557
มาตรา 43  ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถ
(๑) ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ
(๒) ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น
(๓) ในลักษณะกีดขวางการจราจร
(๔) โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
(๕) ในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธรรมดา หรือไม่อาจแลเห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลัง ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านได้พอแก่ความปลอดภัย
(๖) คร่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องเดินรถ เว้นแต่เมื่อเปลี่ยนช่องเดินรถ เลี้ยวรถ หรือกลับรถ
(๗) บนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารก คนป่วยหรือคนพิการ
(๘) โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น
(๙) ในขณะใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เว้นแต่การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนาโดยผู้ขับขี่ไม่ต้องถือหรือจับโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น

     

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 14, 2015, 02:29:18 pm โดย ทนายพร »

Kaitokuro

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
เว็บไซต์นี้มีสาระมากครับมีประโยชน์มากครับจะได้รู้เรื่องกฏหมายมากขึ้น

Werthmarie

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
ตอนนี้เริ่มเอาจริงทุกพื้นที่แล้วนะครับทำอะไรก็ระวังกันด้วย คนอื่นจะได้ไม่เป็นอะไรด้วย

heartonlyu

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
อ่านเเล้วได้ความรู้ที่ดีมากเลยนะครับ