ตอบตามคำถามเลยนะครับ
๑. กรณีที่บริษัทเลิกจ้างพนักงานนั้น ในทางกฎหมายถือว่าเป็นการยกเลิกนิติสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างต่อกัน โดยฝ่านนายจ้างเป็นผู้ขอยกเลิกสัญญาจ้าง ซึ่งกรณีอย่างนี้ กฎหมายได้กำหนดหน้าที่ให้นายจ้างต้องปฎิบัติให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด เพราะการเลิกจ้างพนักงานเพียงหนึ่งคนนั้น ไม่ใช่ส่งผลกระทบต่อลูกจ้างคนที่ถูกเลิกจ้างเพียงลำพัง แต่ส่งผลกระทบไปถึงครอบครัวหรือผู้ต้องอาศัยเงินค่าจ้างจากลูกจ้างคนดังกล่าวเพื่อประทังชีวิตด้วย ดังนั้น กฎหมายแรงงานหลายฉบับจึงมุ่งคุ้มครองลูกจ้างเพื่อให้ได้รับความเป็นธรรมนั่นเอง อย่างไรก็ตาม การขอยกเลิกสัญญาจ้าง(เลิกจ้าง)กับลูกจ้างบางคนก็อาจเป็นสิ่งที่จำเป็นหากไม่สามารถที่จะร่วมงานกันต่อไปได้ ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาต่างๆกันไป อย่างไรก็ตาม กรณีที่นายจ้างเลิกจ้างพนักงานโดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดนั้น ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินหลักๆดังนี้
๑.ค่าชดเชย ตามอายุงาน (พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ม.๑๑๘)
๒.สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑ งวดการจ่ายค่าจ้าง (กรณีไม่บอกกล่าวล่วงหน้า หรือบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ถูกต้อง)
๓.ค่าจ้างค้างจ่าย (ถ้ามี)
๔.เงินทดแทนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังไม่ได้ใช้ตามส่วนและวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสม
๕.ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม (พรบ.จัดตั้งศาลแรงงานและพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.๒๕๒๒ ม.๔๙) หากเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด
ตอบข้อ ๒. เนื่องจากการเลิกจ้างเป็นการแสดงเจตนาที่มีผลทำให้นิติสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างยุติลง การบอกเลิกจ้างจึงต้องทำเป็นหนังสือและต้องมีความชัดแจ้งโดยส่วนใหญ่จะต้องมีข้อความที่สำคัญดังนี้
๑ ต้องมีคำว่า “เลิกจ้าง” หรือถ้อยคำอื่นที่มีความหมายเข้าใจกันทั่วไปว่าเป็นการเลิกจ้าง
๒ วัน เดือน ปี ที่จะเลิกจ้าง
๓.เหตุผลแห่งการเลิกจ้าง ถือเป็นข้อที่สำคัญที่นายจ้างจะต้องระบุเหตุผลไว้ในการบอกเลิกจ้างไม่ว่าจะเป็นการบอกเลิกจ้างด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ เพราะหากนาจ้างไม่แจ้งเหตุหรือไม่ระบุเหตุผลแห่งการเลิกจ้างไว้ด้วย ต่อไปนายจ้างก็จะไม่สามารถยกเหตุผลใดๆขึ้นใช้ยันลูกจ้างได้โดยเฉพาะในกรณีที่ลูกจ้างฟ้องนายจ้างเพื่อเรียกค่าชดเชย
๔ ประเภทของเงิน จำนวนเงิน หรือสิทธิประโยชน์อื่นที่นายจ้างจะจ่ายให้แก่ลูกจ้าง รวมทั้งวันเดือนปีและสถานที่จ่ายเงินดังกล่าว
๕ กำหนดเวลาการส่งมอบงานหรือการคืนทรัพย์สินของนายจ้าง และควรที่จะมีลายมือชื่อของผู้มีอำนาจบอกเลิกจ้างด้วย
ทนายพร