สวัสดีครับทนายพร ผมมีข้อสงสัยบางประการเกี่ยวกับการจ่ายเงินชดเชยของบริษัทครับ
บริษัทของผม เริ่มมีการเลิกจ้างพนักงานโดยจ่ายเงินชดเชยซึ่งเป็นค่าจ้าง ตามอัตราเงินเดือนซึ่ง
บริษัททำงานเกี่ยวกับการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซ ซึ่งเป็นบริษัทต่างชาติโดยมีการจ่ายค่าจ้างให้พนักงานที่ต้องออกไปทำงาน
กลางทะเลที่แท่นเจาะแยกเป็นสองส่วนคือ
1 เงินเดือน
2 Job bonus
ซึ่งเงินเดือนนั้นจะอยู่ใรเรตที่ต่ำมาก รายได้ส่วนมากจึงมาจาก Job bonus ที่ลงทะเลไปทำงาน
ส่วนพนักงานที่นั่งทำงานในออฟฟิสนั้นจะได้รับเงินเดือนในเรตที่มากอยู่แล้ว
ตำแหน่งของผมนั้นมีรายได้มาจาก
1 เงินเดือน 16000 บาท
2 Job bonus ซึ่ง จ่ายตามวันที่มีการลงไปทำงาน วันละ 3700 บาท
โดยรายได้ทั้งหมดจะถูกนำไปคำนวณเป็นฐานภาษี
ปีที่แล้วรายได้ทั้งปีใน 50ทวิ ประมาณหนึ่งล้านสองแสนบาท จ่ายภาษีไปเกือบหนึ่งแสนสองหมื่นบาท
จากการสอบถาม พนง ที่พึ่งถูกเลิกจ้างไป บริษัทจ่ายเงินชดเชยโดยคำนวณจากเงินเดือนอย่างเดียว
โดยมิได้นำค่าจ้างที่จ่ายให้ในวันที่ลงไปทำงานมาคิดรวมด้วย
โดยบริษัทใให้เหตุผลว่า เงินที่จ่ายรายวันนั้นเป็น ค่าคอมมิสชั่น ส่วนแบ่งค่าดูแลลูกค้าจึงไม่นำมาคิดรวม(แต่เวลาคิดภาษีเอาไปรวมด้วย)
ผมจึงมีคำถามว่า
1 หากบริษัทเลิกจ้าง แล้วจ่ายเงินชดเชยให้ผม 16000 บาทคูณด้วยระยะเวลาการทำงาน 8 ปี เท่ากับ 128000 บาท ซึ่งผมคิดว่าไม่เป็นธรรม ผมสามารถไม่เซ็นยอมรับแล้วฟ้องเพื่อเรียกเงินชดเชยที่เป็นธรรมโดยเอาเงินที่จ่ายรายวันมาคิดคำนวณรวมด้วยได้หรือไม่
2 การที่บริษัทแจ้งว่า เงินที่จ่ายรายวันนั้นเป็นค่าคอมมิสชั่น หรือค่าอะไร ที่ไม่สามารถนำมาคำนวณเป็นเงินชดเชยนั้นได้หรือไม่
3 การลงไปทำงานกลางทะเล จะมีระยะเวลาการลงไปทำคราวละ 28 วัน มีเวลาพัก 14 หรือ 28 วันแต่ละเดือนอาจจะมีวันที่ลงไปทำงานไม่เท่ากันเช่น เดือนนี้ มีนาคม เดินทางไปทำงานวันที่ 15 มีนาคมก็จะมีวันทำงาน 17 วัน ในเดือน เมษาจะมีวันทำงาน 11 วัน จำนวนวันในแต่ละเดือนจะถูกนำไปคูณกับ 3700บาท เงินที่จ่ายตามวันที่ลงไปทำงานตรงส่วนนี้ถือว่าเป็นค่าจ้างหรือไม่ครับ
4 คู่สัญญาที่เซ็นตอนเริ่มงานทางบริษัทเก็บไว้โดยไม่ได้ให้ พนงถือคู่สัญญาไว้ ตรงส่วนนี้รายละเอียดในสัญญาจะทำให้เราเสียเปรียบมากน้อยขนาดไหนครับ หากมีการฟ้องร้องเรียกค่าชดเชยที่ไม่เป็นธรรม
ขอขอบคุณครับ