โอโหๆๆๆๆๆ....จะเปลี่่ยนแปลงองค์กรเพื่อให้ดีขึ้นแต่กลับให้เวลาแค่ ๔๘ ชั่วโมงในการตัดสินใจ....โหยยยย..จะทำร้ายจิตใจกันเกินไปป่าวเจ้านายยยยย...
เอาละเพื่อคลายความสงสัย ตอบตามคำถามเป็นข้อๆเลยนะครับ
1. ในกรณีที่ถูกรับคัดเลือกให้อยู่ต่อ แต่ผมไม่ตอบตกลงภายใน 48ชม ตามที่เค้าออกข้อกำหนด หรือ ผมจงใจปฎิเสธงานที่เค้า offer ให้ กรณีแบบนี้ทางบริษัทไม่สามารถโมเมว่าผมลาออก ใช่มั๊ยครับ คือที่ผมเข้าใจ มันไม่ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับการลาออกของฝ่ายลูกจ้าง ?
ตอบ คุณเข้าใจถูกต้องแล้วครับ เพราะการลาออกคือการแสดงความจำนงที่ไม่อยู่ภายใต้สัญญาจ้างแรงงาน หรือเรียกง่ายๆว่าขอยกเลิกการเป็นลูกจ้างของนายจ้างนั่นเอง และสาระสำคัญของการลาออกก็คือ “ความสมัครใจ” ของฝ่ายลูกจ้างและเป็นผู้ “ลงนาม” ในหนังสือลาออกด้วยตนเอง หากไม่ใช่เป็นความสมัครใจของลูกจ้างในการขอลาออกแล้วก็ไม่ถือว่าลูกจ้างสมัครใจลาออกครับ และตามกรณีที่ถามมาก็จะเข้ากรณีเป็นการ “เลิกจ้าง” เสียมากกว่าครับ และการ “ลาออก” กับการ “เลิกจ้าง” ลูกจ้างจะได้รับสิทธิประโยชน์ภายหลังจากนิติสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงานก็แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงครับ
2. ถ้าผมเลือกสมัครตำแหน่งงานอื่น โดยไม่สมัครงานตำแหน่งปัจจุบันที่ทำอยู่ แล้วคณะกรรมการตัดสินให้ผมทำงานตำแหน่งเดิมต่อไป ถ้าผมตอบปฎิเสธ บริษัทถือว่า ผมลาออก .... กรณีนี้ผมสงสัยว่า บริษัทจะอ้างความชอบธรรมได้หรือเปล่าครับว่าเค้าก็ให้ผมทำงานเดิม แต่ผมไม่ทำเอง ดังนั้นเค้าไม่ต้องรับผิดชอบหรือชดเชยอะไรให้ผม
ตอบ การมอบหมายงาน , การโยกย้ายงาน เป็นอำนาจการบริหารจัดการของฝ่ายนายจ้าง หากงานดังกล่าวนั้นอยู่ในระดับเดียวกัน หรือไม่เป็นการกลั่นแกล้งลูกจ้าง นายจ้างก็สามารถสั่งให้ลูกจ้างไปปฎิบัติงานได้ และหากลูกจ้างฝ่าฝืนไม่ปฎิบัติตามคำสั่งนั้น อาจถูกลงโทษทางวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฐานฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายได้ครับ และท้ายที่สุดหากอาจถูกเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้ครับ
ทนายพร